กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการยิ้มสวยวัยใส บริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค โรงเรียนบ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงเรียนบ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

นายอนิรุทร์โทบุรี
นางสาวนิสา แหละหีม
นางสาวสุริฉาย ไกรเทพ
นางสาวชวาลี แซะอาหลี
นางสาววริศรา ม่าเหล็ม

โรงเรียนบ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สภาวะนักเรียนเจ็บป่วยเนื่องจากบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีสารปนเปื้อน

 

1.00
2 ปัญหาสุขอนามัยในช่องปาก

 

1.00

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาเด็กและเยาวชนเกิดภาวะเจ็บป่วยเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสารพิษตกค้าง มีสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร และปัญหาสุขอนามัยในช่องปาก ทำให้นักเรียนเจ็บป่วยบ่อยมีสภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อการมาเรียนของนักเรียน รวมถึงส่งผลเสียต่อภาครัฐในการจัดสรรงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งในแต่ละปีพบว่ารัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว โรงเรียนบ้านปากบาราได้ทำการสำรวจนักเรียนโดยการทำแบบสำรวจตามโครงการสุขอนามัยภายในโรงเรียน พบว่านักเรียน ร้อยละ 80 แปรงฟันวันละหนึ่งครั้งร้อยละ 20 รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ
ร้อยละ 30 มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันร้อยละ 35 รับประทานอาหารไม่ครบห้าหมู่ร้อยละ 80 ชอบทานขนมกรุบกรอบและจากการสำรวจพบว่า นักเรียนมีสภาวะขาดสารอาหาร ร้อยละ 10 และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อสภาวะโรคอ้วน ร้อยละ 15 โรงเรียนบ้านปากบาราได้เล็งเห็นถึงเหตุผลดังกล่าวจึง ได้จัดทำโครงการยิ้มสวยวัยใส บริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรคขึ้น โดยจัดให้มีการจัดทำบันทึกการบริโภคอาหารและการแปลงฟัน เพื่อบันทึกการรับประทานอาหารและการแปลงฟันของนักเรียนแล้วนำมาประมวณผลและแก้ปัญหาของนักเรียนรายบุคคลต่อไป จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นถุึงผลดีของการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ครบมื้อ ไม่มีสารตกค้าง สามารถปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคทานเองภายในสถานศึกษาได้อันนำมาซึ่งสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นเตือนให้นักเรียนภายในสถานศึกษาเกิดความตระหนัก เรียนรู้ เห็นถึงผลเสียจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ผลเสียของการไม่ดูแลรักษาอนามัยภายในช่องปาก รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อพร้อมสำหรับเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในโรงเรียน
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85
  2. นักเรียนสามารถจัดทำแปลงผักปลอดสารเคมีภายในโรงเรียนได้ ร้อยละ90
  3. นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลูกเองและปลอดสารเคมี ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อลดปัญหาโรคซึ่งเกิดจากการตกค้างจากการบริโภคผักและผลไม้
  1. นักเรียนสามารถจัดทำแปลงผักปลอดสารเคมีภายในโรงเรียนได้ ร้อยละ90
  2. นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลูกเองและปลอดสารเคมี ร้อยละ 80
  3. จำนวนนักเรียนที่ป่วยจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุลักษณะและมีสารเคมีตกค้างลดลง คิดเป็นร้อยละ80
0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ห่างไกลจากโรคฟันผุ
  1. นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น ร้อยละ 80
  2. นักเรียนสามารถดูแลรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากได้อย่างถูกวิธีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
0.00
4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารให้ครบห้าหมู่

1.นักเรียนสามารถบอกถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคอาหารครบห้าหมู่ได้

0.00
5 5.เพือให้นักเรียนเลือกบริโภคอาหารทีถูกสุขอนามัยและมีสุขภาพที่แข็งแรง

1.นักเรียนสามารถบอกถึงคุณประโยชน์ของการเลือกบริโภคอาหารทีู่กสุขอนามัยได้ 2.นักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้นลดอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการบริโภคอาหารได้ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 257
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2019

