กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพใสตใบ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคซึ่งสามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดการท่วมขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต้องเตรียมความพร้อมควบคุมกำจัดตัวลายพาหะนำโรคก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มชองชุมชน โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นทั้งภายในและภายนอก มีการเพิ่มของภาชนะซึ่งส่งผลทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลาย ซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเด็งกี่ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่ที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่ ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันหรือการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งมีผลต่อการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
สถานการณ์ประเทศไทยจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2561ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 64,649 ราย อัตราป่วย 97.86 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 82 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.13 จังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ 41 ของประเทศสถานการณ์ของเขต 12ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2561 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3,107 ราย อัตราป่วย 63.03 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.13สถานการณ์จังหวัดตรัง จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2561 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 522 ราย อัตราป่วย 81.35 ต่อแสนประชากรมีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย อัตราป่วย-ตายร้อยละ 0.38 สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี 2551 - 2561 ของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอปี 2561 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรกพบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคืออำเภอเมือง อัตราป่วย 105.6 ต่อแสนประชากร รองลงมาคืออำเภอย่านตาขาว อัตราป่วย 102.4 ต่อแสนประชากร และอำเภอวังวิเศษ อัตราป่วย 96.33 ต่อแสนประชากร และสถานการณ์โรคของตำบลวังมะปราง ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -12 ตุลาคม2561 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 17 ราย อัตราป่วย 581.19 ต่อแสนประชากรและผู้ป่วยสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดอออก จำนวน 14 ราย อัตราป่วย478.63ต่อแสนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน3 ราย อัตราป่วย 102.56 ต่อแสนประชากร
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง ได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รพ.สต.บ้านทุ่งหลวงปี 2562ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคติดต่อก่อนฤดูกาลระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค จึงจำเป็นในการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทัน เหตุการณ์

๑. ชุมชน 5 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง  มีค่า ทุก HI < ๑๐ ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชนที่เป็นแหล่งรังโรค

๒. อัตราป่วยน้อยกว่า 20 ต่อแสนประชากร

0.00
3 3.เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้แก่ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

๓. จำนวนผู้ป่วยทางด่วนลดลงจากปีงบประมาณ ๒๕๖๐  อย่างน้อย ๒๐ %

0.00
4 4.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

4.มีกิจกรรมการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์

0.00
5 5.เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SSRT

5.การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายโรค 1.อบรมทีม SRRT2.ให้สุขศึกษาผ่านรถประชาสัมพันธ์ทุกวันศุกร์ 3.จัดบอร์ดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์1 ครั้ง/1 เดือน 4.ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่บ้านผู้ป่วย/ผู้ป่วยในสงสัยและบ้านเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายโรค 1.อบรมทีม SRRT2.ให้สุขศึกษาผ่านรถประชาสัมพันธ์ทุกวันศุกร์ 3.จัดบอร์ดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์1 ครั้ง/1 เดือน 4.ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่บ้านผู้ป่วย/ผู้ป่วยในสงสัยและบ้านเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 15 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน900 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 15 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  3. ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย บรรจุ 500 ซอง/ถัง จำนวน 4 ถัง ถังละ3,500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  4. ค่าสารเคมีผสมน้ำยาพ่นหมอกควันจำนวน 2 ขวด ขวดละ 1,650 บาทเป็นเงิน3,300 บาท
  5. ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 1,000 ซอง ซองละ 5 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  6. ค่าน้ำมันเบนซินสำหรับเครื่องพ่นหมอกควันจำนวน 70 ลิตร ลิตรละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  7. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง(น้ำมันดีเซล)เป็นเงิน 3,500 บาท
  8. ค่าจ้างเหมาจ่ายพ่นหมอกควันจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 3 คน คนละ 300 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 10. ค่าชุดปฏิบัติการพ่นหมอกควัน จำนวน 1 ชุด ชุดละ 950 บาท เป็นเงิน 950 บาท

11.ค่าเหมาจ่ายรถประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1000บาท รวมเป็นเงิน 41,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายและรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
1. ประกวดครัวเรือน/หมู่บ้านต้นแบบ 2. เดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ครั้ง
3 สรุปผลการดำเนินงานและติดตามประเมินผล 4..ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน48คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 1200 บาท 5ค่าจัดทำแผ่นป้ายโฟมบอร์ดสำหรับครัวเรือนต้นแบบขนาด 50 x 80 ซม. แผ่นละ 240 บาท จำนวน25 แผ่นเป็นเงิน 6,000 บาท 6.ค่าไวนิลประชาสัมพันธฺโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 2 แผ่นๆละ 450 บาท เป็นเงิน 900บาท รวมเป็นเงิน 8100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี2561 ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 20
2. เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้โรคไข้เลือดออกเกิดการระบาดในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ค่า House Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ค่า Container index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ในชุมชนพื้นที่
4.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
5.การมีส่วนร่วมในภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
6.มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์


>