กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กลางา ยุคใหม่ สมวัยสมส่วน ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7

1.นายเปารี ด่าโอะ
2.นายหมะยูไนซ์ หวันหมาน
3.นางพัฒนา มะแหละ
4.นางอารีเยาะ หะยอ
5.นางนุรหานาตี มูสอ

อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารเบี่ยงเบนไปจากปกติ ทั้งการขาดสารอาหารและการได้รับสารอาหารเกิน
เด็กปฐมวัย (อายุ 0 – 72 เดือน) เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมากทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารอาจเกิดจากการได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ หรือเนื่องจากความบกพร่องจากการกิน การย่อย การดูดซึม ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารทำให้เด็กมีการพัฒนาการสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้า สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งหัวใจ ตับ ไตและกล้ามเนื้อ ส่วนในรายที่ได้รับอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานส่วนเกินก็จะแปลงไปเป็นโคเลสเตอรอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านลางา อ.จะนะ จ.สงขลา งวดที่ 2 (ม.ค-มี.ค) ปี 2560 พบว่าเด็กชั่งน้ำหนักทั้งหมด 40 คน มีภาวะทุพโภชนาการ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 (ภาวะโภชนาการต่ำ 9 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 3 คน) งวดที่ 2 (ม.ค-มี.ค) ปี 2561 เด็กชั่งน้ำหนักทั้งหมด 41 คน มีภาวะทุพโภชนการ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 41.46 (ภาวะโภชนการต่ำ 7 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 10 คน) ซึ่งจะเห็นว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนการเพิ่มขึ้นส่วนในปีงบประมาณ 2562 เดือนตุลาคม เด็กอายุ 0-72 เดือน ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 25 คนมีภาวะทุพโภชนาการ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 32 (ภาวะโภชนาการต่ำ 4 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 4 คน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เด็กอายุ 0-72 เดือน มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกิน ร้อยละ 30

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน รวมทั้งเสริมนมจืดให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน รวมทั้งเสริมนมจืดให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสื่อสุขศึกษาประชาสัมพันธ์และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆเป็นเงิน 800 บาท -ค่าอาหารกลางวันอบรมผู้ปกครองมื้อละ 70 บาท (20 คน x 70 บาท)เป็นเงิน 1,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอบรมผู้ปกครองมื้อละ 25 บาท
(20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ) เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่านมจืดสำหรับเด็ก 6 – 72 เดือน ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ วันละ 1 กล่อง
(20 คน x 10 บาท x 30 วัน) เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
-เด็ก 0 – 72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขจนมีน้ำหนักส่วนสูงและรูปร่างอยู่ใน เกณฑ์ปกติ


>