กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขภาพดี มีอาหารเช้าโรงเรียนชุมชนวัดปลักชะเมา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนชุมชนวัดปลักชะเมา

1. นางดาราสิทธิเดชากุล0819599552
2. นางอตินุชโชติกรณ์0878971813
3. นางสาวกชพรมุสิกะรักษ์ 0910411229
4. นางสาวกมลชนกนิลสุวรรณ์ 0883988512
5. นางสาวซุฮัยเราะหีมมุเด็น 0878990546

โรงเรียนชุมชนวัดปลักชะเมา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละ5ของเด็กนักเรียนมีภาวะอ้วน

5.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

 

50.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ชอบทานผัก

 

80.00
4 ร้อยละของผู้ปกครองชุมชนขาดความรู้เข้าใจเกี่ยวกับหลักโภชนาการ

 

50.00

การพัฒนาชาติที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก การรับประทานอาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะวัยเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเรียนเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆหากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเรา การเจริญเติบโตในวัยเรียน จึงเป็นวัยที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมาย เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็ก ๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้า และจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนม จากร้านในหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก
จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนชุมชนวัดปลักชะเมาจึงจัดทำโครงการสุขภาพดี มีอาหารเช้า เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนชุมชนวัดปลักชะเมาได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเด็กที่มีภาวะโภชนาการตำ่กว่าเกณฑ์

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง

80.00 100.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

ร้อยละ 80 ชองนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น

0.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการอาหารในนักเรียน

ร้อยละ 100 ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการอาหารในนักเรียน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานเด็กที่มีภาวะโภชนาการในโรงเรียนและข้อมูลผักปลอดสารพิษในชุมชน งบประมาณในการดำเนินการ 1ค่าอาหารว่างคณะทำงาน 10 คน*25 บาท =250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมวางแผน/ดำเนินการตามแผน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจผักปลอดสารพิษจากแหล่งชุมชนใกล้โรงเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษ โรงเรียนได้รับผักปลอดสารพิษจากชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา แม่ครัวและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา แม่ครัวและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา แม่ครัวและผู้ปกครอง ในเรื่องภาวะโภชาการ สารอาหารครบ 5 หมู่ งบประมาณ
-ค่าไวนิล 500 -ค่าอาหารว่าง 150คน*25บาท = 3750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา แม่ครัวและผู้ปกครอง ที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชาการ สารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น
2. นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
3. โรงเรียนมีภาวะทุพโภชนาการลดลง


>