กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพทีม SRRT และศูนย์ประสานงานระบาดวิทยาประจำตำบลบาโหย ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และในชุมชน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทีม SRRT ระดับตำบล ต้องได้รับการพัฒนาผ่านมาตรฐานระดับพื้นฐานขึ้นไป ทุกปี (ทีม)

 

1.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)

 

13.00
3 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

10.00
4 ทีม SRRT ให้สามรถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานในการควบคุมโรคทุกโรค ทีมตำบล จำนวน 1 ทีม

 

1.00

ตำบลบาโหยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเขตชายแดนภาคใต้มีโรคระบาดและโรคประจำถิ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนูซึ่งเป็นพื้นที่รังโรคและมีประวัติผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะไข้มาลาเรียสูงสุดในจังหวัดสงขลามีประวัติการเสียชีวิตจากเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง (p.f.)โดยขณะนึ้มีการระบาดในเชื้อชนิด p.v.(ปี 2562 จำนวน 13 ราย) แม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่การรักษา ควบคุมโรคทำได้ยากกว่า อีกทั้งโรคไข้เลือดออก และโรคชิกุนคุนยา นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น ประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ เป็นต้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วย ผู้ป่วยสงสัยโรคไอกรน อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอัตราต่ำกว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่มีการปฏิเสธวัคซีน การเคลื่อนย้าย และประชากรแฝงในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งไทยและต่างด้าว ทำให้มีความเสี่ยงสูงสุดในพื้นที่จังหวัดสงขลา
จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการในพื้นที่ละเครือข่ายชุมชน (SRRT)ในการเตรียมความพร้อม ด้านคน เงิน ของ เพื่อการตอบโต้สถานการณ์อย่างทันท่วงที อันจะหยุดยั้งการระบาดและสูญเสียชีวิตของประชากรในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยนายอำเภอสะบ้าย้อยกำหนดให้ รพ.สต.เป็นศูนย์ระบาดวิทยาระดับตำบล ทำหน้าที่ควบคุมร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน ผู้นำชุมชนอสม. องค์กรรัฐ และเอกชน ต่อสู้กับปัญหาโรคติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค (โรคติดต่อ) และเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมโรค (มาตรฐาน DHS/SRRT) และให้สามารถป้องกันโรคประจำถิ่นโรคระบาดในพื้นที่ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตรายพ.ศ.2559 / ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังพ.ศ. 2559เป็นต้น)และพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรคเครือข่ายระดับตำบลให้มีความพร้อมในการตอบโต้โรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของศูนย์ประสานงานระบาดวิทยาระดับตำบล ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์ฯมีความพร้อมในการควบคุมโรค (ตรวจรับรองเกณฑ์โดยผู้ประเมินจาก สสอ.) หน่วยบริการจำนวน 1 แห่ง (ทีม SRRT ตำบลบาโหย 20 คน) ผ่านการประเมิน

1.00 1.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ให้สามรถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐาน

เครือข่ายควบคุมโรคผ่านการประเมินมาตรฐานในระดับอำเภอ  ทีม SRRT ตำบลบาโหย มีพร้อมตามบัญชีรายการ สามารถควบคุมโรคตามเกณฑ์

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ทีม SRRT ระดับตำบล 1 ทีม 20 คน 20
นักระบาดดีเด่นระดับหมู่บ้าน/ตำบล จำนวน 15 คน 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศูนย์ระบาดวิทยาระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศูนย์ระบาดวิทยาระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับปรุงคำสั่งอำเภาว่าด้วย SRRT ระดับตำบล สำรวจเตรียมความพร้อมทางระบาดวิทยา เพื่อเตรียมการกิจกรรมต่อไปนี้

1.อบรม ทบทวนเสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/องค์ความรู้ใหม่ แก่ทีม SRRT ตำบลบาโหยวงเงิน 3000 บาท

2.จัดหาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ และสื่อ ที่จำเป็นในการควบคุมโรคให้เหมาะสม ทันเวลา และเพียงพอ วงเงิน 19500 บาท

