กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสาวมะนังยงแก้มแดง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรหญิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0)โดยสหประชาชาติคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลง เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ อาทิประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากขึ้นแต่งงานช้าลงชะลอการมีบุตร มีบุตรจำนวนน้อยเพียงหนึ่งหรือสองคนหรือไม่มีบุตรเลย รวมทั้งจำนวนประชากรสูงวัยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากปัญหาจำนวนการเกิดแล้ว ยังประสบกับปัญหาคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ”กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569)ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือเพิ่มจำนวนการเกิดทดแทนจำนวนประชากร โดยส่งเสริมการเกิดในหญิงอายุ 20-34 ปี ที่มีความพร้อมและตั้งใจที่จะมีครรภ์ วางแผนเตรียมความพร้อม และได้รับความช่วยเหลือในการมีบุตรทำให้ทารกเกิดมาอย่างแข็งแรง ส่งเสริมให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
ในปี 2558 พบอัตราการตายมารดาอยู่ที่ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตกเลือด มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 39 ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 10.4 ทารกเสียชีวิตจากภาวะพิการแต่กำเนิดร้อยละ 7 พบว่าในทารกแรกคลอด ๑๐๐ คน จะมีความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงได้ถึง 3-5 คน จากข้อมูลการเกิดมีชีพอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2557-2559พบเกิดมีชีพ 994, 1,036และ1,050 ราย ตามลำดับ จึงอาจมีเด็กพิการรุนแรงแต่กำเนิด คลอดใหม่ประมาณ 40 รายต่อปี ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัวของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด ภาระของครอบครัวที่ต้องแบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดามารดาที่มีทารกพิการแต่กำเนิด จนถึงปัญหาในระดับประเทศ โดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและแนวทางการป้องกัน จึงได้จัดทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ (Hct =36- 45%) 2. เพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อที่ถูกต้อง
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษา  และส่งต่อ
  3. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2019

กำหนดเสร็จ 20/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะซีดโดยการเจาะปลายนิ้ว เพื่อดูระดับความเข้มข้นของเลือด . คัดกรองHct.20 คน x 3 ครั้ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม20 คน x 25 บาท x 3 มื้อเป็นเงิน1, 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง 1.ทำไมสาวมะนังยงต้องแก้มแดง
2.อาหารและวิตามินวิเศษ
3.การกำเนิดชีวิต
4.การพิการแต่กำเนิด 1.อบรมให้ความรู้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)จำนวน27 คนดังนี้ -ค่าอาหารกลางวัน 27คน x 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,350 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม27 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,350 บาท 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน73คน
-ค่าอาหารกลางวัน73คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,650 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม73 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,650 บาท -ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 600 บาท x 2 ชม. X4 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท 3.ค่าไวนิลเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อ
3. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์


>