กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะบูโหลน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของภาครัฐและเอกชนได้สร้างมูลค่ามากมายมหาศาลแต่ขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นผลพวงจากการพัฒนาควบคู่ไปด้วย อีกทั้งวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ ชุมชน ได้มีการสะสมปลดปล่อยของเสียประเภทต่างๆจากสถานประกอบการหรือครัวเรือน เช่น ขยะ น้ำเสีย สารเคมี ของเสียอันตราย ออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วัฏจักรทางธรรมชาติทั้งทาง ดิน น้ำ อากาศ จนทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนในวงกว้าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงตามมา สิ่งสำคัญยังส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนหลายๆมิติทั้งทางกาย จิตใจ สังคมและปัญญา
ปัจจุบันปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้มีรายงานเหตุร้องเรียจำนวนไม่น้อยจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหากลิ่นเหม็น ปัญหาของเสียอันตรายและสารเคมี โดยสาเหตุหลักที่สำคัญคือ ชุมชนไม่มีมาตรการป้องกัน หรือมาตรการลดผลกระทบอย่างรัดกุม ทั้งนี้จากรายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจังหวัดสตูล(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตู,2561) ยังคงพบปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ปัญหาการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมตามหลักวิชาการโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลจากพื้นที่ฝั่ง ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เกาะบูโหลนเล และ เกาะบูโหลนดอน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล สอดคล้องกับรายงานวิจัยของคณะวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(2561) พบว่าปัญหาสุขลักษณะและพฤติกรรมสุขภาพไม่ดีของประชาชนในพื้นที่เกาะบูโหลน ได้แก่ การบริโภคน้ำดื่มที่ปนเปื้อน การไม่มีห้องสุขาภายในครัวเรือน การขับถ่ายเรี่ยราดไม่เป็นที่ เช่น บริเวณพื้นดิน พื้นทราย ใต้พุ่มไม้ การไม่สวมรองเท้าขณะเล่นนอกบ้าน การเลี้ยงสัตว์พาหะ จำพวกแพะ แบบปล่อยในพื้นที่อาศัย และการไม่ล้างมือก่อนทานอาหารเป็นเหตุทำให้ได้รับไข่พยาธิที่ปนเปื้อนจากดินและอาหารได้ง่าย โดยเจออัตราความชุกของเชื้อ Salmonella spp. มากที่สุด จากข้อมูลได้บ่งชี้ยืนยันถึงสภาวะทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะของชุมชนในพื้นที่เกาะบูโหลน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญต่อสุขภาพของประชาชนอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐานดังกล่าวซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน รวมถึงชุมชน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด ดังนั้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแก่ อสม. แกนนำชุมชน รวมถึงประชาชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็ง อีกทั้งยังสามารถจัดการความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของชุมชนในทุกมิติได้ น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจสภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์และฐานข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและสภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนและชุมชน ในมิติต่างๆได้แก่ การจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน, ส้วม, การจัดการน้ำเสีย, การจัดการน้ำดื่ม-น้ำใช้ในครัวเรือนและชุมชน, สุขลักษณะของที่พักอาศัย, การจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนและชุมชน รวมถึงการควบคุมป้องกันสัตว์พาหะนำโรค,ข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนทั่วไปในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองอย่างเข้มแข็งด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกาะบูโหลน

ร้อยละ 70 ของแกนนำชุมชน อสม. และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ เกิดความตระหนักและสามารถจัดการตนเองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน เพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/10/2019

กำหนดเสร็จ 29/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนทั่วไปในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนทั่วไปในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ.x 4 คน x 5 วัน=4,800 บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 4 คืน = 12,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 8,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน รวมถึงการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม กับผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน รวมถึงการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม กับผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 100 บ. x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง = 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 บ. x 4 ชม. = 2,400 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย 800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี สำหรับการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี สำหรับการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 100 บ.x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง= 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 บ. x 4 ชม. = 2,400 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท
ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

กิจกรรมที่ 4 แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารรสุขจังหวัดตรัง และอบต.ปากน้ำดำเนินการ implement เชิงรุกในการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารรสุขจังหวัดตรัง และอบต.ปากน้ำดำเนินการ implement เชิงรุกในการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแกนนำและพี่เลี้ยงประเมินส่วนเพิ่มส่วนขาดรายบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ. x 4 คน x 3 วัน=2,880 บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย 800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13280.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมมหกรรมบ้านต้นแบบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมหกรรมบ้านต้นแบบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ. x 8 คน x 3 วัน=5,760 บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย 800 บ. x 8 คน x 2 คืน = 12,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าเงินรางวัล 6,000 บาท (1-3) ค่าตกแต่งสถานที่ 3,000 บาท ค่าป้ายไวนิล 1,000 บาท ค่าตอบแทนกรรมการ 400 บาท x 3 คน = 1,200 บาท ค่ารับรอง(ค่าอาหารว่าง 50 คน x 35 บาท = 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35510.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 120,390.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 แกนนำชุมชน อสม. และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการจัดการตนเองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน
2 ประชาชนในชุมชนบนพื้นที่เกาะบูโหลน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามสุขาภาพจากปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกาย จิต สังคมและปัญญา


>