3.ควบคุมโรคในพื้นที่เชิงรุก ตามมาตรฐาน SRRT ป้องกันโรคโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน เยี่ยมบ้านตรวจสอบติดตามผู้ป่วย ตรวจชุมชน วงเงิน 6000 บาท

4.ประกวดนักระบาดดีเด่นระดับหมู่บ้าน/ตำบลวงเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. SRRT ไดรับการอบรม 20 คน
  2. วัสดุควบคุมโรค จำนวน 1 ชุด
  3. ควบคุมโรคมาตมาตรฐาน/ป้องกันควบคุมโรคทันตามเวลา ขั้น พื้นฐาน
  4. มีนักระบาดดีเด่น ครบ 5 หมู่บ้าน รวมจำนวน15คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียมความพร้อมวัสดุและเครื่องมือสื่อสำหรับควบคุมโรคระบาดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมความพร้อมวัสดุและเครื่องมือสื่อสำหรับควบคุมโรคระบาดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสเปรย์กำจัดยุงและแมลงบินหัวเจ็ตหรือพ่นกระจายสูตรประสิทธิภาพสำหรับยุงลาย ขนาด 600 มล.
    กระป๋องละ 86 บาท จำนวน 60 กระป๋อง เป็นเงิน 5,160บาท
  • ค่าชุดป้องกันสารเคมีพร้อมหน้ากากกรองพิษมาตรฐาน ชุดละ 1,000 บาท จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 5,000บาท
    • ค่ากล่องภาชนะบรรจุเก็บรักษา สารเคมี/สารพิษ/วัตถุอันตราย จำนวน 4 กล่องๆ ละ 385 บาท เป็นเงิน 1,540บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องพ่นฯ (ชนิดเบนซิน 91/95) ลิตรละ 30 บาท จำนวน 40 ลิตร (สำรองใช้) เป็นเงิน 1,200บาท
  • ค่าน้ำมันผสมน้ำยากำจัดแมลง (ชนิดดีเซล) ลิตรละ 30 บาท จำนวน 120 ลิตร(สำรองใช้)
    เป็นเงิน 3,600บาท
    • ค่าเอกสารสื่อประชาสัมพันธ์โรคระบาดในชุมชน 3 ชุด ชุดละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศูนย์ระบาดมีความพร้อมในการควบคุมโรคทันท่วงที ตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย SRRT ระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย SRRT ระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมทีม SRRTจำนวน 20 ชุด ชุดละ 50 บาทเป็นเงิน 1,000บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 20 คนเป็นเงิน 1,000บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คนเป็นเงิน 1,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่าย SRRT มีศักยภาพในการควบคุมโรคระบาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 ประกวดนักระบาดดีเด่นระดับหมู่บ้าน/ตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประกวดนักระบาดดีเด่นระดับหมู่บ้าน/ตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ (ดีเด่นระดับตำบล/หมู่บ้าน/บุคคล) ชุดละ 100 บาท จำนวน 15 ชุด เป็นเงิน 1,500บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีต้นแบบ/ผู้นำการควบคุมโรค และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 ควบคุมโรคเชิงรุกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคเชิงรุกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุมโรคในพื้นที่เชิงรุก ตามมาตรฐาน SRRT ป้องกันโรคโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน เยี่ยมบ้านตรวจสอบติดตามผู้ป่วย ตรวจชุมชน วงเงิน 6000 บาท ดังนี้ - ค่าตอบการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2552 เป็นเงิน   2,000  บาท - ค่าจ้างควบคุมโรคในชุมชน (พ่นสารเคมีULV/หมอกควัน) ครั้งละ 200 บาท จำนวน 20 ครั้ง เป็นเงิน   4,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ควบคุมโรคในพื้นที่เชิงรุก ตามมาตรฐาน SRRT ป้องกันโรคโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน เยี่ยมบ้านตรวจสอบติดตามผู้ป่วย ตรวจชุมชน วงเงิน 6000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ศูนย์ประสานงานฯ มีประสิทธิภาพในระบบป้องกันและควบคุมโรคตามมาตรฐาน DHS
2. ทีม SRRT สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐาน


>