กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลปากนํ้า อ.ละงู จ. สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี ๒๕๕๙ ที่ทำการควบคุมป้องกันโรคทั้งหมด ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน ๑,๘๘๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒,๗๑๑.๑๗ ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย อัตราตาย ๑.๔๔ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเพศชาย ๘๘๑ ราย เพศหญิง ๑๐๐๖ ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ ๑๕-๒๔ ปี รองมาคือ ๑๐-๑๔ ปี, ๕-๙ ปี จำนวน ๕๓๙, ๕๐๔ และ ๓๘๒ ราย ตามลำดับ อาชีพที่พบมากที่สุดคือ นักเรียน ,รับจ้าง และเด็กเล็กในปกครอง ตามลำดับ พื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือตำบลน้ำผุดอัตราป่วย ๔,๒๒๖.๔๓ ต่อแสนประชากร ตำบลเขาขาวอัตราป่วย ๓,๑๔๙.๓๖ ต่อแสนประชากร ตำบลละงูอัตราป่วย ๒,๘๔๑.๕๙ ต่อแสนประชากร ตามลำดับพบการระบาดสูงในทุกตำบลซึ่งตามเกณฑ์ในแต่ละตำบลจะต้องมีอัตราป่วยไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากรตำบลปากน้ำ มีการกระจายของโรคไข้เลือดออก ทั้ง ๖ หมู่บ้าน จำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนสิงหาคม หมู่บ้านที่มีการระบาดมากที่สุดคือ หมู่ที่ ๒ บ้านปากบารา จำนวน ๗๐ ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ หมู่ที่ ๔ ตะโละใส จำนวน๒๙ ราย หมู่ที่ ๑ บ่อเจ็ดลูก จำนวน ๑๘ ราย หมู่ที่ ๗ ท่าพะยอม จำนวน ๑๓ ราย หมู่ที่ ๕ บ้านท่ายางจำนวน ๑๓ ราย หมู่ที่ ๖ ท่ามาลัย ๑๐ ราย ตามลำดับ ส่วนหมู่ที่ ๓ เกาะบุโหลน ไม่มีผู้ป่วย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ ละงู : ธ.ค.๕๙ )
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี ๒๕๖๐ พบว่าตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ มีผู้ป่วยแล้วจำนวน ๑๖ ราย ตำบลละงู ๕ ราย ตำบลเขาขาว ๔ ราย ตำบลน้ำผุด ๓ รายตำบลกำแพง ๒ ราย ตำบลแหลมสน ๑ ราย ส่วนตำบลปากน้ำ พบผู้ป่วย ๑ ราย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ ละงู : มี.ค. ๖๐ ) ถึงแม้ว่าในภาพรวมระดับอำเภอละงูยังพบผู้ป่วยไม่กี่ราย แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ในรอบปีที่ผ่านมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลปากน้ำเป็นจำนวนมากส่งผลให้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานควบคุมโรคหมดลงอย่างรวดเร็วมีไม่เพียงพอ
ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำจึงร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ตระหนักและเห็นความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวจึงจัดโครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำต่อไป

ทั้งนี้ หนังสือด่วนที่สุด ที่ สค ๐๐-๓.๑๑/ว ๓๘๗ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๒เรื่องขอความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งว่ากระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมือ เตรียมความพร้อม ป้องกันแพร่ระบาดของโรคไช้เลือดออก ปี ๒๕๖๒ โดยมีผู้ป่วยเดือนมกราสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ๕ ปี ถึงงร้อยละ ๕๐คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖๒ มีโอกาสที่จะมีการระบาดของวโรคไข้เลือดออกต่อเนื่องและข้อมศูลจากการเฝ้าระวังเพื่อดำเนินการเตรยมความพร้อม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ดังนี้๑. ติดตามสถานการณ์ จัดการรณรค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ๒.สนับสนุนทรัพยากรในการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้เพียงพอ ๓.เผยแพร่ประชขาสัมพันธ์เอกสารคำแนะน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและภัยคุกคามสุขภาพ

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันมากขึ้น

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมควบคุมลูกนํ้ายุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมลูกนํ้ายุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดชื้อทรายกำจัดลูกนํ้ายุงลายแบบบรรจุชอง ชองละ 50 กรัมจำนวน 500ซอง/ถังจำนวน 5 ถังเป็นเงิน 24,000 บาท 2.สเปรย์ป้องกันยุง ขนาด 300 มลจำนวน 120 กระป๋อง เป็นเงิน7,200บาท 3.โลชั่นยาทากันยุง กย. ขนาด 50 กรัม 120 ขวด เป็นเงิน 6,000 บาท 4.หน้า กาก N 95 จำนวน 12 ชิ้นเป็นเงิน 1,080บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38280.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากค่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไข้เลือดออกได้รับการดูแลด้านการป้องกันโรคอย่างทั่วถึง


>