กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ ในยาสมุนไพร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงพยาบาลละงู

1. นายนราธร พินิจสถิร
2. นางสาวนาซนีนง๊ะสมัน
3. นางสาวพิชญา เสียมไหม
4. นางสาวฐานิศา สาเบด
5. นางสาวอุทัยวรรณ วรรณวงศ์

พื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารสเตียรอยด์เป็นสารประเภทฮอร์โมน มีประโยชน์ในการบรรเทาการอักเสบ ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกัน และใช้ในผู้ที่ขาดฮอร์โมนประเภทนี้ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคเอส แอล อี (โรคพุ่มพวง) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ โรคหืด เป็นต้น แต่เมื่อนำสาร สเตียรอยด์มาใช้เป็นยา จะต้องใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น มิฉะนั้นจะเกิดอันตราย ยิ่งถ้าได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือในขนาดสูงมากจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความดันโลหิตสูง เพิ่มน้ำตาลในเลือด กระดูกพรุน ต้อหิน ต้อกระจก เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผิวบาง หน้ากลมเป็นวงพระจันทร์ หลังเป็นหนอก เป็นต้น ซึ่งเมื่อหยุดสเตียรอยด์กระทันหันจะเกิดอาการขาดสเตียรอยด์ ความดันโลหิตลดต่ำ น้ำตาลในเลือดตกลง ตามมาด้วยการเป็นลมหมดสติ

จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลละงู ในปีงบประมาณ 2560-2561 พบว่ามียาสเตียรอยด์ ปนปลอมในยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาได้สารพัดโรค มากกว่าร้อยละ 40 จากตัวอย่างยาสมุนไพรทั้งหมด 60 ตัวอย่างจากหลายพื้นที่ของอำเภอละงู ทั้งนี้มักพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังนำยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารเสตียรอยด์มาใช้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์เป็นยาที่มีฤทธิ์กดการอักเสบ มีผลทำให้ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์อาจเห็นผลในการบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว รู้สึกพึงพอใจ จึงทำให้อาจละเลยการรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง หากมีการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โรงพยาบาลละงูจึงได้จัดทำโครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรและ ยาแผนโบราณ ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง โดยมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่และจัดกิจกรรมตรวจสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังการใช้สารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรของประชาชนในเขตตำบลกำแพง
  • แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์
  • ร้านค้าในชุมชนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • การตรวจหาสารเสตียรอยด์ ในร้านค้าที่จำหน่ายยาสมุนไพรและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่พบสารเสตียรอยด์ อย่างน้อยร้อยละ 80
40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านค้าในชุมชนตำบลกำแพง 150
อาสาสมัครสาธารณสุข 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป

รายละเอียดกิจกรรม

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร และอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
  • สาธิต และฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ เพื่อตรวจหาสารสเตียรอยด์

เป้าหมาย

  • แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประชาชนทั่วไปในชุมชน จำนวน 60 คน

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 65 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

รวมเป็นเงิน 17,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
  • ติดป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร หมู่บ้านละ 2 ชุด จำนวน 12 หมู่บ้าน

เป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไปในชุมชน จำนวน12 หมู่บ้าน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์เกี่ยวกับอันตรายของสารเสตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 2 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงมีป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

  • ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน

รายละเอียดกิจกรรม

  • เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ลงพื้นที่ตามร้านขายของชำหรือแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรในหมู่บ้าน และบ้านเรือนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้ เพื่อทดสอบหาสารเสตียรอยด์
  • ให้คำแนะนำแก่ร้านค้าในชุมชนเกี่ยวกับอันตรายของสารเสตียรอยด์
  • จัดทำฐานข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์สารเสตียรอยด์ในยาสมุนไพร  เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมู่บ้านละ 1 ชุด
  • ติดตามผลตามร้านค้าในชุมชนและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้

เป้าหมาย

  • ร้านค้าในชุมชนในเขตตำบลกำแพง จำนวน 150 ร้าน
  • กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่บ้านๆละ 10 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 120 คน

งบประมาณ

  • ค่าชุดทดสอบ 1,320 บาท/ชุด x 30 ชุด  = 39,600 บาท
  • ค่าจัดทำไวนิล เผยแพร่ข้อมูลผลการตรวจ วิเคราะห์สารเสตียรอยด์ในยาสมุนไพร เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 4 คนๆละ 12 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

รวมเป็นเงิน 49,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้านค้าในชุมชนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  • การตรวจหาสารเสตียรอยด์ ในร้านค้าที่จำหน่ายยาสมุนไพรและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่พบสารเสตียรอยด์ อย่างน้อยร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49400.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงานโครงการ  จำนวน  5  คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 79,250.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์
2. มีการตรวจ/เฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่นำมาใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงโดย อสม. และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ
3. มีฐานข้อมูลยาสมุนไพรที่มีการใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงและข้อมูลผลการตรวจความปลอดภัยของยาสมุนไพร


>