กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงอายุ ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

1. นายแซะห์อับดุลเราะห์ อาเย๊าะแซ
2. นายเอกบดินทร์ จาลงค์
3. นางอังคณา ตาเละ
4. นางสาวต่วนมัสรา ตอแก
5. นางสาววิมลมาศ ทองใหญ่

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

 

60.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

 

80.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

75.00

ปัจจุบันจะพบว่านานาประเทศทั่วโลกต่างกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า นับว่าเป็นความท้าทายที่แทบทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงโครงการสร้างประชากรดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เข้าข่ายปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
ประเทศกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวและดำเนินชีวิตเพียงลำพัง
สภาพสังคมเปลี่ยนไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงานมีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้นมีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต เพราะตายจากการสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
การสร้างสุขภาวะตามแนวทางของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขออ้างเอกสารประกอบการอบรมของ ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพสุธีรวุฒิ ได้ให้ความหมายของระบบสุขภาพ ได้ว่า “ระบบสุขภาพ หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์และการจัดการทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ระบบสุขภาพเป็นระบบความสัมพันธ์แบบองค์รวมเชื่อมโยงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างสมดุล ไม่ใช่การมองเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง เช่น มองเฉพาะคน หรือมองเฉพาะโรคทางการแพทย์ แต่จะต้องมองไปถึงสังคมคุณภาพชีวิตมิติอื่นๆ เป็นต้น การดำเนินงานเพื่อนำไปสู่สุขภาวะ จึงเป็นบทบาทของทุกคน ทุกภาคี ทุกหน่วยงาน”
มิติสุขภาวะ หมายถึง การมองถึงสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคมและสุขภาวะทางปัญญาซึ่งสอดคล้องกับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคมและสุขภาวะทางปัญญา ให้สอดคล้องกับแนวทางอัลอิสลามซึ่งศาสดามูฮำหมัด (ซล.)ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องส่งผลให้ มีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จังหวัดปัตตานีมีแนวโน้มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพิจารณาจากข้อมูลสำรวจการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2560 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานีมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2556 จำนวนผู้สูงอายุ 77,086 คน(ร้อยละ 11.36), ในปี 2557 จำนวนผู้สูงอายุ 78,775 คน (11.48), ในปี 2558 จำนวนผู้สูงอายุ 80,223 คน (11.56), ในปี 2559 จำนวนผู้สูงอายุ 80,742 คน (11.52)และในปี 2560 มีจำนวนผู้สูงอายุ 81,956 คน (11.55) ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ควรรักษาและทำนุบำรุงดูแลให้มีชีวิตที่ดีตามวัยของผู้อาวุโส ตำบลยะรังมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตำบลยะรังมีผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป จำนวน605คน ซึ่งเป็นแนวโน้มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณค่าควรแก่การรักษาและทำนุบำรุงดูแลให้มีชีวิตที่ดีตามวัยของผู้อาวุโส จึงได้จัดทำโครงการปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองตลอด เปิดพื้นที่แสดงศักยภาพภูมิความรู้ ให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น ตลอดจนยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ สนใจบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และยังเป็นการตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้บริหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานดังกล่าวมีการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรังอย่างเป็นองค์รวมโดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพปัญญา ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลยะรัง จึงได้เห็นความสำคัญและขอเป็นส่วนหนึ่งในการปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลยะรัง ปีงบประมาณ2562

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 708
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 42
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/04/2019

กำหนดเสร็จ 11/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการเรียนรู้โภชนาการผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการเรียนรู้โภชนาการผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 750 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ
                                                 เป็นเงิน  37,500.  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ ดำเนินงาน จำนวน 750 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ
                                                 เป็นเงิน  37,500.  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
                                                    เป็นเงิน  3,600  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 × 6 เมตร จำนวน 1 ผืน
                                                    เป็นเงิน 2,400  บาท
  • ค่าเช่าเก้าอี้ จำนวน  750 ตัวๆละ  6 บาท                                                เป็นเงิน  4,500  บาท รวม  85,500.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสมวัย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
85500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 85,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสมแก่ผู้สูงวัย และในความรู้ไปปรับใช้กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน


>