กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดยุงลายป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานระบาดวิทยาของตำบลนานาค ในปี ๒๕๖๑ พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๑๒ รายคิดเป็นอัตราป่วย ๑๒๖.๙ ต่อแสนประชากร การระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปี เนื่องจากชุมชนในปัจจุบันได้มีการขยายตัวมากขึ้นืืแต่ไม่มีการวางแผนควบคุมแมลงนำโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย จึงส่งผลให้เกิดการแพร่พันธ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธ์อยู่ตลอดเวลา จากอดีตที่ผ่านมาการระบาดของไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาล และนโยบายการพัฒนาบริการสาธารณสุขได้เปลี่ยนจากเชิงรับมาเน้นการให้บริการในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองมากขึ้นขณะเดียวกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุณกุนยาเป็นโรคที่ป้องได้หากประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้อง การสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุณกุนยาให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมโดยให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญถึงสภาพปัญหาและควาร้ายแรงของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธรการแก้ไข ซึ่งปัญหาไข้เลือดออกเป็ฯเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
๒ เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นานาค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นานาค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ กิจกรรมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นานาค ๒ กิจกรรมให้ความรู้แกนนำชุมชนและอสม. ๓ อสม.ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกพร้อมสุรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบของตนเองสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๔ ควบคุมการระบาดของโรคจากผู้ป่วยที่เกิดโดยการพ่นหมอกควัน ๕ กิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก  ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
๒ ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจมีความตระหนัก เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
๓ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔ ประชาชนสามารถทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสมำ่เสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายภายในบ้านชุมชน มัสยิดโรงเรียนให้น้อยลง


>