กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

พัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน บ้านต้นทุเรียน

1. นางฟาซีย๊ะ ปาโห๊ะ
2. นางปาตีเม๊าะ สาและบิง
3. นางแวฮาลีเมาะและมาลี
4. นางเจะรอเมาะจาหลง
5. นางสาวมูนรีโต๊ะเจ๊ะ

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จัหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบจามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ และประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐาน เทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่น ฉีดลึกหรือตื้นเกินไป
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในทุกพื้นที่ตามพันธะสัญญานานาชาติว่าด้วยการกวาดล้างโรคโปลิโอและการกำจัดโรคหัดโดยกำหนดเป้าหมายไม่เกิน1ต่อล้านประชากรในปี2563และจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนจังหวัดปัตตานี ปี 2561 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคหัด มีผู้ป่วยสะสม171 รายอัตราป่วย 24.23 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย11อำเภอ ยกเว้น อำเภอไม้แก่น โดยไม่มีรายงานการเสียชีวิต (ข้อมูลตั้งแต่วันที่1กันยายน2561 ถึง 18 ตุลาคม 2561)สถานการณ์โรคหัดอำเภอยะรัง มีจำนวนผู้ป่วยสะสม59ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต1 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอยะรัง. 21 ตุลาคม 2561) จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์อายุอำเภอยะรังมีจำนวนผู้ป่วยและยังพบว่าผู้ปกครองบางรายยังไม่เห็นถึงความสำคัญในการมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการแพร่เชื้อของโรคระบาดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ สำหรับพื้นที่ตำบลยะรัง ยังคงมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อและเกิดการระบาดได้หากมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าออกในพื้นที่
ดังนั้น การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน นั้นจึงต้องมีนโยบายรณรงค์ให้ได้รับวัคซีนพื้นฐานและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคน สามารถ ลด/ควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคหัดได้โดยเร่งด่วน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก เพราะฉะนั้นการให้ผู้ปกครองและประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความตระหนักในการพาบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีน การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ติดตาม แก่ผู้ปกครองเด็ก และประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค และเป็นการป้องกันสุขภาพเด็กในพื้นที่ไม่ให้ติดเชื้อรวมถึงการลดโอกาสติดเชื้อจากภายนอกกลับเข้ามาระบาดได้ โดยผ่านการนำร่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้นทุเรียน จึงได้จัดโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจการแพร่ระบาดของโรคที่ควบคุมด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลยะรัง
  1. ร้อยละ 100 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่ควบคุมได้ด้วยวัคซีน
80.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีนในวัยเด็กอายุ 0 – 5 ปี

ร้อยละ  100  เด็กอายุ 0 – 5 ได้รับวัคซีนครบตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข

90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 66
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/04/2019

กำหนดเสร็จ 28/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงสถานการณ์การระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงสถานการณ์การระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บ. จำนวน  35 คน เป็นเงิน    875   บ. รวมเป็นเงิน    875  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันวางแผนการดำเนินงานควบคุมโรคด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
875.00

กิจกรรมที่ 2 ภารกิจควบคุมการระบาดของโรคอย่างเร่งด่วน

ชื่อกิจกรรม
ภารกิจควบคุมการระบาดของโรคอย่างเร่งด่วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรม ค้นหาเด็กแรกเกิดที่ยังไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนดและการเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังติดตามการแพร่ระบาดของโรคที่ควบคุมได้ด้วยวัคซีน         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการรณรงค์ค้นหาเชิงรุกฯสำหรับผู้ดำเนินงานจำนวน 66 คน  6 หมู่บ้าน มื้อละ 25 บ.จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน   3,300  บ.         - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ดำเนินงานรณรงค์ค้นหาเชิงรุกฯ จำนวน 66 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 4 วัน  เป็นเงิน  3,300  บ.              รวมเป็นเงิน    6,600. บาท 2.2 กิจกรรม  รณรงค์ประชาสัมพันธ์โรคที่ควบคุมด้วยวัคซีน       - ป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 ม × 2.5 ม. จำนวน  6  แผ่นๆ ละ    1,000 บ. เป็นเงิน  6,000  บ.       - ป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมโครงติดตั้งประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ขนาด 2 ม.× 3.5 ม. จำนวน 1 แผ่น   เป็นเงิน   6,500 บ.                รวมเป็นเงิน   12,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19100.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง      - ค่าอาหาว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บ.วันละ 2 มื้อ จำนวน 50 คน    เป็นเงิน   2,500  บ.      - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท/มื้อ   เป็นเงิน  2,500  บ.      - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 × 3 ม. จำนวน 1  แผ่น เป็นเงิน  750  บ.      - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน  6  ชั่วโมงๆละ  600 บาท เป็นเงิน   3,600  บ.         รวมเป็นเงิน   9,350  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนผู้ปกครอง เด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลยะรัง มีความรู้ความสามารถในการป้องกันการติดต่อของโรคด้วยวัคซีน ตลอดจนการดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,325.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีน
2. ผู้ปกครองเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีน ตลอดจนนำลูกหลานเข้ารับบริการวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง
3. ควบคุมการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ได้


>