กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี เริ่มที่บ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

ในพื้นที่หมู่ที่4,หมู่ที่5หมู่ที่7 ตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการ-พัฒนาการในเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี เป็นช่วงที่มีอัตราของการพัฒนาสูง ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่
ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก รวมถึง อสม.ในพื้นที่ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ
และตระหนักถึงความสำคัญให้มากจึงจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
จาการติดตามประเมินโภชนาการและพัฒนาการ ในพื้นที่ ม.4 ม.5 ม.7 อ.กาบัง จ.ยะลา
ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลกาบังนั้น พบว่า เด็กในช่วงอายุ 0-5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ และ
พัฒนาการสมวัยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดังนี้ ภาวะโภชนาการ ปี 2560,2561 และ 2562 สูงดีสมส่วน 72.67 % ปี
สูงดีสมส่วน 70.73 % และ 71.53 ตามลำดับ พบว่าเด็กมีภาวะผอม 39.75% และค่อนเตี้ย-เตี้ย มีแนวโน้มสูง
54.84% เด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี มีผลต่อการพัฒนาด้าน สติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก
และมีความครอบคลุมของการตรวจค่อนข้างน้อย ๓๖.๖๙% จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
พบว่าประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการดูแลโภชนาการและไม่มีความรู้ในการปรับอาหารให้เหมาะกับภาวะสุข
ภาพของบุตรหลาน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทำให้ผู้ปกครองสนใจแต่เรื่องประกอบอาชีพ หารายได้
มากกว่า ยิ่งทำให้เด็กเล็กได้รับการดูแลด้านโภชนาการได้น้อยลงไปอีก ถึงแม้
อสม.ในพื้นที่จะคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการทุกๆ 3 เดือน ตามที่ได้วางแผนไว้กับทีมสุขภาพ
ก็พบว่าอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถคัดกรองได้ครอบคลุมในช่วงเวลาจำกัด
จากการสอบถามผู้ปกครองพบว่าอาหารมื้อเช้า มีเพียงร้อยละ 20 ที่ผู้ปกครองทำกับข้าวเอง อีกร้อยละ 80
ซื้อกินที่ร้านอาหาร ซึงมักเป็น ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย
และมีผงชูรสมาก ส่งผลให้เด็กมีภาวะทุพโภชนาการได้ง่าย จะเห็นว่าผู้ปกครองพาเด็กมาตรวจตามนัดเพียงร้อยละ
27 ซึ่งค่อนข้องน้อยมาก ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการ ในเด็กมีผลลัพธ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
จากปัญหาดังกล่าวงานเวชปฏิบัติครอบครัว จึงเห็นว่าการพัฒนาพัฒนาความรู้ให้แก่ทีมสุขภาพในพื้นที่
และจัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักให้เพียงพอ ให้แก่ อสม ในการติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชน
ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักเสริมธาติเหล็กในครัวเรือน
เป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้น่ให้ผู้ปกครองหันมาสนใจบุตรหลานด้านโภชนาการมากขึ้น
จะเป็นการปูพื้นฐานและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองสามารนำไปส่งเสริมให้บุตรมีภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ มีความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการ และสามารถปรับเมนูอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และเหมาะสมตามวัย ตามคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก โดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน
ข้อที่ 2.เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือนเพื่อส่งเสริมโภชนาการในเด็ก0-5 ปี

ข้อที่ 3. เพื่อให้ มีเครื่องชั่งน้ำหนักใช้ในการติดตาม และเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้อย่างทั่งถึงและ ครอบคลุมทุกพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการโภชนาการดี เริ่มที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
โครงการโภชนาการดี เริ่มที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  140 คน X 25 บาท X 2 มื้อ                  เป็นเงิน        7,000   บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน 140  คน X 50 บาท X 1 มื้อ
                          เป็นเงิน         7,000   บาท
3. ค่าวิทยากรภายนอก 600  บาท X 6 ชม.
                          เป็นเงิน         3,600  บาท

1.ค่าจัดจ้างทำโฟมบอร์ด วิธีเพิ่มน้ำหนักเมื่อเด็กตัวเล็ก ขนาด 90 ซม. X 60 ซม.เป็นเงิน 700  บาท 2.ค่าจัดจ้างทำโฟมบอร์ด อาหารหลัก 5 หมู่ขนาด 90 ซม. X 60 ซม.        เป็นเงิน     700  บาท 3. ค่าจัดจ้างทำโฟมบอร์ดอาหารเสริมตามวัยในเด็ก 6 เดือน-12 เดือน ขนาด 90 ซม. X 60 ซม.
                             เป็นเงิน      700  บาท 4.ค่าจัดจ้างทำโฟมบอร์ดอาหารเสริมตามวัยในเด็ก 1–5  ปี ขนาด 90 ซม. X 60 ซม.
                             เป็นเงิน      700  บาท

1.ค่าจัดทำแผ่นพับ วิธีเพิ่มน้ำหนักตัวเมื่อลูกน้ำหนักน้อย และเคล็ดลับรับมือลูกกินยาก แผ่นละ 25 บาท X 140 แผ่น     เป็นเงิน   3,500  บาท

1.เครื่องชั้งน้ำหนักเด็ก  จำนวน 3 เครี่อง      เครื่องละ 3,500 บาท เป็นเงิน  10,500    บาท รวมเงินทั้งสิ้น  34,400  บาท (เงินสามหมื่นสี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครอง ในพื้นที่หมู่ที่4,หมู่ที่5หมู่ที่7 ตำบลกาบัง มีความรู้เรื่อง ความเข้าใจ สามารถประเมินภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตามคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพเล่มสีชมพู


>