กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
กลุ่มคน
1.นางสำลี ลัคนาวงศ์
2.นางสุพรหวันเก
3.นางลำดวน หัวแท้
4.นายสมหมาย หลังเถาะ ผู้ประสานงาน คนที่ 1
5.นางสาวณัติญา เฉลิมผู้ประสานงาน คนที่ 2
3.
หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุทุก 1 ใน 4 คน จะมีภาวะทุพพลภาพ โดยที่ร้อยละ 76 เป็นผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพระยะยาวส่งผลให้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและมีการใช้ทรัพยากรต่างๆในอัตราที่สูงขึ้น

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีประชากรทั้งหมด 13,659 คน จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ตรวจสอบสิทธิ์การรักษาและเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 25 ราย ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 (เคลื่อนไหวได้บ้าง มีปัญหาการกิน/การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 8 คน กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 3 คน และกลุ่มที่ 4 (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน ซึ่งผู้สูงอายุในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จะส่งให้เกิดแผลกดทับได้ โดยผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เมื่อเกิดแผลกดทับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4-6 เท่า เมื่อผู้สูงอายุเกิดแผลกดทับจะทำให้แผลหายช้า เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลกดทับได้แก่ แรงเสียดสี แรงเฉือน ความชื้น โดยเฉพาะแรงกดทับ เมื่อมีการกดทับผิวหนังที่ทาบกระดูกเป็นเวลานานกว่า 2-6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนเลือดเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ดังนั้นการลดระยะเวลาของการเกิดแรงกดหรือการกระจายแรงกดรวมถึงการลดระยะเวลาของการเกิดแรงกดที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง จึงเป็นวิธีการป้องกันแผลกดทับที่ดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน การใช้ที่นอนลม จะช่วยลดและกระจายแรงกดที่จะกดทับลงบนผิวหนังที่ทาบกับปุ่มกระดูก ส่งผลให้แรงกดระหว่างที่นอนกับผิวหนังลดลง ซึ่งสามารถลดการเกิดแผลกดทับได้

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ยังขาดที่นอนลม เนื่องจากหน่วยบริการมีที่นอนลมมีอยู่จำกัด จึงทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากขึ้น ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงได้รับการคัดกรอง ความสามารถในการดำเนินเนินชีวิตประจำวันและได้มีวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1 เพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) 2. ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ 3. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว 4. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแลและฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน
    ขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ปีละ 1 ครั้ง

    2. ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล 1.1.3 สรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

    กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง

    กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง

    กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง

    กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต

    เป้าหมาย

    • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

    งบประมาณ

    ไม่ขอใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2. บรรยาย/สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ช่วยเหลือตัวเองได้และนอนติดเตียง

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 11 คน
    • ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 25 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 40 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 40 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าป้ายไวนิล โครงการขนาด 1.5 x 3.0 เมตรเป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม 1,260 บาท
    • ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 36 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 36 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 15,935.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) และปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference)

    2. CM จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( CareGiver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำ CP รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ CG ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ CG 1 คน ดูแลผู้สูงอายุ 2-3 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที

    โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

    กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

    1. จัดประชุมวางแผน/ประเมิน/รายงานผล การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง)เป็นรายบุคคล แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ครั้ง

    2. CG ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตาม CP และประเมินการเกิดแผลกดทับของผู้สูงอายุและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

    3. ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score) หากพบว่า ผู้สูงอายุมีแผลกดทับ ให้แจ้ง CM เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับการส่งต่อโรงพยาบาล

    4. CG บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน

    5. ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม CP เช่น แพมเพิส สำลีก้อน ถุงมือ เป็นต้น

    6. จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 11 คน

    • ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 25 ราย

    • เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงและผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จำนวน 4 คน

    • ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับและภาวะเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ จำนวน 8 ราย

    งบประมาณ

    กิจกรรมให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล

    • ค่าที่นอนลม ราคาชิ้นละ 10,000 บาท(ตามราคาท้องตลาด) จำนวน 8 ชิ้น เป็นเงิน 80,000 บาท

    • จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน (ไม่เบิกจ่ายในโครงการ)

    กิจกรรมประชุมวางแผน/ประเมิน/รายงานผล

    • ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ ,CM จำนวน 15 คนๆละ 4 ครั้งๆละ200 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ, CM และ CGจำนวน 15 คน คนละ 4 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

    งบประมาณ 94,500.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 ประชุม/ติดตามผล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประชุมติดตามการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และปรับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล

    2. ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score)

    3. ประเมินระดับของแผลกดทับ

    4. ประเมินความรู้ในการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    เป้าหมาย

    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 15คน

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุจำนวน11คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จำวน 26 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

    • ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 26 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 10,400 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 12,700.00 บาท
  • 5. กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม 5.1.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 5.1.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ

    • ค่าเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ (ไม่ขอเบิกจ่ายในโครงการ)
    งบประมาณ 2,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 125,135.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี
  2. ผู้สูงอายุได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และครอบคลุม
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง และได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
  4. ทุกชุมชน มีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 125,135.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................