กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการเข้าถึงบริการสุขภาพ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มเชอร์รี่
กลุ่มคน
1....นางสีตี………… กูโน………………………………………
2....นางยามีละ…… โต๊ะยูโซ๊ะ………………………………
3....นายอัสมันรีฮา…แมเราะ………………………………
4….นางซูซีลา…………สาแม……………………………….
5....นายแวดือราแม……อารง…………………………………
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) กลุ่ม เชอร์รี่ รพ.เจาะไอร้อง ได้มีแนวทางการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยใช้ฐานการทำงานของกลุ่ม ที่มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์กรชุมชน ในปี ๒๕๖๐ กลุ่มได้มีการขยายงานเชิงรุกเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน เช่น หมู่บ้าน สถานศึกษา กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอและตำบลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCCT - Voluntary Confidential Counseling and Testing) โดยจัดบริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี เข้าสู่บริการได้เร็วขึ้น และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี จะได้เข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องรอให้ป่วย และจะส่งผลอีกด้านคือการสร้างความเข้าใจ ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมได้ นอกจากนั้นในการจัดบริการเชิงรุกนี้ ยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นประเด็นสำคัญในการทำงาน กลุ่มพิจารณาเห็นว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรด้านสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการทำงานทั้งการส่งเสริมการป้องกันและการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน และร่วมกันจัดบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจะเป็นทิศทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเกิดความยั่งยืนในการทำงาน
ดังนั้นกลุ่มเชอร์รี่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 50.00
  • 2. 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 50.00
  • 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์
    รายละเอียด

    จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ และ ตรวจเลือดโดยสมัครใจ โมบาย VCCT ให้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านการป้องกันเอดส์และมีความรู้ ความเข้าใจในการ ป้องกันเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ มีความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1.1 กิจกรรมแลกน้ำ 1.2 กิจกรรมระดับความเสี่ยง QQR 1.3 กิจกรรมเอดส์รักษาได้ เชื้อเอชไอวีควบคุมได้ 1.4. กิจกรรมโมบาย VCCT -ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 1คน × 6 ชม .= 3,600 บาท -ค่าอาหารว่างผู้เข้าอบรม 50 คน × 25 บาท × 2 มื้อ= 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม 50 คน × 60 บาท × 1 มื้อ = 3,000 บาท -ค่าวัสดุประกอบการอบรม 50 คน × 50 บาท= 2,500 บาท -ค่าป้ายไวนิล 1.2 × 3 เมตร =720

    งบประมาณ 12,320.00 บาท
  • 2. ติดตามและให้มาเจาะเลือดคัดกรองเอชไอวี
    รายละเอียด

    ไม่ไช้งบ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562

8.
สถานที่ดำเนินการ

ณ พื้นที่ในตำบลบูกิต

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 12,320.00 บาท

หมายเหตุ : วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1) อบรมในชุมชน ครั้งละประมาณ 50 คน จำนวน 1 ครั้ง/ปี เนื้อหา/รูปแบบ คือ การอบรม ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี การป้องกัน การอยู่ร่วมกัน และการวิเคราะห์สถานการณ์และทำแผนงานป้องกันเอชไอวีในชุมชน 2) ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข จัดบริการเคลื่อนที่เพื่อให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในชุมชน* ทั้งนี้ เป็นการวางแผนร่วมกับทีมโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้นโดยมีรูปแบบการจัดบริการ ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน 1) จัดเป็นกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้หรือจัดนิทรรศการสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวีกับกลุ่มเป้าหมาย หากมีผู้สนใจต้องการทราบสถานภาพการติดเชื้อฯ ของตนเอง สามารถขอรับบริการคำปรึกษาและตรวจเลือดได้ ณ จุดจัดกิจกรรม กิจกรรมนี้ 3) การประสานงานส่งต่อกับระบบบริการของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้าถึงบริการและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง 1) กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นบวก ส่งต่อรับการรักษาและการติดตามต่อเนื่องจากกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ 2)กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นลบ ติดตาม/ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการป้องกันให้มีผลเลือดเป็นลบไปตลอด 3) จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยสำหรับผู้ที่เคยตรวจเลือด เพื่อพูดคุยเรื่องการป้องกัน และทางเลือกในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 4) ให้บริการถุงยางอนามัย* เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทั้งคนที่มีผลเลือดบวกและลบ รวมทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงแต่ยังไม่พร้อมตรวจเลือด * หมายเหตุ การให้บริการเคลื่อนที่ให้คำปรึกษาและตรวจเลือดในชุมชนเป็นการวางแผนงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนหรือรพสต. รวมทั้งการจัดหาถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกัน โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรของโรงพยาบาล ทั้งนี้ เป็นบริการที่อยู่ภายใต้งบประมาณกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค ของ สปสช.

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง 2) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจเรื่องการป้องกันเอชไอวี และการอยู่ร่วมกันในชุมชน 3) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479

อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 12,320.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................