กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน ๐-๕ ปีไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๒

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน ๐-๕ ปีไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ตำบลบ้านป่าไผ่ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ตำบลบ้านป่าไผ่ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขตระหนักดีว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศมาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานกว่า 30 ปี แล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า (สำหรับสถานบริการภาครัฐหรือสถานพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)ด้วยเหตุนี้เด็ก ๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่าง ๆ เช่น โปลิโอ, คอตีบ, ไอกรน, วัณโรค, ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตามในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น จากการสอบสวนการระบาดของโรคหัดในอำเภอศรีสาคร ระแงะ รือเสาะ และเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส พ.ศ.2561 พบว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเท่ากับ ร้อยละ ๘๗ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพในระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง ทั้งนี้การสำรวจความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ และต้นปี ๒๕๖๒ พบว่าความครอบคลุมต่ำกว่าเป้าหมายมาก และนำไปสู่การระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ และโรคหัด อย่างกว้างขวาง และมีอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้สูงที่สุดในประเทศ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ๖๐ ถึงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๖๑ พบการระบาดของโรคคอตีบในจังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วย๕๔ราย เสียชีวิต ๑๓ ราย ส่วนมากเป็นเด็กในกลุ่มอายุ ๐-๔ ขวบ, ๕-๙ ขวบ และ ๑๕- ๒๔ ปี พื้นที่ที่มีการระบาดส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่สีแดง และความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ ซึ่งอำเภอศรีสาครก็คือหนึ่งในนั้น
เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ จากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐาน พบว่า เด็ก ๐-๕ ปีในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าไผ่ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม อยู่ในระดับต่ำ และปัจจุบันยังพบกลุ่มเป้าหมายป่วยด้วยโรคหัดเป็นช่วงๆ จากการสอบสวนพบว่ากลุ่มป่วยโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหา ตามกลุ่มเป้าหมาย ให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคน เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

เครือข่ายสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

4.00 0.00
2 ๒. เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๕ ปีในพื้นที่ของตำบลกาหลงได้รับวัคซีนครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐

เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐

5.00 0.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ เข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ เข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

4.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 267
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานในพื้นที่ ๑. ผู้รับผิดชอบงานสำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็ก ๐-๕ ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุและกลุ่มบ่ายเบี่ยงไม่รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ๒.จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกอ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานในพื้นที่ ๑. ผู้รับผิดชอบงานสำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็ก ๐-๕ ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุและกลุ่มบ่ายเบี่ยงไม่รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ๒.จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประชุมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานในพื้นที่ ค่าอาหารว่าง จำนวน ๕๐ คน X ๒๕ บาท X ๑ มื้อ =๑,๒๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน ๑. จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. ในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ๒. สำรวจและจัดทำบัญชีรายชื่อเด็กอายุ ๐-๕ ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบชุด

ชื่อกิจกรรม
๒.อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน ๑. จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. ในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ๒. สำรวจและจัดทำบัญชีรายชื่อเด็กอายุ ๐-๕ ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบชุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน
ค่าอาหารว่าง จำนวน ๔๓ คนX ๒๕ บาท X ๑ มื้อ =๑,๐๗๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1075.00

กิจกรรมที่ 3 ๓.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน ๔. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภ

ชื่อกิจกรรม
๓.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน ๔. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสร้างเสริมภ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน ค่าอาหารว่าง 25บาทx๒๖๗ คน x ๑ มื้อ=๖,๖๗๕.บาท

ค่าป้ายไวนิลขนาด ๑X๓ เมตร= ๑,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7675.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์
๒. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน และอาการข้างเคียงของวัคซีนหลังได้รับวัคซีน


>