กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อสุขภาพชุมชนเขารูปช้างโชน1

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

กลุมชุมชนเขารูปช้างโซน1

1.นางสมศรี คล้ายดวงโทร : 083-1849737

ชุมชนเขารูปช้างโซน 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

10.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

 

25.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

60.00

เขารูปช้างโซน 1 มีจำนวน 129 ครัวเรือน ซื้อผักจากตลาด ร้อยละ 80 ซึ่งเป็นผักที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน เช่น ท้องเสีย เป็นมะเร็งลำไส้ เบาหวาน ความดัน ปวดข้อปวดกระดูก สมาชิกกลุ่มได้ประชุมแล้วเห็นว่าการปลูกผักรับประทานเองจะทำให้ได้ผักที่ปลอดภัย สมาชิกได้ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในชุมชน เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยใช้พื้นที่บริเวณหน้าบ้านของสมาชิกชุมชนเป็นผักแขวน และผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

10.00 30.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

60.00 40.00
3 เพิ่มครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

25.00 35.00
4 เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ 400 กรัม ต่อวันต่อคน

ร้อยละ ของสมาชิกในชุมชน ที่บริโภคผัก 400 กรัมต่อวัน

10.00 30.00

1. เพิ่มพฤติกรรมการบริโภคผักที่ปลอดภัย
2. ลดขยะตกค้างในครัวเรือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้มีประสบการณ์การปลูกผัก 2

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสมาชิกเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพร้อมกับการอบรมการปลูกผักโดยผู้มีประสบการณ์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสมาชิกเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพร้อมกับการอบรมการปลูกผักโดยผู้มีประสบการณ์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มีการชี้แจงการดำเนินโครงการแก่สมาชิก จำนวน 2 ชั่วโมง แก่สมาชิกจำนวน 20 คน และ มีการระดมแนวทางการทำงานโครงการ ช่วงบ่ายมีการฝึกอบรมการปลูกผักในพื้นที่จำกัด โดย ผู้มีประสบการณ์ ณ ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน เขารูปช้างโซน 1
  2. ค่าใช้จ่าย
    2.1) อาหารว่าง25 บาท x 2 มื้อ x 20 คน = 1,000 บาท
    2.2) อาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 20 คน = 1,000 บาท
    2.3) ค่าวิทยากร 300 บาท x 3 ชั่วโมง x 2 คน = 1,800 บาท
    2.4) อุปกรณ์สำหรับปลูกผักและทำปุ๋ยเพื่อฝึกปฏิบัติ
    • ถังหมัก น้ำอีเอ็ม น้ำตาลทรายแดง เมล็ดผัก= 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการและมีการเสนอแนะเพิ่มเติมวิธีการปลูกผัก
  2. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 2 เมนูผักเพื่อสุขภาพและรับประทานอาหารผักร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เมนูผักเพื่อสุขภาพและรับประทานอาหารผักร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำผักที่ได้จากการปลูกหน้าบ้าน มาร่วมกันพัฒนาเมนูผักที่เด็กๆ ชอบ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกผักปลอดสารร่วมกัน โดยเมนูผักให้เด็กในชุมชนตัดสินด้วยวิธีการชิม และถ่ายทอดประสบการณ์ครอบครัวที่ทำให้ลูกกินผักได้
ค่าใช้จ่าย 1. เครื่องปรุงเมนูผัก 500 บาท ต่อ กลุ่ม (6 กลุ่ม) เป็นเงิน 3000 บาท
2. ค่าวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จำนวน 2 คน x ุ600 บาท = 1200 บาท
3. ชุดรางวัล 500 บาท x 6 กลุ่ม = 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ตัวอย่างอาหารจากผัก
  2. มีแนวทางการปลูกฝังให้ลูกกิน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 3 การทำข้อตกลงของชุมชนเพื่อให้ชุมชนแยกขยะจากครัวเรือนและมีการปลูกผักหน้าบ้านอย่างน้อย 10 ชนิด

ชื่อกิจกรรม
การทำข้อตกลงของชุมชนเพื่อให้ชุมชนแยกขยะจากครัวเรือนและมีการปลูกผักหน้าบ้านอย่างน้อย 10 ชนิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมทำข้อตกลงอย่างเป็นรูปธรรมที่ศาลาหมู่บ้าน โดยผู้รับผิดชอบขอความร่วมให้สมาชิกในชุมชนแยกเศษอาหารเปียกแห้งในครัวเรือนเพื่อหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนกากน้ำตาลสำหรับหมักขยะ
ค่าใช้จ่าย 1. กากน้ำตาลสำหรับหมักขยะในครัวเรือน กิโลกรัมละ 20 บาท x 10 กิโลกรัม = 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกมีสุขภาพดีขึ้น โดยให้อสม.ลงพื้นที่วัดความดันเบาหวาน
2. สมาชิกกินผักมากขึ้น


>