กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปลักหนู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักพื้นบ้าน ปลอดสาร เพื่อโภชนาการสมวัยโรงเรียนบ้านสม็อง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปลักหนู

โรงเรียนบ้านสม็อง

นายธีศิษฏ์ คงจันทร์ (089-5961996)
นายเกษม หวังแดง (081-0985508)
นางศิริกร เอียดแอ (084-5815809)
นางสาวฝาตีเหม๊าะ ทองตำ (086-9595288)
นางสาวกุลนิษฐ์ ปิ่นเพชร (089-0842984)

โรงเรียนบ้านสม็อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่รับประทานผักอย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

50.00
2 สัดส่วนวัตถุดิบที่ซื้อมาโดยไม่ทราบแหล่งผลิตต่อผลผลิตที่ได้จากแปลงเกษตรของโรงเรียน

 

100.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเนื่องจากผู้ปกครองมีอาชีพกรีดยางไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกรับประทานในตอนเช้า

จากการสำรวจข้อมูลการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนโรงเรียนบ้านสม็อง พบว่า นักเรียน จำนวน 70 คน จากทั้งหมด 139 คน คิดเป็นร้อยละ 50.36 ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า และจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 28.78 ที่รับประทานอาหารเช้าที่ไม่ได้คุณภาพตามหลักโภชนาการ

50.00
4 ร้อยละของนักเรียนที่มีทีภาวะทุพโภชนาการ

จากการคัดกรองสุขภาพนักเรียนโดยการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 19 คน จากนักเรียนทั้งหมด 139 คน คิดเป็นร้อยละ 13.87

13.87

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนของนักเรียนที่รับประทานผักอย่างน้อยวันละ 400 กรัม

จำนวนของนักเรียนที่รับประทานผักอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

50.00 80.00
2 เพื่อลดสัดส่วนวัตถุดิบที่ซื้อมาโดยไม่ทราบแหล่งผลิตต่อผลผลิตที่ได้จากแปลงเกษตรของโรงเรียน

สัดส่วนวัตถุดิบที่ซื้อมาโดยไม่ทราบแหล่งผลิตต่อผลผลิตที่ได้จากแปลงเกษตรของโรงเรียนลดลง

100.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารเช้า

ร้อยละนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารเช้าเพิ่มขึ้น

50.00 80.00
4 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีทีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละของนักเรียนที่มีทีภาวะทุพโภชนาการลดลง

70.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 139
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2020

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการจำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1. บุคลากรใน รร. จำนวน 10 คน
2. กรรมการสถานศึกษา ศึกษา 3 คน
3. ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน
4. นักเรียน จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเอกสารจำนวน 20 ชุดชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 ชุดชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 ตารางเมตร จำนวน 1 ผืน ราคา 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
  2. เกิดแผนและแนวทางการดำเนินงานโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1150.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 120 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าเอกสารจำนวน 120 ชุดชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 120 ชุด ชุดละ25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการแบ่งฐานการเรียนรู้การปลูกผักจำนวน 3 ฐาน
1. ฐานการเรียนรู้การอนุรักษ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพร
- ต้นจิกจำนวน 20 ต้น ต้นละ 10 บาท
- ต้นผักหวาน จำนวน 20 ต้น ต้นละ 10 บาท
- พันธ์ผักกูด จำนวน 50 ต้น ต้นละ 2 บาท
- ต้นมันปู จำนวน 10 ต้น ต้นละ 20 บาท
- มะม่วงหิมพานต์จำนวน 10 ต้น ต้นละ 20 บาท
- ต้นตะไคร้ จำนวน 50 ต้น ต้นละ 1.50 บาท
- ข่า จำนวน 50 ต้น ต้นละ 1.50 บาท
2. ฐานการเรียนรู้พืชผักอายุสั้น
- ถั่วพู จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- ผักบุ้ง จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- ผักคะน้า จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- ผักกาด จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
3. ฐานการเรียนรู้ผักประเภทเถาวัลย์
- แตงกวา จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- ถั่วผักยาว จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- ฟักเขียว จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
- บวบ จำนวน 1 กระป๋อง กระป๋องละ 170 บาท
4. ฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า
- เชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 200 ก้อนก้อนละ 10 บาท
5. มูลวัว จำนวน 10 กระสอบ กระสอบละ 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดฐานและแปลงผักพื้นบ้าน ผักอายุสั้น ผักประเภทเถาวัลย์และเห็ดนางฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4910.00

กิจกรรมที่ 4 แผงผักปลอดสาร แบ่งปันอาหารปลอดภัย สู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
แผงผักปลอดสาร แบ่งปันอาหารปลอดภัย สู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.5 ตารางเมตร จำนวน 2 ผืน ราคาผืนละ 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแผงจำหน่ายผักปลอดสารพิษ แก่ผู้ปกครองและคนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งกองทุนผักปลอดสารบ้านสม็อง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งกองทุนผักปลอดสารบ้านสม็อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการเพื่อจัดตั้งกองทุนผักปลอดสารบ้านสม็องเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1. บุคลากรใน รร. จำนวน 10 คน
2. กรรมการสถานศึกษา ศึกษา 3 คน
3. ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน
4. นักเรียน จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเอกสารจำนวน 20 ชุด ชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกองทุนผักปลอดสารบ้านสม็อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 6 ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปุ๋ยหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูที่รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้น ป.4 - ป.6 จำนวน 39 คน

2.เชิญชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการปุ๋ยหมักชีวภาพมาให้ความรู้ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

งบประมาณที่ใช้

ถังพลาสติกสำหรับทำปุ๋ยหมัก ราคาใบละ 1,200 บาท x 3 ใบ เป็นเงิน 3,600 บาท

หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ลิตรละ 150 บาท  x 20 ลิตร  รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 7 อาหารเช้าปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อาหารเช้าปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทุกวันศุกร์จะให้นักเรียนนำผลผลิตภายในครัวเรือนทำอาหารเช้า เป็นเวลา 6 เดือน

วัสดุในการทำอาหารเช่น เช่นน้ำปลา น้ำตาล ซอสปรุงรส ครั้งละ 500 บาท x 4 อาทิตย์ เป็นเวลา 6 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้ทานอาหารเช้าที่ปลอดสารพิษจากชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 8 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทำแบบสอบถามพึงพอใจ

  • สมุดบันทึกสุขภาพของนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในโรงเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ
2. เกิดฐานการเรียนรู้และแปลงผักพื้นบ้าน ผักอายุสั้น ผักประเภทเถาวัลย์และเห็ดนางฟ้า
3. นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีประกอบอาหารที่ปลอดภัย


>