กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีหมู่ที่8

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดา(ยูโย)ม.8ต.บานา

1 ………………………………………………………………… เบอร์โทร ……………..............…..……

2 ………………………………………………………………… เบอร์โทร ……………..............…..……

3 ………………………………………………………………… เบอร์โทร ………………….....…………..

4 ………………………………………………………………… เบอร์โทร ……………….…….………..…

5 ………………………………………………………………… เบอร์โทร ……………….…...……………

ห้องประชุมใต้อาคารเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านยูโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ยาเสพติด เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทยนั้นได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน อาทิ การดื่มสุราสูบบุหรี่ การเที่ยวกลางคืน การเล่นการพนันการทะเลาะวิวาท ติดเกมส์ หรือสื่อลามกอนาจาร และวัตถุนิยมเกินฐานะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับดังนั้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาอีกด้วย
โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดาหมู่ที่ 8ถนนนาเกลือ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานีเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการที่เด็กนักเรียนจะเข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นอย่างสูง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ โรงเรียนเป็นแหล่งพื้นที่แพร่ระบาดของยาเสพติดหลายประเภททั้งยาบ้าไอซ์พืชกระท่อม และเฮโรฮีนโดยมีทั้งผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติดอยู่ในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ที่มีบุคคลจากนอกพื้นที่เข้ามาเช่าบ้านอาศัยอยู่ในชุมชน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวชาวพม่า เขมร และลาว ก็เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้ๆ กับโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมากทำให้ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดมาก
ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดและปัญหาเกี่ยวกับอบายมุขต่างๆ ที่อาจมีโอกาสเป็นภัยต่อกลุ่มนักเรียนและเยาวชนในภายภาคหน้าได้ จำเป็นจะต้องรีบหาวิธีการในการป้องกันปัญหาดังกล่าวให้กับนักเรียนหรือเยาวชนอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดทำโครงการ”เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา นูรูลฮูดาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนมีคุณธรรมและมีวินัยในตัวเอง และเพื่อให้นักเรียนเหล่านี้ได้มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ในการหลีกเลี่ยงปัญหายาเสพติด รู้เท่าทันและห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขได้อีกทั้ง เป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนในโรงเรียนได้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีวินัยในตนเอง ไม่ฝักใฝ่กับยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

ร้อยละ 70 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้วิธีการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด สามรถนำความรู้มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากภัยสังคม

นักเรียนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากภัยสังคม  สามรถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีจิตสำนึกและมีวินัยในตนเอง

นักเรียนมีจิตสำนึก และวินัยในตัวเอง มีจิตสาธารณะไม่สร้างปัญหาให้สังคมเดือดร้อน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2019

กำหนดเสร็จ 05/05/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเรื่องรู้เท่าทันห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี หมู่ที่8

ชื่อกิจกรรม
อบรมเรื่องรู้เท่าทันห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี หมู่ที่8
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม25 บาทx 130 คน x 2 มื้อเป็นเงิน6,500.-บาท

ค่าอาหารกลางวัน40 บาท x 130 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน5,200.-บาท

ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้300 บาท X 10 ชั่วโมง เป็นเงิน3,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเรื่องการป้องกันตนเองจากภัยสังคมและปัญหายาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมเรื่องการป้องกันตนเองจากภัยสังคมและปัญหายาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม25 บาทx 130 คน x 2 มื้อเป็นเงิน6,500.-บาท

ค่าอาหารกลางวัน40 บาท x 130 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน5,200.-บาท

ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร 1 ผืนเป็นเงิน750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดมัสยิด และชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดมัสยิด และชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม25 บาทx 130 คน x 1 มื้อเป็นเงิน3,250.-บาท


ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน5,590.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,990.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้

2. นักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากภัยสังคมได้

3. นักเรียนเป็นเยาวชนที่ดีไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

4. นักเรียนมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้


>