กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ การจัดการขยะ เพื่อสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนน้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรม อสม. รพ.สต.น้ำขาว

1.นางสาวสุคนธ์ ชูศรี
2.นางสาวมยุรี สุวรรณสนิท
3.นางฉลวย ศรีมณี
4.นางจริยา หมวดเพ็ง
5.นางเบจวรรณ แต่งโสภา

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะแค และ หมู่ที่ 3 บ้านออกวัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีปัญหาด้านการจัดการขยะ

 

63.30
2 ร้อยละของครัวที่ประสบปัญหาสัตว์และแมลงนำโรค

 

68.40

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยสะสมเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งการเผาไหม้ขยะมูลฝอย การปนเปื้อนของน้ำขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน และพาหะนำโรค สาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน ส่วนมากแล้วครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ หรือมีการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่แล้วในชุมชนมีการเผาขยะ และคนในชุมชนส่วนใหญ่คิดว่าชุมชนมีปัญหาด้านการจัดการขยะ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะหรือการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี รวมถึงไม่ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากขยะจากการจัดทำเวทีประชาคมหมู่ 1 บ้านเกาะแค และหมู่ 3 บ้านออกวัด โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และพบว่า ปัญหาที่คนในชุมชนทั้งสองหมู่บ้านเลือกเป็นปัญหาลำดับที่ 1 คือปัญหาเรื่องขยะ จึงนำไปสู่การจัดทำโครงการจัดการขยะ เพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนน้ำขาว เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะที่ถูกวิธี และการคัดแยกขยะ โดยใช้หลัก 3R ประกอบด้วย Reduce (ลดการใช้) Reuse (ลดการใช้ซ้ำ) Recycle (การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือแปรรูป) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดครัวเรือนที่มีปัญหาด้านการจัดการขยะ

ร้อยละของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดการขยะในครัวเรือนที่ถูกต้อง

63.30 50.00
2 เพื่อลดครัวเรื่อนที่ประสบปัญหาสัตว์และแมลงนำโรค

ร้อยละของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการที่ประสบปัญหาสัตว์และแมลงนำโรค

68.40 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 15/05/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้การจัดการขยะและสาธิตวิธีทำถุงผ้าจากวัสดุเหลือใช้

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การจัดการขยะและสาธิตวิธีทำถุงผ้าจากวัสดุเหลือใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การให้ความรู้โดยการแสดง เรื่องประเภทขยะต่างๆ วิธีการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะ โทษ-ประโยชน์ของขยะ ปัญหาและผลกระทบจากขยะ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม : 100 คน x 25 บาท เป็นเงิน 2,500บาท 2.การสาธิตวิธีทำถุงผ้าจากวัสดุเหลือใช้ -ค่าวัสดุในการดำเนินงาน : 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขยะประเภทต่าง ๆ วิธีการคัดแยกขยะ และการจัดขยะ ถูกวิธีร้อยละ 90 อยู่ในระดับดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมบ้านสะอาดน่าอยู่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบ้านสะอาดน่าอยู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประเมินบ้านสะอาดน่าอยู่ Big cleaning day และมีการจัดการขยะร่วมทั้งคัดแยกได้ถูกวิธี -ป้ายเชิดชูเกียรติ : 1,000 -เกียรติบัตร : 2,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมประเมินกิจกรรมบ้านสะอาดน่าอยู่ ร้อยละ 30 ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน
  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการคัดแยกขยะเพื่อนำไปการจัดขยะในครัวเรือนได้ถูกวิธีร้อยละ 70
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

ชื่อกิจกรรม
ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คนในชุมชนงดใช้ถุงพลาสติกโดยใช้ถุงผ้าทุกวัน สะสมแสตมป์เพื่อแลกของที่ระลึก ค่าของที่ระลึก
-ตะกร้า: ใบละ 400 บาท x 5 ใบ เป็นเงิน 2,000 บาท -ถุงผ้า : ใบละ 50บาท x 20 ใบ เป็นเงิน  1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คนในชุมชนได้ความรู้เรื่องขยะประเภทต่างๆ วิธีการคัดแยกขยะตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
2. คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดครัวเรือน Big cleaningday บ้านสะอาด น่าอยู่ และมีการคัดแยกขยะเพื่อนำไปกำจัดขยะได้ถูกวิธี
3. คนในชุมชนใช้ถุงผ้าเพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน


>