กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาเครือข่ายหมอครอบครัวและ กสค. ตำบลบาโหย เข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้ ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย/พื้นที่ดำเนินการเชิงรุกในชุมชน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของบุคลากรในทีมหมอครอบครัว และแกนนำ กสค. (แกนนำสุขภาพครอบครัว) ได้รับการพัฒนา

 

80.00
2 ร้อยละของการการจัดบริการสุขภาพที่บ้าน (เยี่ยมบ้าน) ในกลุ่มพิเศษ(ติดบ้าน ติดเตียง คนพิการ) อย่างมีคุณภาพให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์

 

80.00

การพัฒนาบริการสุขภาพในชุมชนในลักษณะหมอครอบครัว และแกนนำสุขภาพครอบครัว (กสค.) ที่จะพัฒนาเป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล โดยความรับผิดชอบโดยตรงของกระทรวงสาธารณสุข เป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคฝ่าย มุ่งมั่นพัฒนาเครือข่ายหมอครอบครัวทั่วประเทศ และมี อสค. หนุนเสริมบริการในชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้ อย่างแท้จริง
ทีมหมอครอบครัว คือกลุ่มคนทั้งบุคลากรสาธารณสุข และชุมชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาคนไข้และครอบครัวของคนไข้ แบบครบวงจรทั้งด้านสุขภาพจิตใจ สิ่งแวดล้อมชีวิตความเป็นอยู่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอพชอ. และแผนงานการดูแลระยะยาว หรือ LTCซึ่งมีตัวอย่างที่โดดเด่นเป็นต้นแบบในตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย
โดยจัดเป็นทีมประจำครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งประกอบด้วยทีมหมู่บ้าน (อสม.จิตอาสา ผู้นำชุมชน)ทีมตำบล (หมออนามัย ผู้นำท้องถิ่น – อปท.) ทีมอำเภอ (รพ.ชุมชน) และ ทีมจังหวัด (รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป )โดยมีทีมหมู่บ้านและตำบลเป็นแกนหลักที่ดูแลคนไข้และครอบครัวอย่างใกล้ชิดส่วนทีมอำเภอและจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วมเยี่ยมบ้านในรายที่จำเป็น ให้การดูแลคนไข้ที่จำเป็นต้องส่งต่อมาที่ รพ.รวมทั้งให้การสนับสนุนการทำงานของทีมตำบลและหมู่บ้าน ทั้ง ๔ทีมนี้ทำงานเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
ในระยะต้นที่ทีมภายนอกไม่สามารถเข้าสนับสนุนได้เต็มที่จึงมุ่งเน้นพัฒนาทีมภายในตำบล นำโดย รพ.สต. และมุ่งเน้นดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการติดบ้านติดเตียงเป็นหลัก และกลุ่มผู้สูงอายุคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น (ตามแนวทาง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย พชอ.ปี 2561)
ทั้งนี้การดำเนินการข้างต้นเป็นภารกิจพื้นฐานของหน่วยบริการสุขภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข (ไม่สามารถให้กลุ่มอื่นจัดบริการแทนได้) สอดคล้องกับภารกิจที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้การดำเนินการข้างต้นเป็นภารกิจพื้นฐานของหน่วยบริการสุขภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข(ไม่สามารถให้กลุ่มอื่นจัดบริการแทนได้) สอดคล้องกับภารกิจที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัว และแกนนำ กสค. (แกนนำสุขภาพครอบครัว)

กสค. ได้รับการพัฒนา/ฟื้นฟูความรู้ มีระดับความรู้มากกว่าร้อยละ80 เป้าหมาย กสค. จำนวน 50 คน

50.00 50.00
2 เพื่อเร่งรัดการจัดบริการสุขภาพในกลุ่มพิเศษ/กลุ่มทั่วไปอย่างมีคุณภาพให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์

