กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพโรคไม่ติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
แกนนำสุขภาพโรคไม่ติดต่อเป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้แกนนำสุขภาพต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันแกนนำสุขภาพ ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะแกนนำสุขภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพแกนนำสุขภาพขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของ แกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามบริบทและสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลง

๑.แกนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจของแกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน

60.00 0.00
2 ๒. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของแกนนำสุขภาพ ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม

๒. อสม.มีความรู้ หลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80

60.00 0.00
3 ๓. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

๓. แกนนำสุขภาพมีคณะทำงานในการดูแลสุขภาพ ๕ กลุ่มวัย

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ภาคทฤษฎี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ภาคทฤษฎี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนๆละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาทเป็นเงิน3,000 บาท ๒.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนๆละ ๑ มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน3,600 บาท 3.ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน ๓ คน 2 ชม.ๆละ 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
๔.ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 6,000 บาท 4.๑ สมุดบันทึกจำนวน60 เล่มๆละ 50 บาท 4.๒ ปากกาจำนวน60 เล่มๆละ 10 บาท 4.๓ แฟ้มเอกสารจำนวน 60 ใบๆละ 40 บาท ๕.ไวนิล ขนาด 3 x 1 เมตรจำนวน 1 แผ่น ๆละ450บาท ๖.ค่าเช่าเครื่องเสียงในการอบรม วันละ 2,000 บ. 2 วัน เป็นเงิน 4,000บาท ๗.ค่าถ่ายเอกสารคู่มือ อสม.จำนวน60 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.แกนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจของแกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน ๒. อสม.มีความรู้ หลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 ๓. แกนนำสุขภาพมีคณะทำงานในการดูแลสุขภาพ ๕ กลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพภาคปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพภาคปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คนๆละ ๒ มื้อๆละ๒๕ บาท เป็นเงิน 3,000บาท ๒.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท
เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 1 คน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,200 บาท 4.ค่าวิทยากรในการฝึกปฏิบัติ จำนวน5 ฐาน ๆละ 2 คนๆ 2 ชม.ๆละ600บาท เป็นเงิน6,000 บาท 5.ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 1,300 บาท 1.กระดาษพรู๊บ 1 โหลๆละ40 บาทเป็นเงิน40 บาท 2.สีเมจิก 12 สีจำนวน 4 ชุดๆละ 65 บาท เป็นเงิน 260 บาท 3.ค่าจัดทำป้ายประจำฐาน จำนวน 4 ฐานละๆ 200 บาทเป็นเงิน800 บาท 4.กระดาษสีสติกเกอร์ จำนวน 4 สี ๆละ 1 ดรืมๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจของแกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน 2. อสม.มีความรู้ หลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 3. แกนนำสุขภาพมีคณะทำงานในการดูแลสุขภาพ 5 กลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คนๆละ ๒ มื้อๆละ  ๒๕ บาท เป็นเงิน 1,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจของแกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน 2. อสม.มีความรู้ หลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 3. แกนนำสุขภาพมีคณะทำงานในการดูแลสุขภาพ 5 กลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.แกนนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจของ แกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามบริบท
และสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลง
๒.แกนนำสุขภาพมีความรู้ ทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของแกนนำสุขภาพในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
กับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
๓. แกนนำสุขภาพมีระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน


>