กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองและผ่าตัดตาต้อกระจก และแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา อบต.ควนโพธิ์ ปี 67

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองและผ่าตัดตาต้อกระจก และแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา อบต.ควนโพธิ์ ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

องค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1 ร้อยละของผู้สุงอายุได้รับการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา(ต้อกระจก)

 

10.00
2 2 ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองปัญหาทางสายตายาว

 

10.00
3 3 ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตาด้วยการผ่าตัดตาต้อกระจก

 

30.00

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีการลดลงของอัตราการเกิดและ การตาย ทำให้ภาวะประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนสูงขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุประมาณร้อย ละ 10.86 ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งในด้านสังคมและสุขภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ทำได้ และถือว่ามีปัญหาภาวะทุพพลภาพระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ร่างกาย สภาพสายตา และออ่นๆ ในปัจจุบันนี้พบว่ามีผู้ที่มีปัญหาทางสายตาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งทางานหรออใช้สายตาอยู่กับ หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ หรือเกือบตลอดทั้งวัน กรณีนี้ผู้ที่ประสบปัญหาอาจจะมีอาการตาพร่ามัว แสบตา เคืองตา ปวดเบ้าตา และจ้องที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาจจะมีน้ำตาไหลออกมาบ้าง อาการเหล่านี้ก็ ล้วนแต่เป็นปัญหาทางสายตาที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่นกัน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545ได้เน้นหลักการสร้างเสริมสุขภาพการรักษา อีกทั้งสนับสนุนการสร้างแนวนโยบายให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน รวมถึงให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเสริมสร้างสุขภาพและได้ช่วยเหลือคนในอบต.ควนโพธิ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาทางสายตาให้กับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาทุกเพศทุกวัย โรงพยาบาลท่าแพ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโพธิ์(บ้านใหม่)ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญใน เรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการตรวจประเมินคัดกรอง ให้กับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาขึ้นเพื่อเอื้อต่อการให้บริการแก่ประชาชนใน ตำบลควนโพธิ์โดยวิธีการคัดกรอง ค้นหา และเลือกสรรผู้ที่มีปัญหาทางสายตาตาม ความเหมาะสมเพื่อให้ได้รับ บริการทางการแพทย์อย่างครอบคลุม และสามารถแก้ไขปัญหาทางสายตาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจความผิดปกติทางสายตาในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้ารับการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา

90.00 90.00
2 2 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจโรคทางสายตาในผู้สูงอายุ

ร้อยละผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองโรคตาต้อกระจก

90.00 90.00
3 3 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการลอกตาต้อกระจกในผู้สูงอายุที่มีโรคทางสายตา

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการลอกตาต้อกระจก

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์เพื่อการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาและโรคทางสายตาผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เพื่อการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาและโรคทางสายตาผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์เพื่อการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาและโรคทางสายตาผู้สูงอายุประชาสัมพันธ์กำหนดวันเข้ารับการคัดกรองเบื้องต้นความผิดปกติทางสายตา โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผ่านทางรถแห่ประชาสัมพันธ์ จำนวน 7 วัน ทางหอกระจายข่าวหมู่บ้านเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย

ค่าใช้จ่าย

ค่าไวนิลขนาด 3x4 เมตร จำนวน 4 ผืนราคา ตร.ม.ละ 150 บาทคิดเป็นเงิน 7,200 บาท
ค่าจ้างเหมาวิ่งประชาสัมพันธ์ จำนวน 7 วันๆละ 1,000 บาท คิดเป็นเงิน7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายทราบการเข้ารับบริการตรวจความผิดปกติทางสายตาและโรคทางสายตา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองความผิดปกติทางสายตาเบื้องต้นโดย อสม.และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความผิดปกติทางสายตาเบื้องต้นโดย อสม.และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองเบื้องต้นเพื่อคัดกรองปัญหาสายตายาว และภาวะโรคตาต้อ(ตรวจภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน) พร้อมมีการบรรยายให้ความรู้การดูแลดวงตา โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. นัดตรวจผู้สูงอายุ จำนวน 2 วัน หรือการนัดคัดกรองในการประชุมประจำเดือนชมรมผู้สูงอายุตำบล ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 300 คน x 25 บาทคิดเป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าป้าย จำนวน 2 ผืน ขนาด 2x4 เมตร ตร.ม.ละ 150 บาท 2,400 บาท 3.ค่าวิทยากร 600 บาทต่อ ชม.x 2 ชม. คิดเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองความผิดปกติทางสาย และภาวะโรคตาต้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11100.00

กิจกรรมที่ 3 การคัดกรองยืนยันภาวะความดันลูกตา(VA) และแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา(สายตายาว)

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองยืนยันภาวะความดันลูกตา(VA) และแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา(สายตายาว)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พยาบาลวิชาชีพ หรือจักษุแพทย์ ตรวจ VA เพื่อยืนยันความผิดปกติทางตา และร้านแว่นตรวจสายตายาว ในผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่าย 1.ค่าบริการทางการแพทย์ตรวจ VAจำนวน 100 คน x 250 บาท คิดเป็นเงิน 25,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท คิดเป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าตัดแว่นสายตาผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน x 200 บาทคิดเป็นเงิน 16,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจ VA 2. ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43500.00

กิจกรรมที่ 4 เพิ่มการเข้าตรวจยืนยันตาต้อกระจก โดย โรงพยาบาล

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มการเข้าตรวจยืนยันตาต้อกระจก โดย โรงพยาบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติหรือโรคทางสายตา เข้ารับการตรวจยืนยัน โดยทีมแพทย์โรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 70 บาท คิดเป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าเหมารถจัดส่ง จำนวน 2 คัน ๆละ1,200 คิดเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติหรือโรคทางสายตาได้รับการตรวจยืนยันแล้ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 5 การเข้ารับการลอกตาต้อกระจก

ชื่อกิจกรรม
การเข้ารับการลอกตาต้อกระจก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจยืนยันต้องลอกต้อ เข้ารับการลอกต้อโดย ทีมแพทย์โรงพยาบาล..... ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 70 บาท คิดเป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าเหมารถจัดส่ง จำนวน 2 คันๆละ1,200 คิดเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางสายตา และโรคทางสายตา
8.2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าถึงการผ่าตัดตาต้อกระจก
8.3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตา


>