กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสาวมะนังยงแก้มแดง
รหัสโครงการ 62-L3046-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 20 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรหญิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0)โดยสหประชาชาติคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลง เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ อาทิประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตอยู่เป็นโสดมากขึ้นแต่งงานช้าลงชะลอการมีบุตร มีบุตรจำนวนน้อยเพียงหนึ่งหรือสองคนหรือไม่มีบุตรเลย รวมทั้งจำนวนประชากรสูงวัยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากปัญหาจำนวนการเกิดแล้ว ยังประสบกับปัญหาคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ”กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569)ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือเพิ่มจำนวนการเกิดทดแทนจำนวนประชากร โดยส่งเสริมการเกิดในหญิงอายุ 20-34 ปี ที่มีความพร้อมและตั้งใจที่จะมีครรภ์ วางแผนเตรียมความพร้อม และได้รับความช่วยเหลือในการมีบุตรทำให้ทารกเกิดมาอย่างแข็งแรง ส่งเสริมให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
ในปี 2558 พบอัตราการตายมารดาอยู่ที่ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตกเลือด มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 39 ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 10.4 ทารกเสียชีวิตจากภาวะพิการแต่กำเนิดร้อยละ 7 พบว่าในทารกแรกคลอด ๑๐๐ คน จะมีความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงได้ถึง 3-5 คน จากข้อมูลการเกิดมีชีพอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2557-2559พบเกิดมีชีพ 994, 1,036และ1,050 ราย ตามลำดับ จึงอาจมีเด็กพิการรุนแรงแต่กำเนิด คลอดใหม่ประมาณ 40 รายต่อปี ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัวของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด ภาระของครอบครัวที่ต้องแบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดามารดาที่มีทารกพิการแต่กำเนิด จนถึงปัญหาในระดับประเทศ โดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและแนวทางการป้องกัน จึงได้จัดทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ (Hct =36- 45%) 2. เพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อที่ถูกต้อง
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษา  และส่งต่อ
  3. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ (Hct =36- 45%) 2. เพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

29 ก.ค. 62 คัดกรองภาวะซีดแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ 20.00 1,500.00 -
30 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล 27.00 2,700.00 -
31 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้/ตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ 27.00 18,100.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีระดับความเข้มข้นของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อ
  3. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 00:00 น.