กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชาวหนองปรือ ร่วมใจ สานฝัน สู่ ครอบครัวฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา

รพ.สต.บ้านนา

หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจข้อมูลในภาพรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปี 2561 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 42.65 กลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 28.22 และกลุ่มผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ ร้อยละ46.8 ซึ่งการลดอัตราการเกิดโรคในช่องปาก จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่จะต้องเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพช่องปากของตนเองและคนในครอบครัว เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพฟันที่ดีต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจึงได้จัดทำโครงการ ชาวหนองปรือ ร่วมใจ สานฝัน
สู่ ครอบครัวฟันดี ขึ้นโดยใช้พื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือ เป็นพื้นที่นำร่อง ในการจัดทำโครงการดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ทุกครัวเรือน ได้รับรู้ข้อมูลสถานะสุขภาพในช่องปากของคนในครอบครัว
2. เพื่อให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
3. เพื่อลดสภาวะการเกิดและการลุกลามของโรคในช่องปาก ในกลุ่มวัยต่างๆ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการตรวจคัดกรองและให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจคัดกรองและให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอพิจารณาขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และอสม. หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือ
  3. ทีมเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพในช่องปากของบุคคลในแต่ละครัวเรือน
  4. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล/จัดทำฐานข้อมูลทันตสุขภาพรายครัวเรือน
  5. จัดอบรมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม. และ ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อคืนข้อมูลสถานะสุขภาพช่องปากร่วมกับวิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหา ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กแรกเกิด – 5 ปี
  6. จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพในชุมชน
  7. จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟันยาสีฟันในชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปากได้สะดวกยิ่งขึ้น
  8. จัดตั้งกลุ่มไลน์ “ครอบครัวรักษ์ฟัน” เพื่อเป็นสื่อในการส่งเสริมความรู้และการบริการต่างๆ
  9. จัดกิจกรรมประกวด “ครอบครัวฟันดี” เพื่อเป็นแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพฟันของคนในครอบครัว
  10. เจ้าหน้าที่นัดกลุ่มเป้าหมายให้บริการทันตกรรมตามสภาพปัญหาโดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กแรกเกิด – 5 ปี 11.ประเมินผลโครงการจากการเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพช่องปากก่อนและหลังดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวที่สามารถดูแลรักษาฟันได้ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาและสภาวะสุขภาพในช่องปากของคนในครอบครัว
2. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและคนในครอบครัวและมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี
3. ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพในช่องปาก ของบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง
4. ประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆได้รับและเข้าถึงบริการทันตกรรมได้มากขึ้น
5. เด็กแรกเกิด – 5 ปี ปลอดฟันผุ


>