กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการเข้าถึงบริการสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กลุ่มเชอร์รี่

1....นางสีตี………… กูโน………………………………………
2....นางยามีละ…… โต๊ะยูโซ๊ะ………………………………
3....นายอัสมันรีฮา…แมเราะ………………………………
4….นางซูซีลา…………สาแม……………………………….
5....นายแวดือราแม……อารง…………………………………

ณ พื้นที่ในตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง

 

100.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กลุ่ม เชอร์รี่ รพ.เจาะไอร้อง ได้มีแนวทางการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยใช้ฐานการทำงานของกลุ่ม ที่มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์กรชุมชน ในปี ๒๕๖๐ กลุ่มได้มีการขยายงานเชิงรุกเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน เช่น หมู่บ้าน สถานศึกษา กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอและตำบลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCCT - Voluntary Confidential Counseling and Testing) โดยจัดบริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี เข้าสู่บริการได้เร็วขึ้น และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี จะได้เข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องรอให้ป่วย และจะส่งผลอีกด้านคือการสร้างความเข้าใจ ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมได้ นอกจากนั้นในการจัดบริการเชิงรุกนี้ ยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นประเด็นสำคัญในการทำงาน
กลุ่มพิจารณาเห็นว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรด้านสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการทำงานทั้งการส่งเสริมการป้องกันและการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน และร่วมกันจัดบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจะเป็นทิศทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเกิดความยั่งยืนในการทำงาน
ดังนั้นกลุ่มเชอร์รี่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

100.00 50.00
2 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 50

100.00 50.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ ร้อยละ 50

100.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ และ ตรวจเลือดโดยสมัครใจ โมบาย VCCT ให้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านการป้องกันเอดส์และมีความรู้ ความเข้าใจในการ ป้องกันเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ มีความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1.1 กิจกรรมแลกน้ำ 1.2 กิจกรรมระดับความเสี่ยง QQR 1.3 กิจกรรมเอดส์รักษาได้ เชื้อเอชไอวีควบคุมได้ 1.4. กิจกรรมโมบาย VCCT -ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 1คน × 6 ชม .= 3,600 บาท -ค่าอาหารว่างผู้เข้าอบรม 50 คน × 25 บาท × 2 มื้อ= 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม 50 คน × 60 บาท × 1 มื้อ = 3,000 บาท -ค่าวัสดุประกอบการอบรม 50 คน × 50 บาท= 2,500 บาท -ค่าป้ายไวนิล 1.2 × 3 เมตร =720

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต อบรมให้ความรู้
ผลลัพธ์ประชาชนมีความรู้ และสามารถป้องกันความเสี่ยงจากโรคเอดส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12320.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและให้มาเจาะเลือดคัดกรองเอชไอวี

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและให้มาเจาะเลือดคัดกรองเอชไอวี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ไช้งบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ติดตามให้มาเจาะเลือดซ้ำ ผลลัพธ์  มาตรวจเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,320.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1) อบรมในชุมชน ครั้งละประมาณ 50 คน จำนวน 1 ครั้ง/ปี เนื้อหา/รูปแบบ คือ การอบรม ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี การป้องกัน การอยู่ร่วมกัน และการวิเคราะห์สถานการณ์และทำแผนงานป้องกันเอชไอวีในชุมชน
2) ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข จัดบริการเคลื่อนที่เพื่อให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในชุมชน* ทั้งนี้ เป็นการวางแผนร่วมกับทีมโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้นโดยมีรูปแบบการจัดบริการ ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน
1) จัดเป็นกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้หรือจัดนิทรรศการสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวีกับกลุ่มเป้าหมาย หากมีผู้สนใจต้องการทราบสถานภาพการติดเชื้อฯ ของตนเอง สามารถขอรับบริการคำปรึกษาและตรวจเลือดได้ ณ จุดจัดกิจกรรม กิจกรรมนี้
3) การประสานงานส่งต่อกับระบบบริการของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้าถึงบริการและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง
1) กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นบวก ส่งต่อรับการรักษาและการติดตามต่อเนื่องจากกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ
2)กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นลบ ติดตาม/ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการป้องกันให้มีผลเลือดเป็นลบไปตลอด
3) จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยสำหรับผู้ที่เคยตรวจเลือด เพื่อพูดคุยเรื่องการป้องกัน และทางเลือกในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
4) ให้บริการถุงยางอนามัย* เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทั้งคนที่มีผลเลือดบวกและลบ รวมทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงแต่ยังไม่พร้อมตรวจเลือด
* หมายเหตุ การให้บริการเคลื่อนที่ให้คำปรึกษาและตรวจเลือดในชุมชนเป็นการวางแผนงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนหรือรพสต. รวมทั้งการจัดหาถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกัน โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรของโรงพยาบาล ทั้งนี้ เป็นบริการที่อยู่ภายใต้งบประมาณกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค ของ สปสช.

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง
2) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจเรื่องการป้องกันเอชไอวี และการอยู่ร่วมกันในชุมชน
3) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ


>