กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

รพ.สต.บ้านนาโอน

รพ.สต.บ้านนาโอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

20.00

ปัจจุบันด้วยภาวะที่เร่งรีบ ทาให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ประกอบกับสื่อโฆษณาในยุคปัจจุบัน ที่คนทุกวัยเข้าถึงได้ง่ายผ่านสื่อต่าง ๆ ก่อให้เกิดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทาให้เกิดภาวะอ้วน หรือโรคหลาย ๆ โรคที่เป็นปัญหาของคนในชุมชนเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งหันมาสนใจในเรื่องของภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย การใช้อย่างเหมาะสม มักใช้จากคำบอกเล่าที่ฟังต่อกันมา ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลนั้นข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลวิชาการ ซึ่งยากต่อการเข้าใจของประชาชนทั่วไปดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโอน จึงเห็นว่าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน กลุ่มผู้มีความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ถึงปัญหาด้านสุขภาพที่พบ ความต้องการในเรื่องความรู้ด้านสมุนไพร จากนั้นนำมาจัดเป็นหลักสูตรประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กับชุมชน น่าจะก่อประโยชน์ในการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ด้านสมุนไพรอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาต่อยอดสำหรับการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง ในปี ๒๕๖2 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชน
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
30.00 100.00
2 1. ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีความรู้ และสามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  1. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วย สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
20.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 102
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คนๆละ 50 บาท x 1 วัน             เป็นเงิน  2,600  บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 52 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน             เป็นเงิน  2,600  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชน
  2. ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมหมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมหมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕0 คนๆละ 50 บาท x 1 วัน             เป็นเงิน  2,500  บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน ๕0 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน             เป็นเงิน  2,500  บาท
  • ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน                   เป็นเงิน  1,000  บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์จัดทำกิจกรรม (กะละมังแช่เท้า)จำนวน 50 ใบๆละ 30 บาท      เป็นเงิน  1,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาต่อยอดสำหรับการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการพึ่งตนเอง
  2. สามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วย สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ภาคีเครือข่ายสุขภาพและตัวแทนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการใช้สมุนไพร ร้อยละ ๘๐
2. หมอพื้นบ้านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรในชุมชน มีการประชุม พัฒนารูปแบบงานบริการวิชาการและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
3. ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐
4. สถานบริการสาธารณสุขและชุมชนมีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย ร้อยละ ๓๐
5. ชุมชนและภาคีเครือข่ายสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อมีการเจ็บป่วยสามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘2


>