กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วยซั้งกอ สร้างบ้านให้ปลา อ่าวปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ

1.นายกัมพลถิ่นทะเล
2.นายม่าเบ็ญอาหมัน
3.นายบาฉ้นนุ้ยไฉน
4.นางสาวฮาสานะห์เกะมาซอ
5.นางนุซุรางะสมัน

ท่าเทียบเรืออ่าวนุ่น หมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อ่าวปากบาราเป็นบริเวณทะเลนับจากเกาะตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะ บริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหาร และอนุบาลสัตว์น้ำ มีเกาะแก่งขนาบ ทั้งด้านเหนือ ด้านใต้ และด้านตะวันตก มีร่องน้ำเดินเรือ มีทั้งแหล่งปะการังธรรมชาติ และปะการังเทียม ในบริเวณอ่าวปากบารา
ปัจจุบันการประมงแบบหลากหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้ เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลจากประมงพื้นบ้าน กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปริมาณที่จับสัตว์น้ำลดลง ออกเรือหาปลาแต่ละครั้งก็ต้องก็ได้ ปริมาณลดลงมาก และต้องออกหาปลาไกลขึ้น ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันออกเรือปริมาณมากขึ้น ออกเรือหาปลาใช้เวลานานขึ้น บางทีในการ ออกเรือแต่ละครั้งค่าน้ำมันเรือกับจำนวนปลาที่ได้ก็ขาดทุน ชาวประมงพื้นบ้านได้เห็นผลกระทบดังกล่าว จึงได้เกิดความร่วมมือกันจากหลายชุมชนโดยรอบอ่าวปากบารา เริ่มทำกิจกรรมฟื้นฟูสัตว์น้ำในหลากหลาย วิธี เช่น กิจกรรมธนาคารปู การกำหนดเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกัน การวางซั้งกอหรือบ้านปลาเพื่อสร้างแหล่ง หลบภัยให้ ฝูงปลา โดยเฉพาะในช่วงหน้ามรสุม บ้านปลายังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตัวอ่อนอีกด้วยภายใต้ การรวมกลุ่มกัน “สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ” เพื่อรวมเครือข่ายชาวบ้านทำกิจกรรมอนุรักษ์ ให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
การวางซั้งกอหรือสร้างบ้านให้ปลา เป็นกิจกรรมที่ประชาชนสามารถใช้กล้ามเนื้อของร่างกายในการสร้างซังกอ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง และสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและสามารถป้องกันการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่จะรุกเข้ามาในเขตพื้นที่การประมงพื้นบ้านได้ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดพื้นที่วางซั้งกอ ทำให้ชาวบ้านในชุมชนได้รับประโยชน์ เนื่องจาก ทำให้ชาวบ้านสามารถออกไปจับปลา มาประกอบอาหารในครัวเรือน ได้สัตว์น้ำที่ปลอดภัยทำให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ ปลอดจากสารฟอร์มาลีน และสารเคมีต่างๆ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมบริหารจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งพื้นที่อ่าวปากบาราอย่างมีส่วนร่วมเพื่อความรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก และสามารถ รักษาทรัพยากรชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากการสร้างซังกอ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายในการสร้างซังกอ

ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกคน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ประชาชนและคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการวางซั้งกอ ในอ่าวปากบาร

ชื่อกิจกรรม
เวทีสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ประชาชนและคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการวางซั้งกอ ในอ่าวปากบาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมคณะกรรมการสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่าง 20คน x 35บาท x 1 ครั้ง = 1,400 บาท กำหนดการประชุมคณะกรรมการสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 13.00 – 13.30น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 13.30- 14.00น. ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ ฯ โดย นายกัมพล ถิ่นทะเล นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 14.00 – 15.30 น. ออกแบบเวทีการอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน 15.30 – 16.00 น.สรุปผลการประชุม

