กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันโรคนํ้าหนีบ (Caisson Disease) ของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันโรคนํ้าหนีบ (Caisson Disease) ของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่พื้นที่ทะเลทางภาคใต้ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชนั้น ชาวเลประสบปัญหาหลายด้าน เช่น เรื่องไร้สิทธิ์ครอบครองและอาศัยอยู่ในที่ดินชุมชน การถูกไล่ที่จากภาคเอกชน รวมถึงการไม่สามารถออกจับสัตว์น้ำในบริเวณอุทยานแห่งชาติได้ ทำให้ชาวเลหลายพื้นที่ต้องออกเรือไกลและลงน้ำลึกกว่าเดิม ซึ่งนอกจากจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าน้ำมันเรือแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคน้ำนีบ(Caisson Disease) มากขึ้น เนื่องจากต้องดำน้ำในระดับน้ำที่ลึกกว่าเดิม จากข้อมูลกองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ ได้รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากการดำน้ำที่เข้ารับการรักษาในช่วงปี 2525 – 2544 พบว่าผู้ป่วยทุกคนประกอบอาชีพดำน้ำลึก ตั้งแต่ 30 – 40 เมตร ขึ้นไป เพื่อจับสัตว์ทะเลหรือตัดต้นไม้ใต้น้ำ ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ คือ หน้ากากและท่ออากาศขนาดเล็กต่อกับเครื่องอัดอากาศที่ติดตั้งบนเรือ (การดำน้ำเพื่อสันทนาการลึก แค่ 10-20 เมตร โดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ) และมีการดำน้ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งขั้นตอนของการขึ้นจากน้ำเร็วกว่าปกติ จากข้อมูลระบุว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคน้ำหนีบ คือ การดำน้ำลึกกว่า 18 เมตร จากข้อมูลสถิตการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของจังหวัดสตูล ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถิติข้อมูลมีรายงานพบว่าชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี 2552 รพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ สำรวจพบว่า มีชาวประมงเจ็บป่วยจากการดำน้ำ จำวน 24 ราย ขณะที่ล่าสุดข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ปี 2558 พบจำนวนผู้ป่วยลดลงเหลือ จำนวน 9 ราย ก็ตาม ขณะที่พื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่ที่สำคัญซึ่งมีประชาชนประกอบอาชีพประมงหาปลาหรือสัตว์น้ำเช่นเดียวกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะ โดยคุณลักษณะทางประชากรด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นชุมชนชาวเล(ชาวอูรักลาโว้ย) มากกว่าร้อยละ 90 โดยมีการอพยพไปมาระหว่างเกาะบูโหลน เกาะหลีเป๊ะ จากสถิติข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ พ.ศ. 2562 รพ.สต.บ่อเจ็ดลูก มีรายงานพบผู้ป่วยโรคน้ำหนีบบนเกาะบูโหลน จำนวน 1 ราย อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีข้อจำกัดของข้อมูลที่จะบ่งชี้ถึงสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของชาวเลดังกล่าว ด้วยสาเหตุหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะทางประชากรด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ความเชื่อ ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองยังไม่ดีพอ อัตราการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพยังต่ำมากด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางลำบาก และยังไม่มีหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขบนพื้นที่เกาะบูโหลน ที่มีศักยภาพในการตรวจคัดกรองโรคน้ำหนีบเบื้องต้นได้ แต่ด้วยความรุนแรงอาการของโรคน้ำหนีบ มีความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการดูและรักษาอย่างถูกต้อง ประกอบกับกลุ่มชาวเลเกาะบูโหลนซึ่งเป็นคนกลุ่มพื้นเมือง อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การเข้าถึงข้อมูลในการป้องกันตนเองจากภัยสุขภาพของการประกอบอาชีพยังมีอยู่น้อยดังนั้น มีความจำเป็นที่หน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินพัฒนาการเฝ้าระวังสุขภาพของกลุ่มชาวเล จากการประกอบอาชีพดำน้ำลึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการเฝ้าระวังและป้องกันโรคน้ำหนีบของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อช่วยลดสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต และอีกทั้งเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันและสร้างระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมนพื้นที่เกาะบูโหลนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อจัดทำสถานการณ์และพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน

ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงขนาดของปัญหาภัยสุขภาพในกลุ่มชาวเลผู้ประกอบอาชีพประมงและประชาชนกลุ่มเสี่ยง

0.00
2 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในกลุ่มชาวเลและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน

ร้อยละ 70 ของแกนนำชุมชน อสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยหรือคนกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบเบื้องต้นได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 6
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความตระหนักรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในพื้นที่ชุมชนเกาะบูโหลน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความตระหนักรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในพื้นที่ชุมชนเกาะบูโหลน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 100 บ. x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บ.
ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 4 มื้อ x 2 แห่ง = 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 บ. x 8 ชม. = 4,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท รวม25,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ อสม. และแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ อสม. และแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 100บ.x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง= 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 บ. x 8 ชม. = 4,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท
ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท รวม25,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25400.00

กิจกรรมที่ 3 อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงฯโรคน้ำหนีบ

ชื่อกิจกรรม
อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงฯโรคน้ำหนีบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ.x 6 คน x 4 วัน=5,760 บ. ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บ. ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 6 คน x 3 คืน = 14,400 บ. รวม 24,160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 แกนนำชุมชน อสม. และประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ
2 อสม. แกนนำชุมชน มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในกลุ่มชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>