กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้การแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพร ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบูกิต

1. นายภาษิต เจ๊ะแน
2.นางสุมล แวยะโก๊ะ
3.นายเกษม ยูโซ๊ะ
4.นายอูมา เจ๊ะสะมะแอ
5.นายลีเป็ง เจ๊ะเด๊ะ

ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

60.00
2 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

60.00

เท้าและข้อเท้าของผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ คือย่อมมีการเสื่อมไปตามวัยที่เพิ่มขึ้นโดยโรคเท้าและข้อเท้ามักจะเกิดจากความเสื่อมของกระดูกและเส้นเอ็นส่งผลให้การทำงานลดลงการเคลื่อนไหวได้ลำบากมากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการเดินและช่วยเหลือตัวเองลดลงโดยอาจจะมีสาเหตุมากจาก 2 โรคเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดังนี้

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ(Plantar Fasciitis)คือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง40-70 ปีโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสาเหตุ เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าโดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานานมักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึงซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำขาดการออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม
อาการแสดงส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักแต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการปวดมักจะดีขึ้นหากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากๆได้

โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง
โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง (Hallux Valgus) ได้แก่ภาวะที่มีการโก่งผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้าโดยมักโก่งออกด้านนอกทำให้มีส่วนนูนที่ด้านในของเท้าพบได้บ่อยในประชาชนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 40-70 ปีพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบร่วมกับโรคเท้าแบนสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบเชื่อว่าเกิดจากการใส่รองเท้าที่บีบแน่นด้านหน้าหรือเมื่อเกิดเท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้าจึงบิดเข้าด้านในมากกว่าปกติในบางครั้งหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
อาการของโรคปวดด้านในรองเท้า ตรวจตำแหน่งที่มีกระดูกนูน บางครั้งมีชาออกปลายนิ้วหัวแม่เท้าถ้านิ้วโก่งมาก นิ้วเท้าที่สองจะถูกเบียด ขี่นิ้วหัวแม่เท้าทำให้ใส่รองเท้าลำบาก
สุขภาพของเราขึ้นอยู่กับการไหลเวียนที่ดีของกระแสเลือดน้ำเหลืองและกระแสประสาทร่างกายของเราเหมือนเครือข่ายการไหลเวียนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนทุกส่วนเชื่อมโยงประสานงานกันโดยเฉพาะเท้าเป็นช่องทางไหลเวียนขนาดเล็กเมื่อเทียบกับร่างกายโอกาสที่จะอุดตันจากของเสียต่างๆจึงเกิดขึ้นได้ง่ายหากไม่ขยับขยายช่องทางที่อุดตันก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้การแช่เท้าในน้ำร้อนมีผลในการเร่งให้เลือดลมเดินคล่องเส้นเอ็นแผ่ขยายจึงช่วยบำรุงอวัยวะภายในที่ฝ่าเท้าคนเรามีเส้นโลหิตกระจายกันมากมายการแช่เท้าในน้ำร้อนจะทำให้เส้นโลหิตฝอยขยายตัวกระตุ้นให้โลหิตหมุนเวียนเร็วขึ้นสนองสิ่งบำรุงให้แก่เท้ามากขึ้นคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนขาขจัดความเมื่อยล้าได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

60.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน

ประชาชนในชุมชนมีการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้น

60.00 60.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม/วางแผน คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม/วางแผน คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ 1.คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบูกิต23คน 2.เจ้าหน้าที่รพสต. 1 คน 3.นักพัฒนาชุมชน1คน 4.ผอ.กองสวัสดิการสังคม 1 คน งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 25 จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมให้ความรู้และปฏิบัติการแช่เท้า

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมให้ความรู้และปฏิบัติการแช่เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบูกิต23คน 2.เจ้าหน้าที่ รพสต. 1 คน 3.นักพัฒนาชุมชน1คน 4.ผอ.กองสวัสดิการสังคม 1 คน งบประมาณ 1.ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 40 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 3.ค่าอาหารว่าง 40คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเิงน 2,000 บาท 4.ค่าวัสดุในการทำน้ำต้มสมุนไพรเพื่อสาธิตการแช่เท้า เป็นเงิน 1,050 บาท 5.ค่าป้ายไวนิล 1*3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.ประเมินเท้าในผู้สูงอายุ ตามระดับความรุนแรง4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงปานกลางกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มมีแผล
1) กลุ่มปกติหมายถึงไม่มีแผล เท้าปกติ
2) กลุ่มเสี่ยงปานกลางหมายถึงไม่มีแผล เท้าผิดรูป ผิวหนัง เล็บผิดปกติ ชีพจรที่เท้าผิดปกติหรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ
3) กลุ่มเสี่ยงสูงหมายถึงไม่มีแผล มีประวัติเคยมีแผลที่เท้า เท้าผิดรูป ร่วมกับชีพจรเท้าผิดปกติ หรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ
4) กลุ่มที่มีแผลที่เท้า
2.ทำการทดสอบระดับความเข้าใจการดูแลเท้าด้วยตนเองของผู้สูงอายุก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ
3.จัดอบรมให้ความรู้1วัน
วิทยากร - เจ้าหน้าที่ รพสต.
-ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
เนื้อหา -ทดสอบความรู้ก่อน/หลัง
-ความรู้การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ
-การแช่เท้าในน้ำต้มสมุนไพร
4.ใช้สมุนไพรประมาณ ครึ่ง – 1 กำมือ เช่น ใบเตยเบญจรงค์(อ่อมแซบ)ผักบุ้งบัวบกย่านางรางจืดใบมะขามใบส้มป่อยกาบหรือใบหรือหยวกกล้วยจะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ต้มกับน้ำ1ขัน(ประมาณ 1 ลิตร)เดือดประมาณ5 – 10 นาทีแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบายใช้เวลาแช่เท้าประมาณ 20 นาที ติดต่อกันทุกวัน ระยะเวลา60วันในขณะที่แช่เท้าควรใช้เท้าถูกัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
5.พยาบาลให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้สูงอายุด้วยตนเอง 5 ขั้นตอนได้แก่การเช็ดเท้าการตรวจคลำทาโลชั่นการแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรการบริหารเท้าโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการฟังอย่างลึกซึ้งและใช้ทักษะการจับประเด็น
6.ตรวจประเมินความรู้สึกที่เท้าด้วยMonofilamentโดยเจ้าหน้าที่
6.1ก่อนและสิ้นสุดโครงการวัดระดับความเข้าใจในการดูแลเท้าด้วยตนเองและระดับความรู้สึกต่อการชาที่เท้าจากแบบสอบถามและการตอบคำถามของกลุ่ม
7.ดำเนินการต่อเนื่องโดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมแล้วไปแนะนำและสอนการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุและประชาชนที่สนใจดูแลสุขภาพเท้า
8.เจ้าหน้าที่รพ.สต. ตรวจประเมินเท้าผู้สูงอายุด้วยMonofilament โดยเจ้าหน้าที่ หลังแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรระยะเวลาติดต่อกัน60วัน
พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง40-70 ปีโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสาเหตุ เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าโดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานานมักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึงซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำขาดการออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม
อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักแต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการปวดมักจะดีขึ้นหากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากๆไ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินเท้าเบื้องต้น
2.จำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบื้องต้น ก่อนและหลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
3.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการตรวจเท้าและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการดูแลเท้า
4.ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน


>