กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรปลอดภัยเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านป็อง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านป็อง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

1. นายประยูร เอียดปราบ โทร. 089-2935228
2. นางสุนีย์ คงนุ้ย

โรงเรียนบ้านป็อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่บริโภคผักอย่างน้อยวันละ 400 กรัม

ข้อมูลการสังเกตการรับประทานอาหาร พบว่า นักเรียนไม่ค่อยรับประทานผัก มักจะเหลือทิ้งไว้ในจาน ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการเลียนแบบจากสิ่งรอบตัว เช่น พ่อแม่ และเพื่อนไม่กินผัก ขาดแรงจูงใจในการรับประทานผัก หรือนักเรียนอาจมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับผัก เช่น มีอาการสำลัก ติดคอ อาเจียนแล้วมีผักที่กินเข้าไปออกมาให้เห็น จึงทำให้มีนักเรียนไม่ชอบทานผัก จำนวน 50 คน

50.00
2 สัดส่วนวัตถุดิบจากแปลงเกษตรของโรงเรียนเพื่อประกอบเป็นอาหารกลางวัน

 

5.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนของนักเรียนที่บริโภคผักอย่างน้อยวันละ 400 กรัม

จำนวนของนักเรียนที่บริโภคผักอย่างน้อยวันละ400 กรัมเพิ่มขึ้น

50.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มสัดส่วนวัตถุดิบปลอดภัยเพื่ออาหารกลางวัน

ร้อยละของวัตถุดิบกจากแปลงเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวัน

5.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 61
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุุมชี้แจงคณะทำงานสถานศึกษาเพื่อหาแนวทางดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุุมชี้แจงคณะทำงานสถานศึกษาเพื่อหาแนวทางดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15คน เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระดมความคิดเห็นตลอดจนแนวทางการดำเนินการจำนวนครึ่งวัน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15คนx25บาท เป็นเงิน375บาท
2. ค่าเอกสารประกอบการประชุม 15 ชุดๆ ละ10 บาท เป็นเงิน150บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานเข้าใจวิธีการดำเนินโครงการ
2.เกิดแนวทางในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมและให้นักเรียนออกแบบเมนูผักเพื่อส่งเสริมการรับประทานผัก

ชื่อกิจกรรม
อบรมและให้นักเรียนออกแบบเมนูผักเพื่อส่งเสริมการรับประทานผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้นักเรียนออกแบบเมนูที่ส่งเสริมการบริโภคผักและบูรณาการกับการเรียนการสอนความสำคัญของการรับประทานผักให้แก่นักเรียน จำนวน 100คน จำนวนครึ่งวัน และฝึกการประกอบอาหารตามเมนูที่ออกแบบไว้
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100คนx25บาทเป็นเงิน2500บาท
2.ค่าเอกสารประกอบการประชุม 100 ชุดๆละ10เป็นเงิน1000บาท
3.ค่าเครื่องปรุงและวัตถุดิบบางส่วนเพื่อปรุงอาหารเมนูผัก เป็นเงิน 1500 บาทต่อกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการรับประทานผัก
  2. มีทักษะในการประกอบเมนูอาหารตามความต้องการของนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกผักปลอดภัยเพื่อเป็นวัตถุดิบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกผักปลอดภัยเพื่อเป็นวัตถุดิบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จัดเตรียมพื้นที่ปลูกผักโดยปลูกผักแตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหาร โดยเน้นการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันในแต่ละสัปดาห์
ค่าใช้จ่าย
1. เมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 80 ซอง x 25 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยอินทรีย์เป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีแปลงผักปลอดสารพิษเป็นรายบุคคลตามความรับผิดชอบ
  2. มีปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการปลูกผัก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 4 คนเก่ง ต้องกินผัก

ชื่อกิจกรรม
คนเก่ง ต้องกินผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ในมื้ออาหารกลางวันของทุกวัน ครูผู้ดูแลนักเรียนรับประทานอาหารประจำวัน ตรวจสอบว่านักเรียนคนใดบ้างที่รับประทานผัก และรับประทานอาหารจนหมดจาน แล้วบันทึกในสมุดบันทึก คนเก่ง ต้องกินผักโดยในสมุดบันทึกจะเป็นการสะสมคะแนนการรับประทานผักของแต่ละวัน แล้วในหนึ่งเดือนจะมีการสรุปผล เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่่รับประทานผักมากที่สุดประจำเดือนและรับของรางวัล
ค่าใช้จ่าย
1. สมุดบันทึกคนเก่ง ต้องกินผัก จำนวน 100 เล่ม x 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
2. ของรางวัล จำนวน 8 ชิ้น x 100 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในแต่ละเดือนจะมีนักเรียนที่ได้รับรางวัล คนเก่ง ต้องกินผัก ตลอดการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 5 ผักดี มีประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ผักดี มีประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดป้ายนิเทศให้ความรู้ เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานผัก เพื่อรณรงค์ให้นักเรียนหันมารับประทานผักให้มากขึ้น
ค่าใช้จ่าย
1. กระดาษสำหรับทำ สื่อ เอกสารให้ความรู้ เป็นเงิน 250 บาท
2. อุปกรณ์สำหรับตกแต่งป้ายนิเทศให้มีความน่าสนใจ เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายนิเทศ ผักดี มีประโยชน์ เพื่อรณรงค์ให้นักเรียนหันมากินผักให้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนของนักเรียนที่บริโภคผักอย่างน้อยวันละ400 กรัมเพิ่มขึ้น
2. มีทักษะในการประกอบอาหารที่เมนูใช้ผักเป็นวัตถุดิบ
3. มีทักษะในการปลูกผัก
4. ,ทักษะในการทำปุ๋ยอินทรีย์


>