ทีมหมอครอบครัว และแกนนำ กสค. เยี่ยมบ้านคุณภาพ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 (เกณฑ์เชตสุขภาพที่ 12)  (หมายเหตุ ติดตามตัวชี้วัดนี้จาก HDC กระทรวงสาธารณสุข) เป้าหมาย  เยี่ยมบ้านมาตรฐานผู้มีความจำเป็นทางสุขภาพ  จำนวน 100 คน/ครอบครัว (ขั้นต่ำ)

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ทีมหมอครอบครัว (5หมู่บ้าน) 5
อสค. (กสค.) 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาเครือข่ายหมอครอบครัวและ กสค./อสค. เพื่อดูแลชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาเครือข่ายหมอครอบครัวและ กสค./อสค. เพื่อดูแลชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ - จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย แจ้งผลการดำเนินการแก่สาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย ขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอน - ตรวจสอบความต้องการและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานของเครือข่ายทั้งของทีมหมอและทีมชุมชนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - จัดหาวัสดุตามข้อเสนอตามผลสำรวจความต้องการปี 2560 ควรพัฒนาปรับปรุงการจัดการเก็บรักษายา วัสดุทางการแพทย์ และเอกสารประจำตัวผู้ป่วยที่มีใช้/เก็บไว้ที่บ้าน) - รวบรวม จัดทำรายการบัญชีผู้ป่วย และทะเบียนอาสาสมัคร เสนอต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ พร้อมออกประกาศ และหนังสือรับรองหรือร่างเกียรติบัตร อสค. - ประชุม/อบรมยกระดับ กสค. เป็น อสค.ใหม่ และฟื้นฟู อสค.รายเดิม ทบทวนภารกิจ ตัวชี้วัด ทำแผน กำหนดแนวทางและพัฒนาทีมหมอครอบครัว อสค. และมอบประกาศนยบัตรผู้ผ่านการอบรม -ทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้านเชิงรุกโดยการสนับสนุนของผู้นำชุมชน เบื่องต้นกำหนดหมู่บ้านละ 1 วันต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาจดำเนินการในหรือนอกเวลาราชการตามความเหมาะสม - แก้ไขปัญหาตามความจำเป็นของผู้ป่วย เช่น ปัญหาสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ การใช้ยา การจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนพิการ รวมทั้งบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ หรือภัยธรรมชาติ - คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ติดตาม ตรวจสอบการจัดกิจกรรม การดำเนินการในชุมชน ซึ่งดำเนินการโดย อสค. มีทีมหมอครอบครัวเป็นพี่เลี้ยง -ประเมินผล สรุปผลการดำเนินโครงการ และเขียนรายงานโครงการ - นำเสนอผลการดำเนินโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยใช้สำหรับ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย รายละเอียดดังนี้

  • ค่าเอกสารคู่มือประจำตัวเชิงรุกของอสค. จำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทีมหมอครอบครัว และแกนนำ กสค. (แกนนำสุขภาพครอบครัว)ได้รับการพัฒนา/ฟื้นฟูความรู้ จำนวน 50 คน เพื่อจัดบริการสุขภาพในกลุ่มพิเศษ/กลุ่มทั่วไปอย่างมีคุณภาพให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์ จำนวน 100 คน/ครอบครัว (ขั้นต่ำ)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ากระเป๋าใส่ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์เชิงรุกหัวหน้าทีม อสค. จำนวน 10 ทีม/อัน อันละ 500 บาทเป็นเงิน 5,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับทีมหมอครอบครัว 10 ทีม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการเชิงรุกหมอครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการเชิงรุกหมอครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 2,250บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมอครอบครัวออกปฏิบัติงานบริการสุขภาพในชุมชน 100 หลังคาเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทีมหมอครอบครัว และเครือข่าย กสค. มีศักยภาพในการทำงานอย่างเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้
2. ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษที่บ้านได้รับการดูแลตามมาตรฐานชุดสิทธิประโยชน์
3. สามารถจัดบริการสุขภาพให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์เยี่ยมบ้านคุณภาพ


>