กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
รหัสโครงการ 62-L3032-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ พัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน บ้านต้นทุเรียน
วันที่อนุมัติ 17 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2562 - 28 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 26,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาตีเม๊าะ สาและบิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 66 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบจามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ และประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐาน เทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่น ฉีดลึกหรือตื้นเกินไป ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในทุกพื้นที่ตามพันธะสัญญานานาชาติว่าด้วยการกวาดล้างโรคโปลิโอและการกำจัดโรคหัดโดยกำหนดเป้าหมายไม่เกิน1ต่อล้านประชากรในปี2563และจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนจังหวัดปัตตานี ปี 2561 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคหัด มีผู้ป่วยสะสม171 รายอัตราป่วย 24.23 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วย11อำเภอ ยกเว้น อำเภอไม้แก่น โดยไม่มีรายงานการเสียชีวิต (ข้อมูลตั้งแต่วันที่1กันยายน2561 ถึง 18 ตุลาคม 2561)สถานการณ์โรคหัดอำเภอยะรัง มีจำนวนผู้ป่วยสะสม59ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต1 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอยะรัง. 21 ตุลาคม 2561) จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์อายุอำเภอยะรังมีจำนวนผู้ป่วยและยังพบว่าผู้ปกครองบางรายยังไม่เห็นถึงความสำคัญในการมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการแพร่เชื้อของโรคระบาดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ สำหรับพื้นที่ตำบลยะรัง ยังคงมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อและเกิดการระบาดได้หากมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าออกในพื้นที่
ดังนั้น การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน นั้นจึงต้องมีนโยบายรณรงค์ให้ได้รับวัคซีนพื้นฐานและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคน สามารถ ลด/ควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคหัดได้โดยเร่งด่วน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก เพราะฉะนั้นการให้ผู้ปกครองและประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความตระหนักในการพาบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีน การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ติดตาม แก่ผู้ปกครองเด็ก และประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค และเป็นการป้องกันสุขภาพเด็กในพื้นที่ไม่ให้ติดเชื้อรวมถึงการลดโอกาสติดเชื้อจากภายนอกกลับเข้ามาระบาดได้ โดยผ่านการนำร่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้นทุเรียน จึงได้จัดโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจการแพร่ระบาดของโรคที่ควบคุมด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลยะรัง
  1. ร้อยละ 100 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่ควบคุมได้ด้วยวัคซีน
80.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีนในวัยเด็กอายุ 0 – 5 ปี

ร้อยละ  100  เด็กอายุ 0 – 5 ได้รับวัคซีนครบตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข

90.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,325.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมชี้แจงสถานการณ์การระบาดของโรค 0 875.00 -
??/??/???? ภารกิจควบคุมการระบาดของโรคอย่างเร่งด่วน 0 19,100.00 -
??/??/???? อบรมให้ความรู้ 0 9,350.00 -

วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในพื้นที่และกำหนดมาตรการควบคุมโรคด้วยวัคซีน 2. วางแผนการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ขั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมสำรวจความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในกลุ่มเด็ก 0 - 5 ปี เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเชิญชวนให้ประชาชนนำลูกหลานเข้ารับวัคซีนได้ตามจุดที่เรากำหนดหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อปรับทัศนคติความรู้ความเข้าใจในด้านการควบคุมโรคด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลยะรัง 3. การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามการระบาดของโรคที่ควบคุมด้วยวัคซีน - เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลงพื้นที่ติดตามการเกิดโรคในพื้นที่ - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้ารับบริการฉีดวัคซีนที่ศูนย์บริการสุขภาพประจำตำบล 4. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กนักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลยะรัง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีน
  2. ผู้ปกครองเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคด้วยวัคซีน ตลอดจนนำลูกหลานเข้ารับบริการวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง
  3. ควบคุมการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 00:00 น.