กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง

พื้นที่เขตตำบลอัยเยอร์เวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

75.00
2 ร้อยละของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

 

40.00

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด นอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหารอันจะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดได้
ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ การท่องเที่ยวในตำบลอัยเยอร์เวงมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต มีประชาชนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารจึงยิ่งมีความสำคัญ นอกจากประชาชนในพื้นที่แล้วยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแล้วควรได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชนทั้งในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อีกทั้งอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของตำบลอัยเยอร์เวงต่อไปอีกด้วย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดอบรมผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร และลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามมาตรฐานร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CleanFoodGoodTaste: CFGT)ของกรมอนามัย ตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์จำนวน 24 ร้าน/แผงลอย และในปี 2561 ตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์จำนวน 27 ร้าน/แผงลอย ทั้งนี้พบว่า ในแต่ละปีมีร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารใหม่ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่มีการบริโภคอาหารจากร้านอาหารดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจอย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จึงจัดให้มีโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร

40.00 60.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 90 ของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านจำหน่ายอาหารสดและแห้ง 4
ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่า่ยอาหาร 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 60 คน (50 ร้าน)

  • ค่าอาหารกลางวัน 60 คน X 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 60 คน × 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 50 ร้าน

  • ค่าชุดทดสอบ SI - 214 กล่อง X 1,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจประเมิน เป็นเงิน500 บาท
  • สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ 60 ร้าน X 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันในการลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 7 คน X 50 บาท X 10 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในสถานที่สะสมอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในสถานที่สะสมอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารปนเปื้อนในสถานที่สะสมอาหารที่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารสดและแห้งที่สำคัญๆ ในชุมชน

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของร้านจำหน่ายอาหารสดไม่มีสารปนเปื้อนในอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มอบและต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT) แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐาน ร้านใหม่ 10 ร้าน ร้านเก่า 50 ร้าน

  • ค่าป้าย CFGT ขนาด 50 X 50 ซม. 5 ป้าย X 650 บาทเป็นเงิน 3,250 บาท
  • ค่าป้าย CFGT ขนาด 30 X 30 ซม. 5 ป้าย X 150 บาท เป็นเงิน750 บาท

(ค่าใช้จ่ายเฉพาะสำหรับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารรายใหม่)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์ได้รับมอบและต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร สามารถประกอบและจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย
2) ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/ร้านจำหน่ายอาหารสด มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน และได้รับป้ายรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร
3) ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน


>