กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รณรงค์รวมพลคนปากน้ำพิชิตเป้าหมายแป๊บสเมียร์ ๖๓,๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากนํ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการดำเนินงานรณรงค์มะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ตำบลปากน้ำ ในระยะ ๕ ปีที่ผ่านมา พบว่าสตรีในพื้นที่ตำบลปากน้ำเกือบร้อยละ ๕๐ ไม่ค่อยตื่นตัวตอบรับกิจกรรมรณรงค์มะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร ประเมินได้จากผลงาน ระหว่างปี ๒๕๕๘-๒๕๖๒ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายครอบคลุมร้อยละ ๘๐ ของสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีได้แม้บางครั้งผู้รับผิดชอบงานได้ดำเนินการถึงขั้นลงไปให้บริการถึงบ้านก็ตาม ทั้งนี้จากข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีของตำบลปากน้ำ จำนวน ๑,๒๒๐ราย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแป๊บสเมียร์ได้แค่่ จำนวน ๖๙๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๒๕ ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ จำนวน ๕ ราย ซึ่งได้ส่งตัวไปรับการรักษาที่ โรงพยาบาลละงู และโรงพยาบาลสงชลานครินทร์ตามลำดับ ก็ไม่ได้ทำให้สตรีในพื้นที่ตำบลปากน้ำตื่นตัวแต่ประการใด ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เป็นปีแรกของการรณรงค์รอบใหม่ ระหว่างปี งบประมาณ ๒๕๖๓- ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุระหว่าง ๓๐-ู๖๐ปี จำนวนทั้งสิ้น๑.๒๒๐ ราย และมีเป้าหมายต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้ได้ร้อยละ ๘๐ (จำนวน ๙๗๖ ราย) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นแค่วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์รวมพลคนปากน้ำพิชิตเป้าหมายแป๊บสเมียร์๖๓-๖๔” ขึ้นโดยมีเป้าหมายดำเนินการได้ร้อยละ ๖๐ภายใน ๒ ปีส่วนอีกร้อยละ ๒๐ นั้นจะดำเนินการในปีถัดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสำเร็จตามเป้าหมายครอบคลุมร้อยละ ๖๐ และให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในกระบวนการค้นหาและติดตามกลุ่มเป้าหมาย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมร่วมทีมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อวางแผนเตรียมงานจำนวน ๑๐ คน ๒. ประชุมร่วมทีมมะเร็ง คปสอ.ละงู เพื่อ จัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๑๓ คน
๓. เตรียมข้อมูลรายชื่อ กลุ่มเป้าหมาย พร้อมแจ้งหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ๔. มอบหนังสือเชิญให้แก่ อสม.เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมาย ๕. เตรียมอุปกรณ์การตรวจ ๖. กำหนดกิจกรรมวันรณรงค์ ๓ วัน ๗. ประชาสัมพันธ์ในหลากหลายรูปแบบ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ไลน์ เฟสบุ๊ค ป้ายไวนิล ผู้นำศาสนา(ขอความร่วมมือในการอ่านคุตบะฮ์วันศุกร์)ก่อนวันรณรงค์
๘.จัดระดม อสม.ช่วยรับ-ส่งกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาการเดินทางเป็นรายกรณี ๘.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๒ มื้อ23 คน35 บาท เป็นเงิน ๑,๖๑๐.บาท ๙.ค่าาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑ มื้อ*๑๐๐ บาท *๒๓ คน เป็นเงิน ๒,๓๐๐.บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3910.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวันรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวันรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมวันรณรงค์ - ผู้มาร่วมกิจกรรมลงทะเบียน - เข้าร่วมรับฟังการให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- เข้ารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก - ร่วมรับของที่ระลึก - รวบรวมสไลด์ส่งตรวจ - บันทึกข้อมูล - สรุปผลการดำเนินงาน - ติดตามกลุ่มที่เข้าถึงยาก จัดทีมลงไปให้บริการในชุมชน ตามความเหมาะสม งบประมาณ ๗.๑ ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท x ๒ ชั่วโมงx ๔ วัน เป็นเงิน ๔,๘๐๐.บาท ๗.๒ ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเข้ารับการตรวจ คนละ ๓๕ X ๗๓๒ คน
เป็นเงิน ๒๕,๖๒๐. บาท ๗.๒ค่าอาหารว่างสำหรับทีมเจ้าหน้าที่ และอสม. คนละ ๓๕บาท X ๑๕ คนX๒ มื้อ X ๔ วัน เป็นเงิน ๔,๒๐๐.บาท ๗.๓ ค่าอาหารเที่ยงสำหรับทีมเจ้าหน้าที่และ อสม. คนละ ๑๐๐ บาทX๑๕ คนX ๔ วัน เป็นเงิน ๖,๐๐๐.บาท ๗.๔ ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน๕,๐๐๐.บาท
รวมเป็นเงิน๔๕,๖๒๐บาท รวมงบประมาณที่ใช้จ่ายทั้งโครงการเป็นเงิน๔๕,๖๒๐.บาท (ห้าหมื่นสี่ร้อยสิบบาทถ้วน) หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดำเนินงานตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,530.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ครอบคลุม ร้อยละ ๖๐


>