กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมแกนนำกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

กลุ่มเสี่ยง ๕ หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.บ้านทุ่งหลวง (หมู่ที่ ๓, ๔,๖,๗,๑๑ ตำบลวังมะปราง)จำนวน ๕๐ คน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๑ กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๖๙ คน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปี ๒๕๖๑ จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๐๔ และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน ๗๐ คน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปี ๒๕๖๐ จำนวน ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ๖๑.๔๒ พบว่าอัตราผู้ป่วยรายใหม่ทั้งในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนมากเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสูงหากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง จะส่งผลต่ออัตราการป่วยและการอัตราการตายด้วยโรคในกลุ่มเมทาบอลิกได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังมะปราง จึงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนปีงบประมาณ๒๕๖๒ ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุม /อบรม /สัมมนา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุม /อบรม /สัมมนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ๕๐ คน ๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน ๕๐ คน ๆละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ คน ๆละ ๑ มื้อๆละ ๖๐ บาท จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท ๓.ค่าวิทยากร จำนวน ๔ คนๆละ ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๗,๒๐๐ บาท ๔.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน ๑,๓๕๐ บาท ๔.๑ ปากกาลูกลื่น ๕๐ ด้ามๆละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๔.๒ สมุดปกอ่อน ๖๐ แผ่น ๕๐ เล่มๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๔.๓ กระดาษพรู๊บ ๒ โหลๆละ ๔๐ บาทเป็นเงิน ๘๐ บาท ๔.๔ สีเมจิกชุด ๑๒ สี จำนวน ๕ ชุดๆละ ๕๔ บาท เป็นเงิน ๒๗๐ บาท ๕.ไวนิลขนาด ๑x๓ เมตร เป็นเงิน ๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ตระหนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค
๒.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นแกนนำสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๓. สังคม ชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง


>