1.2 เวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในชุมชน รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่าง 40คน x 35บาท x 1 ครั้ง =2,800 บาท กำหนดการเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในชุมชน
13.00 – 13.30น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
13.30 - 14.30น.เวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายกัมพล ถิ่นทะเล นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ อำเภอละงูจังหวัดสตูล
14.30 – 15.00 น. สาธิตวิธีการทำซั้งกอ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
โดย นายม่าเบ็ญ อาหมัน สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ
15.00 – 16.00 น. สรุปเวทีและแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการหารือของคณะกรรมการวสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อสร้างเข้าใจแก่ประชาชน และร่วมกำหนดและหารือวการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการมีส่วนร่วม เตรียมอุปกรณ์ทำซั้งกอหรือบ้านปลา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการมีส่วนร่วม เตรียมอุปกรณ์ทำซั้งกอหรือบ้านปลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมส่วนร่วมในชุมชนสัมพันธ์ในการให้ชาวบ้าน ร่วมเตรียมอุปกรณ์ เตรียมไม้ไผ่ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูน รวมไปถึงการขนของขึ้นเรือ
    รายละเอียดค่าใช้จ่าย -ค่าอาหาร 40 คน x 100 บาทx 1 มื้อ = 4,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 40 บาท x 35 คน x 2 มื้อ= 2,800บาท รายละเอียดค่าวัสดุอปกรณ์
    -ไม้ไผ่จำนวน 100 ต้น x 200 บาท= 20,000 บาท -ทางมะพร้าวจำนวน1,200ทาง x 15 บาท=18,000 บาท -หินถ่วงจำนวน100 ก้อน x 150 บาท=15,000บาท -เชือกขนาด 14 มิลลิเมตร จำนวน 30กก.x 120 บาท =3,600 บาท -เชือกเหลืองขนาด 4 มิลลิเมตร จำนวน 3 กก x 130 บาท= 390บาท
    กำหนดการกิจกรรมการมีส่วนร่วม เตรียมอุปกรณ์ทำซั้งกอหรือบ้านปลา
    ลงทะเบียนการเตรียมอุปกรณ์
    8.00- 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 11.00 – 11.30 น. กิจกรรมส่วนร่วมในชุมชนสัมพันธ์ในการให้ชาวบ้านเตรียมอุปกรณ์ พร้อมสาธิตวิธีการทำ 11.30 – 16.00 น. กิจกรรมส่วนร่วมในชุมชนสัมพันธ์ในการให้ชาวบ้านเตรียมอุปกรณ์ พร้อมปฏิบัติจริง
    ทีมที่ 1 ร่วมเตรียมอุปกรณ์ เตรียมไม้ไผ่ ถักทางมะพร้าว
    ทีมที่ 2 วัดเชือกและตัดเชือก
    ทีมที่ 3 หล่อปูนสำหรับทำลูกถ่วง
    ผู้รับผิดชอบ นายบาฉ้น นุ้ยไฉน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนสัมพันธ์โดยให้ชาวบ้านผละผู้ที่สนใจข้าร่วมเรียนรู้ ร่วมเตรียมอุปกรณ์ เตรียมไม้ไผ่ ถักทางมะพร้าว ตัดเชือก และหล่อปูนทำให้เกิดการบริหารร่างกาย ถือเป็นการออกกำลังกาย การขยับตัว ส่งผลดีต่อสุขภาพของคนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63790.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคืนบ้านให้ปลาสู่ท้องทะเล ประชาชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคืนบ้านให้ปลาสู่ท้องทะเล ประชาชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทำซั้งกอหรือบ้านปลา จำนวน 100 ต้น โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ ได้แก่ ปูนแบบผสมเสร็จ หล่อให้เป็นแท่งปูนสี่เหลี่ยม 36 x 59 x 33 นิ้ว เพื่อทำเป็นฐานถ่วงน้ำหนัก ลงสู่ก้นทะเลน้ำตื้น และใช้เชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ผูกติดระหว่าง แท่นปูนและท่อนไม่ไผ่และใช้เชือกขนาด 4 มิลลิเมตรผูกระหว่างท่อนกับใบทางมะพร้าว และใช้เรือประมงพื้นบ้านนำไปทิ้งตามพิกัดที่เรากำหนดไว้ - ค่าเรือ 5 ลำ x 3 ครั้ง x 1,500 บาท=22,500 บาท - ค่าอาหาร 20 คน x 3 ครั้ง x 100 บาท=6,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 20 คน 2 มื้อ x 3 ครั้ง = 4,200 บาท กำหนดการ
