โครงการเด็กลางา ยุคใหม่ สมวัยสมส่วน ประจำปีงบประมาณ 2562
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กลางา ยุคใหม่ สมวัยสมส่วน ประจำปีงบประมาณ 2562 |
รหัสโครงการ | 62-L5184-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2562 |
งบประมาณ | 12,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเปารี ด่าโอะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารเบี่ยงเบนไปจากปกติ ทั้งการขาดสารอาหารและการได้รับสารอาหารเกิน เด็กปฐมวัย (อายุ 0 – 72 เดือน) เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมากทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารอาจเกิดจากการได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ หรือเนื่องจากความบกพร่องจากการกิน การย่อย การดูดซึม ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารทำให้เด็กมีการพัฒนาการสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้า สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งหัวใจ ตับ ไตและกล้ามเนื้อ ส่วนในรายที่ได้รับอาหารมากเกินความต้องการ พลังงานส่วนเกินก็จะแปลงไปเป็นโคเลสเตอรอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านลางา อ.จะนะ จ.สงขลา งวดที่ 2 (ม.ค-มี.ค) ปี 2560 พบว่าเด็กชั่งน้ำหนักทั้งหมด 40 คน มีภาวะทุพโภชนาการ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 (ภาวะโภชนาการต่ำ 9 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 3 คน) งวดที่ 2 (ม.ค-มี.ค) ปี 2561 เด็กชั่งน้ำหนักทั้งหมด 41 คน มีภาวะทุพโภชนการ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 41.46 (ภาวะโภชนการต่ำ 7 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 10 คน) ซึ่งจะเห็นว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนการเพิ่มขึ้นส่วนในปีงบประมาณ 2562 เดือนตุลาคม เด็กอายุ 0-72 เดือน ชั่งน้ำหนักทั้งหมด 25 คนมีภาวะทุพโภชนาการ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 32 (ภาวะโภชนาการต่ำ 4 คน,ภาวะโภชนาการเกิน 4 คน)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ เด็กอายุ 0-72 เดือน มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกิน ร้อยละ 30 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 ก.ย. 62 | จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน รวมทั้งเสริมนมจืดให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ | 30 | 12,200.00 | ✔ | 12,200.00 | |
รวม | 30 | 12,200.00 | 1 | 12,200.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย 2.ประชุมปรึกษาในการจัดทำโครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย 3.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 4.ประชุมชี้แจง/ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องและติดต่อวิทยากร 5.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ เด็กอายุ 0-72 เดือน ในพื้นที่ทุก 3 เดือน พร้อมทั้งบันทึกกราฟการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและแจ้งผลแก่ผู้ปกครองทราบ กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ-สาธิตการบันทึกการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน พร้อมให้ผู้ปกครองมีการสาธิตย้อนกลับ กิจกรรมที่ 4 แจกนมจืดแก่เด็ก 6-72 เดือน ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์/ค่อนข้างน้อย,รูปร่างเตี้ย,ผอม/ค่อนข้างผอม) ดื่มวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน (ไม่แจกนมในเด็กต่ำกว่า 6 เดือน เพราะเด็กแรกเกิด 6 เดือนจะต้องกินนมแม่อย่างเดียว) กิจกรรมที่ 5 สรุปวิเคราะห์และประเมินผลโครงการ
-ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 72 เดือน มีความรู้เรื่องโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ -เด็ก 0 – 72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขจนมีน้ำหนักส่วนสูงและรูปร่างอยู่ใน เกณฑ์ปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2562 00:00 น.