กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพดี วิถีพอเพียง โรงเรียนบ้านโมย ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านโมย

1.นางศิริวรรณ จิตรอักษร โทร 098-0147175
2.นายดนรอหมาน เจะหมัน โทร 089-2285218

โรงเรียนบ้านโมย และพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน ม.6 ม.7 บ้านโมย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และในยุคปัจจุบันปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค คือ การบริโภคพืชผักที่มีสารปนเปื้อน มีสารพิษตกค้างอยู่ในผลผลิตเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดเนื่องจากพืชผักเป็นพืชอายุสั้น เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่องและมีการปลูกทั่วประเทศตลอดทั้งปีทำให้มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกต้อง เกษตรกรจำนวนไม่น้อยได้นำวัตถุมีพิษ(สารเคมี)มาใช้เพื่อเร่งปริมาณผลผลิตเพื่อให้ได้จำนวนมากขึ้นบางครั้งเกษตรกรใช้สารเคมีเกินคำแนะนำและเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายก่อนระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมของประเทศ เช่นมีสารเคมีตกข้างในร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทอย่างร้ายแรงร่างกายอ่อนแอ และทรุดโทรม อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
ดังนั้นการปลูกฝังเด็กให้รู้จักหลีกเลี่ยงการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมีคือการปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือนโดยไร้สารเคมี และการปลูกค่านิยมในการปริโภคผักที่ปลอดสารพิษตั้งแต่ยังเล็กนั้น จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณธรรม เป็นผู้ที่ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีต่อผู้บริโภคและประเทศชาติหรือเป็นผู้บริโภค ที่ดีรู้จักสังเกตการเลือกรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ ซึ่งทางโรงเรียนบ้านโมยได้เล็งเห็นความสำคัญและสามารถน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตจริง จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อชีวิตพอเพียง ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและฝึกทักษะอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 75
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 01/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและที่ปรึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและที่ปรึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและที่ปรึกษา กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามแผนงาน ตลอดจนประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่าง /เครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1050 บาท
2. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน30ชุด ชุดละ 15 บาท เป็นจำนวนเงิน 450บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและที่ปรึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการโครงการ
  2. เกิดแผนและแนวทางการเดินงานโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการทำการเกษตรปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการทำการเกษตรปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการทำการเกษตรปลอดสารพิษ จำนวน 1 วัน
  2. สาธิต และการปฏิบัติจริง ได้แก่ การทำแปลงเกษตร การเตรียมดิน การบำรุงดูแลโดยใช้ปุ๋ย ชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ และการทำยากำจัดแมลงโดยวิธีที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ จำนวน 1 วัน
    ค่าใช้จ่าย
    • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินการ 75 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน11,520บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินการ 75 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 4 มื้อเป็นเงิน10,500บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน10 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 6,000บาท
    • ค่าป้ายโครงการ และค่าวัสดุจัดการอบรม เป็นเงิน 3,330บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 73 เล่มๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 3,650บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการทำการเกษตรปลอดสารพิษ
  2. เกิดกระบวนการการเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตัวเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

กิจกรรมที่ 3 แบ่งกลุ่มนักเรียน ให้ร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
แบ่งกลุ่มนักเรียน ให้ร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษ ลงมือปฏิบัติในพื้นจริง ค่าใช้จ่าย - ค่าไถปรับพื้นที่ปลูกผัก (ที่นาของชุมชน 1 แปลง)เป็นเงิน 3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถลงมือปลูกผักเองได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ
2. นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการปลูกพืชผักสวนครัวและสามารถนำความรู้ไปต่อยอดที่บ้านของนักเรียนได้
3. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง สถิติการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง


>