กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เครือข่ายร่วมใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตี

ตำบลกาเยาะมาตี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของคนไทย โรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ส่วนมากจะเกิดในสตรีมากกว่าบุรุษ เนื่องจากอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีมีความซับซ้อนมากกว่าบุรุษ โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากในกลุ่มอายุ๓๐ – ๖๐ ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของสตรีไทย ซึ่งส่งผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัวรองลงมา คือ โรคมะเร็งเต้านมซึ่งโรคมะเร็งทั้ง ๒ ชนิด เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่
จากผลการดำเนินงานใน ๓ ปีที่ผ่านมา (ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑) ของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลกาเยาะมาตี พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมาย อายุ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๗๕.๓๑ ผลการดำเนินงานในปี ๒๕๖๑ พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมาย อายุ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๑๔.๘๘หญิงหลังคลอดต้องได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๒๔.๓๕ ซึ่งเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือ หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมาย อายุ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐/ปี และปีสุดท้ายร้อยละ ๑๐ (นับตั้งแต่ ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒)และหญิงหลังคลอดต้องได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๑๐๐ จากผลการดำเนินงานในปี ๒๕๖๑ ถือว่าไม่ผ่านตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด ผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ ๓๐– ๗๐ ปี ปี ๒๕๖๑ผ่านตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด (ตัวชี้วัดการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ ๓๐– ๗๐ ปี /ปี ร้อยละ ๘๐) ดังนั้น การให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องตลอดจนการสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งรวมไปถึงความพร้อมและศักยภาพในการให้บริการในระดับต่างๆของสถานบริการสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลกาเยาะมาตี จึงได้จัดทำ
“โครงการเครือข่ายร่วมใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมและรณรงค์ตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมายโดยค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มแรกและสามารถให้การรักษาได้อย่างทันเวลาลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30- 60 ปี มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80 /5ปี(สะสม 2558-2562)

๒. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80/ปี

๓.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 40-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยบุคลากรสุขภาพ ร้อยละ 80/ปี

๔. หญิงหลังคลอดได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 88
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม แก่เครือข่าย(อสม.) ต.กาเยาะมาตี

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม แก่เครือข่าย(อสม.) ต.กาเยาะมาตี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 88 คนX 25 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน 4,400 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน 88 คนX 50 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. อสม. มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม แก่หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม แก่หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 80คนX 25 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน 80 คนX 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • อุปกรณ์เครื่องเขียน เป็นเงิน 3,730 บาท
  • ค่าจัดทำไวนิลโรลอัพโรคมะเร็งปากมดลูก ขนาด 80 x 200 ซม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าจัดทำไวนิลโรลอัพโรคมะเร็งเต้านม ขนาด 80 x 200 ซม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,530.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถั๋วเฉลี่ยงบประมาณตามกิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม
๒. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม
๓. อสม. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๑๐๐
๔ เพื่อให้ อสม. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดที่ตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้รับการส่งต่อและรักษาทันท่วงที


>