กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการเข้าถึงบริการสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L2479-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเชอร์รี่
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสีตี กูโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) กลุ่ม เชอร์รี่ รพ.เจาะไอร้อง ได้มีแนวทางการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยใช้ฐานการทำงานของกลุ่ม ที่มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์กรชุมชน ในปี ๒๕๖๐ กลุ่มได้มีการขยายงานเชิงรุกเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน เช่น หมู่บ้าน สถานศึกษา กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอและตำบลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCCT - Voluntary Confidential Counseling and Testing) โดยจัดบริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี เข้าสู่บริการได้เร็วขึ้น และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี จะได้เข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องรอให้ป่วย และจะส่งผลอีกด้านคือการสร้างความเข้าใจ ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมได้ นอกจากนั้นในการจัดบริการเชิงรุกนี้ ยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นประเด็นสำคัญในการทำงาน กลุ่มพิจารณาเห็นว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรด้านสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการทำงานทั้งการส่งเสริมการป้องกันและการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน และร่วมกันจัดบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจะเป็นทิศทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเกิดความยั่งยืนในการทำงาน
ดังนั้นกลุ่มเชอร์รี่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

100.00 50.00
2 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 50

100.00 50.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ ร้อยละ 50

100.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,320.00 0 0.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ 0 12,320.00 -
??/??/???? ติดตามและให้มาเจาะเลือดคัดกรองเอชไอวี 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1) อบรมในชุมชน ครั้งละประมาณ 50 คน จำนวน 1 ครั้ง/ปี เนื้อหา/รูปแบบ คือ การอบรม ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี การป้องกัน การอยู่ร่วมกัน และการวิเคราะห์สถานการณ์และทำแผนงานป้องกันเอชไอวีในชุมชน 2) ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข จัดบริการเคลื่อนที่เพื่อให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจในชุมชน* ทั้งนี้ เป็นการวางแผนร่วมกับทีมโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้นโดยมีรูปแบบการจัดบริการ ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน 1) จัดเป็นกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้หรือจัดนิทรรศการสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวีกับกลุ่มเป้าหมาย หากมีผู้สนใจต้องการทราบสถานภาพการติดเชื้อฯ ของตนเอง สามารถขอรับบริการคำปรึกษาและตรวจเลือดได้ ณ จุดจัดกิจกรรม กิจกรรมนี้
3) การประสานงานส่งต่อกับระบบบริการของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้าถึงบริการและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง
1) กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นบวก ส่งต่อรับการรักษาและการติดตามต่อเนื่องจากกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ 2)กรณีคนที่มีผลเลือดเป็นลบ ติดตาม/ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการป้องกันให้มีผลเลือดเป็นลบไปตลอด
3) จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยสำหรับผู้ที่เคยตรวจเลือด เพื่อพูดคุยเรื่องการป้องกัน และทางเลือกในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
4) ให้บริการถุงยางอนามัย* เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทั้งคนที่มีผลเลือดบวกและลบ รวมทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงแต่ยังไม่พร้อมตรวจเลือด * หมายเหตุ การให้บริการเคลื่อนที่ให้คำปรึกษาและตรวจเลือดในชุมชนเป็นการวางแผนงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนหรือรพสต. รวมทั้งการจัดหาถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกัน โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรของโรงพยาบาล ทั้งนี้ เป็นบริการที่อยู่ภายใต้งบประมาณกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค ของ สปสช.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ถูกต้อง 2) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจเรื่องการป้องกันเอชไอวี และการอยู่ร่วมกันในชุมชน 3) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 00:00 น.