กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง รหัส กปท. L4131

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง
3.
หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด นอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหารอันจะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดได้ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ การท่องเที่ยวในตำบลอัยเยอร์เวงมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต มีประชาชนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารจึงยิ่งมีความสำคัญ นอกจากประชาชนในพื้นที่แล้วยังมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแล้วควรได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชนทั้งในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อีกทั้งอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของตำบลอัยเยอร์เวงต่อไปอีกด้วย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดอบรมผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร และลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามมาตรฐานร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CleanFoodGoodTaste: CFGT)ของกรมอนามัย ตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์จำนวน 24 ร้าน/แผงลอย และในปี 2561 ตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์จำนวน 27 ร้าน/แผงลอย ทั้งนี้พบว่า ในแต่ละปีมีร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารใหม่ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่มีการบริโภคอาหารจากร้านอาหารดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจอย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จึงจัดให้มีโครงการแหล่งท่องเที่ยวปลอดโรค อาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพ ต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 60.00
  • 2. เพื่อเฝ้าระวังและตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 60.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
    รายละเอียด

    จัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 60 คน (50 ร้าน)

    • ค่าอาหารกลางวัน 60 คน X 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 60 คน × 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
    งบประมาณ 12,150.00 บาท
  • 2. กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
    รายละเอียด

    ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 50 ร้าน

    • ค่าชุดทดสอบ SI - 214 กล่อง X 1,000 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจประเมิน เป็นเงิน500 บาท
    • สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ 60 ร้าน X 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันในการลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 7 คน X 50 บาท X 10 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท
    งบประมาณ 24,000.00 บาท
  • 3. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในสถานที่สะสมอาหาร
    รายละเอียด

    ตรวจสารปนเปื้อนในสถานที่สะสมอาหารที่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารสดและแห้งที่สำคัญๆ ในชุมชน

    • ไม่มีค่าใช้จ่าย
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. กิจกรรมมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
    รายละเอียด

    มอบและต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste : CFGT) แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐาน ร้านใหม่ 10 ร้าน ร้านเก่า 50 ร้าน

    • ค่าป้าย CFGT ขนาด 50 X 50 ซม. 5 ป้าย X 650 บาทเป็นเงิน 3,250 บาท
    • ค่าป้าย CFGT ขนาด 30 X 30 ซม. 5 ป้าย X 150 บาท เป็นเงิน750 บาท

    (ค่าใช้จ่ายเฉพาะสำหรับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารรายใหม่)

    งบประมาณ 4,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2019 ถึง 31 สิงหาคม 2019

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่เขตตำบลอัยเยอร์เวง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 40,150.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1) ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร สามารถประกอบและจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย 2) ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/ร้านจำหน่ายอาหารสด มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน และได้รับป้ายรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร
3) ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง รหัส กปท. L4131

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง รหัส กปท. L4131

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 40,150.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................