07.00 – 08.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 08.00 – 09.00 น. กิจกรรมส่วนร่วมในชุมชนสัมพันธ์ในการให้ชาวบ้าน เตรียมเรือไว้ที่ท่าเรือ ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ขึ้นเรือ (ทางมะพร้าว ไม้ไผ่ หินถ่วง) 09.00 – 15.00 น. นำวัสดุอุปกรณ์(ทางมะพร้าว ไม้ไผ่ หินถ่วง) มาผูกไว้เป็นต้นๆ นำไปวางไปตามพิกัดทีได้กำหนดไว้ 15.00 – 16.00 น. นำเรือเข้าฝั่ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเตรียมวัสดุ การขนของขึ้นเรือ และการเอาซั้งไปวางตามจุดต่างๆที่ได้กำหนดไว้ ทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายๆกลุ่ม เช่น กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในการให้ความร่วมมือกันไปวางซั้งกลุ่มแม่บ้านในการช่วยเตรียมอาหาร และนอกจากนี้ การวางซั้งในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณืแก่ท้องทะเล เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำได้ดี ไม่เป็นที่กีดขงวางพื้นที่ในการทำกิจกรรมอื่นๆ และที่สำคัญ พื้นที่บริเวรอ่าวปากบาราเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่ลักษณะพิเศษ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรใต้น้ำที่สมบูรณ์ให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32700.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปหลังสร้างบ้านปลา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปหลังสร้างบ้านปลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 จัดการประชุมชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ เพื่อวางแผนการติดตามความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสรุปงานเพื่อวางแผน ในปีถัดไป รายละเอียดค่าใช้จ่าย
-ค่าเอกสาร 50 ชุด x 20 บาท = 1,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ =2,800 บาท -ค่าอาหารเที่ยง 40 คน x 100 บาท x 1 มือ = 4,000 บาท กำหนดการ
09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 – 11.00 น. นำเสนอผลการดำเนินโครงการการว่างซั้งกอในอ่าวปากบารา โดย นายกัมพลถิ่นทะเล นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ
11.00 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซั้งกอ โดยสมาชิกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 13.00 – 15.00 น. ออกแบบและวางแผนการติดตามความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสรุปงานเพื่อวางแผน ในปีถัดไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามความร่วมมือกับชาวประมงพื้นบ้านเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมีผลตอบรับที่ดี โดยชาวประมงพื้นบ้านจำนวนมากจะเข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่วางซั้งกอและปฏิบัตืตามกฏกติกาชุมชน นอกจากนี้ การวางซั้งกอมีผลสำคัญในการรณรงค์ป้องกันการทำประมงขนาดใหญ่ในเขตทะเลชายฝั่ง ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาได้มากขึ้น จับสัตว์น้ำอย่างรับผิดชอบใช้เครื่องมือที่ถุกฏหมาย สัตว์น้ำมีคุณค่าและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 108,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
- ปริมาณความหนาแน่นของบ้านปลาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดและอนุบาลสัตว์สัตว์น้ำ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
- เกิดความร่วมมือในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในเรื่องการอนุรักษ์และความมั่นคงทางอาหารสู่ความเข้มแข็งของชุมชมในการปกป้องทรัพยากรทางทะเล
- สามารถสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทางสู่สาธารณชน
- เกิดเป็นต้นแบบแนวทางการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำที่อ้างอิงในเชิงรูปธรรมได้


>