กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 62-L5312-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 ตุลาคม 2562 - 29 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 17 กันยายน 2562
งบประมาณ 120,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของภาครัฐและเอกชนได้สร้างมูลค่ามากมายมหาศาลแต่ขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นผลพวงจากการพัฒนาควบคู่ไปด้วย อีกทั้งวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ ชุมชน ได้มีการสะสมปลดปล่อยของเสียประเภทต่างๆจากสถานประกอบการหรือครัวเรือน เช่น ขยะ น้ำเสีย สารเคมี ของเสียอันตราย ออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วัฏจักรทางธรรมชาติทั้งทาง ดิน น้ำ อากาศ จนทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนในวงกว้าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงตามมา สิ่งสำคัญยังส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนหลายๆมิติทั้งทางกาย จิตใจ สังคมและปัญญา ปัจจุบันปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้มีรายงานเหตุร้องเรียจำนวนไม่น้อยจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหากลิ่นเหม็น ปัญหาของเสียอันตรายและสารเคมี โดยสาเหตุหลักที่สำคัญคือ ชุมชนไม่มีมาตรการป้องกัน หรือมาตรการลดผลกระทบอย่างรัดกุม ทั้งนี้จากรายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจังหวัดสตูล(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตู,2561) ยังคงพบปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ปัญหาการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมตามหลักวิชาการโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลจากพื้นที่ฝั่ง ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เกาะบูโหลนเล และ เกาะบูโหลนดอน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล สอดคล้องกับรายงานวิจัยของคณะวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(2561) พบว่าปัญหาสุขลักษณะและพฤติกรรมสุขภาพไม่ดีของประชาชนในพื้นที่เกาะบูโหลน ได้แก่ การบริโภคน้ำดื่มที่ปนเปื้อน การไม่มีห้องสุขาภายในครัวเรือน การขับถ่ายเรี่ยราดไม่เป็นที่ เช่น บริเวณพื้นดิน พื้นทราย ใต้พุ่มไม้ การไม่สวมรองเท้าขณะเล่นนอกบ้าน การเลี้ยงสัตว์พาหะ จำพวกแพะ แบบปล่อยในพื้นที่อาศัย และการไม่ล้างมือก่อนทานอาหารเป็นเหตุทำให้ได้รับไข่พยาธิที่ปนเปื้อนจากดินและอาหารได้ง่าย โดยเจออัตราความชุกของเชื้อ Salmonella spp. มากที่สุด จากข้อมูลได้บ่งชี้ยืนยันถึงสภาวะทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะของชุมชนในพื้นที่เกาะบูโหลน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญต่อสุขภาพของประชาชนอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐานดังกล่าวซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน รวมถึงชุมชน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด ดังนั้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแก่ อสม. แกนนำชุมชน รวมถึงประชาชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็ง อีกทั้งยังสามารถจัดการความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของชุมชนในทุกมิติได้ น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจสภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์และฐานข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและสภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนและชุมชน ในมิติต่างๆได้แก่ การจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน, ส้วม, การจัดการน้ำเสีย, การจัดการน้ำดื่ม-น้ำใช้ในครัวเรือนและชุมชน, สุขลักษณะของที่พักอาศัย, การจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนและชุมชน รวมถึงการควบคุมป้องกันสัตว์พาหะนำโรค,ข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนทั่วไปในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองอย่างเข้มแข็งด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกาะบูโหลน

ร้อยละ 70 ของแกนนำชุมชน อสม. และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ เกิดความตระหนักและสามารถจัดการตนเองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน เพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 120,390.00 0 0.00
??/??/???? ดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสิ่งคุกคามสุขภาพ(Health Hazard) ในกลุ่มอาชีพเสี่ยงและประชาชนทั่วไปในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน 0 25,600.00 -
??/??/???? จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน รวมถึงการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม กับผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 0 23,000.00 -
??/??/???? อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี สำหรับการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน 0 23,000.00 -
??/??/???? แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารรสุขจังหวัดตรัง และอบต.ปากน้ำดำเนินการ implement เชิงรุกในการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน 0 13,280.00 -
??/??/???? กิจกรรมมหกรรมบ้านต้นแบบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 0 35,510.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แกนนำชุมชน อสม. และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการจัดการตนเองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน
2 ประชาชนในชุมชนบนพื้นที่เกาะบูโหลน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามสุขาภาพจากปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกาย จิต สังคมและปัญญา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 00:00 น.