กำหนดเสร็จ 30/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ยิ้มสวย วัยใส

ชื่อกิจกรรม
ยิ้มสวย วัยใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมการรักษาสุขอนามัยช่องปากและการเลือกรับประทานอาหารปลอดภัยห่างไกลโรค งบประมาณ 25,600 บาท 1.1 ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 ชุด x 35 บาท x 2 มื้อ =7,000 บาท 1.2 ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง x 3 คน =3,600 บาท 1.3 จัดทำป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น x 1,000 บาท =1,000 บาท 1.4 ค่าอาหารสำหรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน x 100 บาท x 1 มื้อ =10,000บาท 1.5 ค่าจัดทำคู่มือบันทึกการแปรงฟันและบันทึกการบริโภคอาหารประจำวัน จำนวน 200 ชุด x 20 บาท = 4,000 บาท กำหนดการจัดกิจกรรมอบรมการรักษาสุขอนามัยช่องปากและการเลือกรับประทานอาหารปลอดภัยห่างไกลโรค วันที่15เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านปากบารา

วันที่ เวลากิจกรรมผู้รับผิดชอบ 11 กุมภาพันธ์ 2563
08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียนคณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา 08.30 - 09.00 น. - พิธีเปิดกิจกรรม คณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา 09.00 - 10.00 น. - กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และละลายพฤติกรรมวิทยากร 10.00 - 12.00 น. - กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การรักษาสุขอนามัยในช่องปาก วิทยากร 12.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. - กิจกรรมบรรยาย เรื่อง กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรควิทยากร 15.00 - 16.00 น. - กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การเลือกทานขนมอย่างไรให้ปลอดภัยวิทยากร 16.00 - 16.30 น. - พิธีปิดการอบรม คณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา

หมายเหตุ 1. กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 2. เวลา 10.20 – 10.30 น และ 14.20 – 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น ร้อยละ 80
  2. นักเรียนสามารถดูแลรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากได้อย่างถูกวิธีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

กิจกรรมที่ 2 ผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการปลูกและเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย งบประมาณ 25,400 บาท 1.1 ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 ชุด x 35 บาท x 2 มื้อ =7,000 บาท 1.2 ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง x 3 คน =3,600 บาท 1.3 จัดทำป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น x 1,000 บาท =1,000 บาท 1.4 ค่าอาหารสำหรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน x 100 บาท x 1 มื้อ =10,000บาท 1.5 ค่าจัดทำป้ายแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 4 ป้าย x 200บาท = 800 บาท 1.6 ค่าเม็ลดพันธุ์ผักสำหรับปลูก จำนวน 100 ถุง x 30 บาท =3,000 กำหนดการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกและเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย วันที่1เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านปากบารา

วันที่ เวลา กิจกรรมผู้รับผิดชอบ 1 กุมภาพันธ์ 2563
08.00 - 08.30 น.- ลงทะเบียนคณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา 08.30 - 09.00 น.- พิธีเปิดกิจกรรมคณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา 09.00 - 10.00 น.- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และละลายพฤติกรรม วิทยากร 10.00 - 12.00 น. - กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การเลือกบริโภคผักอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารตกค้าง วิทยากร 12.00 - 13.00 น.- พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. - กิจกรรมบรรยาย เรื่อง วิธีการปลูกผักอย่างไรให้ปลอดสารพิษวิทยากร 14.00 - 16.00 น.- กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง ปลูกผักกินเองปลอดภัย ห่างไกลสารเคมีวิทยากร 16.00 - 16.30 น.- พิธีปิดการอบรม คณะครูโรงเรียนบ้านปากบารา

หมายเหตุ 1. กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 2. เวลา 10.20 – 10.30 น และ 14.20 – 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85
  2. นักเรียนสามารถจัดทำแปลงผักปลอดสารเคมีภายในโรงเรียนได้ ร้อยละ90
  3. นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลูกเองและปลอดสารเคมี ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากและสามารถดูแลได้อย่างถูกวิธีที่
2. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการทำการเกษตรสามารถจัดทำแปลงและมีผักที่ปลูกเองปลอดสารเคมีไว้รับประทาน
3. นักเรียนมีสุขภาพที่ดีและรู้จักเลือกบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย


>