กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ ในยาสมุนไพร
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลละงู
กลุ่มคน
1. นายนราธร พินิจสถิร
2. นางสาวนาซนีนง๊ะสมัน
3. นางสาวพิชญา เสียมไหม
4. นางสาวฐานิศา สาเบด
5. นางสาวอุทัยวรรณ วรรณวงศ์
3.
หลักการและเหตุผล

สารสเตียรอยด์เป็นสารประเภทฮอร์โมน มีประโยชน์ในการบรรเทาการอักเสบ ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกัน และใช้ในผู้ที่ขาดฮอร์โมนประเภทนี้ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคเอส แอล อี (โรคพุ่มพวง) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ โรคหืด เป็นต้น แต่เมื่อนำสาร สเตียรอยด์มาใช้เป็นยา จะต้องใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น มิฉะนั้นจะเกิดอันตราย ยิ่งถ้าได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือในขนาดสูงมากจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความดันโลหิตสูง เพิ่มน้ำตาลในเลือด กระดูกพรุน ต้อหิน ต้อกระจก เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผิวบาง หน้ากลมเป็นวงพระจันทร์ หลังเป็นหนอก เป็นต้น ซึ่งเมื่อหยุดสเตียรอยด์กระทันหันจะเกิดอาการขาดสเตียรอยด์ ความดันโลหิตลดต่ำ น้ำตาลในเลือดตกลง ตามมาด้วยการเป็นลมหมดสติ

จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลละงู ในปีงบประมาณ 2560-2561 พบว่ามียาสเตียรอยด์ ปนปลอมในยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาได้สารพัดโรค มากกว่าร้อยละ 40 จากตัวอย่างยาสมุนไพรทั้งหมด 60 ตัวอย่างจากหลายพื้นที่ของอำเภอละงู ทั้งนี้มักพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังนำยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารเสตียรอยด์มาใช้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์เป็นยาที่มีฤทธิ์กดการอักเสบ มีผลทำให้ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์อาจเห็นผลในการบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว รู้สึกพึงพอใจ จึงทำให้อาจละเลยการรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง หากมีการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โรงพยาบาลละงูจึงได้จัดทำโครงการตรวจเฝ้าระวังสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรและ ยาแผนโบราณ ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง โดยมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่และจัดกิจกรรมตรวจสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวังการใช้สารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรของประชาชนในเขตตำบลกำแพง
    ตัวชี้วัด : - แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์ - ร้านค้าในชุมชนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร - กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร - การตรวจหาสารเสตียรอยด์ ในร้านค้าที่จำหน่ายยาสมุนไพรและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่พบสารเสตียรอยด์ อย่างน้อยร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ และอันตรายของสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ให้กับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป

    รายละเอียดกิจกรรม

    • ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร และอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
    • สาธิต และฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ เพื่อตรวจหาสารสเตียรอยด์

    เป้าหมาย

    • แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประชาชนทั่วไปในชุมชน จำนวน 60 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 65 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 17,450 บาท

    งบประมาณ 17,450.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร

    รายละเอียดกิจกรรม

    • จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร
    • ติดป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร หมู่บ้านละ 2 ชุด จำนวน 12 หมู่บ้าน

    เป้าหมาย

    • ประชาชนทั่วไปในชุมชน จำนวน12 หมู่บ้าน

    งบประมาณ

    • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์เกี่ยวกับอันตรายของสารเสตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาสมุนไพร จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 2 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

    งบประมาณ 10,000.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง 12 หมู่บ้าน

    รายละเอียดกิจกรรม

    • เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ลงพื้นที่ตามร้านขายของชำหรือแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรในหมู่บ้าน และบ้านเรือนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้ เพื่อทดสอบหาสารเสตียรอยด์
    • ให้คำแนะนำแก่ร้านค้าในชุมชนเกี่ยวกับอันตรายของสารเสตียรอยด์
    • จัดทำฐานข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์สารเสตียรอยด์ในยาสมุนไพร  เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมู่บ้านละ 1 ชุด
    • ติดตามผลตามร้านค้าในชุมชนและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่นำยาสมุนไพรมาใช้

    เป้าหมาย

    • ร้านค้าในชุมชนในเขตตำบลกำแพง จำนวน 150 ร้าน
    • กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง หมู่บ้านๆละ 10 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 120 คน

    งบประมาณ

    • ค่าชุดทดสอบ 1,320 บาท/ชุด x 30 ชุด  = 39,600 บาท
    • ค่าจัดทำไวนิล เผยแพร่ข้อมูลผลการตรวจ วิเคราะห์สารเสตียรอยด์ในยาสมุนไพร เป็นเงิน 5,000 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 4 คนๆละ 12 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

    รวมเป็นเงิน 49,400 บาท

    งบประมาณ 49,400.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    รายละเอียดกิจกรรม

    • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
    • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานโครงการ  จำนวน  5  คน

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

    งบประมาณ 2,400.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 79,250.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของการใช้ยาสมุนไพรที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์
  2. มีการตรวจ/เฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่นำมาใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงโดย อสม. และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ
  3. มีฐานข้อมูลยาสมุนไพรที่มีการใช้ในพื้นที่ตำบลกำแพงและข้อมูลผลการตรวจความปลอดภัยของยาสมุนไพร
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 79,250.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................