กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการกินผักปลอดภัยใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนการเคหะ เทศบาลนครยะลา
กลุ่มคน
1. นางประพร อันตรเสน
2. นางกระบวนเพชรแดง
3. นางสาวอุดมลักษณ์ อันตรเสน
4. นางสาวศิริวรรณ แซ่โค้ว
5. นางสาวตา แก้วหมุน
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา มีความเจริญและพัฒนาหลายด้าน สภาพพื้นที่จึงเป็นชุมชนเมือง มีประชากร เข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยบางพื้นที่เริ่มแออัด ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหาร จากเดิมที่มีการทำการเกษตรและผลิตวัตถุดิบไว้บริโภคเอง ในครัวเรือนเปลี่ยนเป็นการซื้อวัตถุดิบจากตลาดสดมาประกอบอาหารหรือซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้ามาไว้บริโภคในครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากไม่มีเวลาปรุงประกอบอาหารเองหรือไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารแต่ละมื้อว่าเจือปนด้วยสารอันตรายชนิดใดบ้าง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยที่จะเกิดตามมาจากการรับประทานอาหารหรือภาวะคุกคามทางด้านสุขภาพจากการบริโภคอาหาร อีกทั้งในการซื้ออาหารมาจากร้านค้าและตลาดยังสร้างปริมาณขยะให้เกิดขึ้นในชุมชนเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์การเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ ประจำปี 2561 โดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากการดำเนินโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด ตามเกณฑ์มาตรฐานของไทย โดยการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด จำนวน 41 ชนิด รวม 7,054 ตัวอย่าง จากทั่วประเทศ พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 88.8 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 11.2 นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้เก็บตัวอย่างจากแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 2,007 ตัวอย่าง และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 2,372 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่า ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 93.7 และ 91.0 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางรายใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง และจากการเฝ้าระวังฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 ที่มีการเก็บตัวอย่างจากโรงคัดบรรจุผักผลไม้ จำนวน 715 ตัวอย่าง พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.6 จากห้างสรรพสินค้า จำนวน 1317 ตัวอย่าง พบว่า สินค้าที่ได้รับการรับรอง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.4 และ สินค้าที่ไม่ได้รับการรับรอง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 71.8 ตลาดค้าส่งและตลาดสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 64.9 และครัวโรงพยาบาล ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 77.8 โดยมีผักผลไม้สดที่พบปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ พริก ถั่วฝักยาว คะน้า ส้ม และมะเขือเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ยังมีการปนเปื้อนสารเคมีในผักและผลไม้สดถึง ร้อยละ 11.2
จากสถานการณ์ดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชุมชนการเคหะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคและผลไม้สดจากท้องตลาดที่มีการปนเปื้อนสารเคมีตกค้างเป็นอย่างมาก เนื่องจากชุมชนการเคหะ เป็นชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ประกอบด้วยครัวเรือน 170 ครัวเรือน มีประชากรที่อาศัยอยู่จริง จำนวน 395 คน ชุมชนไม่มีผู้ที่ทำการเกษตร (ข้อมูลสรุปผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปี 2562 โดยกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครยะลา) จึงบริโภคอาหารโดยการซื้อวัตถุดิบจากตลาดสดมาประกอบอาหารและซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยจาการปนเปื้อนสารเคมีได้ ดังนั้น หากประชาชนในชุมชนหันกลับมาปลูกและบริโภคผักผลไม้ไว้รับประทานเองที่บ้าน ทำให้สามารถลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพได้ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชุมชนการเคหะ จึงได้จัดทำโครงการกินผักปลอดภัยใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะขึ้น โดยการให้ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน ร่วมกับการจัดการขยะอินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักสำหรับเตรียมดินปลูกผักของครัวเรือนตนเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมีและจัดการขยะในครัวเรือนแก่ประชาชนให้สามารถดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะในการเตรียมดิน ปลูกผักปลอดสารเคมี และจัดการขยะในครัวเรือน 2. ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมสามารถปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือนได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมจัดตั้งคณะทำงานเเละรับสมัครครัวเรือนต้นเเบบนำร่องปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน
    รายละเอียด

    เป้าหมาย : คณะทำงาน จำนวน 15 คนประชาชนทั่วไปจากครัวเรือน จำนวน 60 คน รวมเป็น 75 คน ค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆ ละ 25.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 375.- บาท 2. ค่าถ่ายเอกสาร เอกสารประกอบการประชุมและแผ่นพับ/ใบสมัครครัวเรือนนำร่อง ขนาด A4 ขาว-ดำ จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 375.-บาท

    งบประมาณ 750.00 บาท
  • 2. ฝึกอบรมการเตรียมดิน ทำสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ และการจัดการขยะ เพื่อการเพาะปลูก พร้อมลงเตรียมดินเพื่อการปลูกผัก ณ ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 4,500.- บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาทเป็นเงิน 6,000.- บาท
    3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรม
      3.1 ค่าเข่งสำหรับเตรียมดินเพื่อการปลูกผักครัวเรือนละ 2 ใบๆ ละ 100 บาท จำนวน 75 ครัวเรือน เป็นเงิน15,000.- บาท 3.2 วัสดุเครื่องเขียน
      • กระดาษ A4 2 รีมๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน300.- บาท
      • ปากกา 75 ด้ามๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน375.- บาท
      • แฟ้มกระดุม 75 อันๆ ละ 12 บาท เป็นเงิน900.- บาท รวมเป็นเงิน16,575.- บาท
    4. ค่าถ่ายเอกสาร คู่มือฝึกเตรียมดิน/ทำสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ/การจัดการขยะ 75 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,875.- บาท
    5. ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
    งบประมาณ 32,550.00 บาท
  • 3. ฝึกอบรมเรื่องการปลูกผักอินทรีย์เเละฝึกปลูกผักในครัวเรือน ณ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการซึ่งได้มีการเตรียมดินเพื่อการปลูกไว้เเล้ว
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน4,500.- บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน6,000.- บาท
    3. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์
      3.1 เมล็ดพันธุ์พืช ครัวเรือนละ 5 ชนิดๆ ละ 20 บาท จำนวน 75 ครัวเรือนเป็นเงิน7,500.- บาท 3.2 วัสดุเครื่องเขียน
      • กระดาษ A4 2 รีมๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน300.- บาท
      • ปากกา 75 ด้ามๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน375.- บาท
      • แฟ้มกระดุม 75 อันๆ ละ 12 บาทเป็นเงิน900.- บาท รวมเป็นเงิน9,075.- บาท
    4. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์ 4.1ค่าถ่ายเอกสารคู่มือเทคนิคการปลูกผักอินทรีย์ 75 ชุด ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,875.- บาท 4.2ค่าป้ายไวนิลโครงไม้ จำนวน 1 ป้าย สำหรับประชาสัมพันธ์ชุมชนนำร่องปลูกผักปลอดสารเคมีเป็นเงิน 2,500.- บาท รวมเป็นเงิน4,375.- บาท
    5. ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน3,600.- บาท
    งบประมาณ 27,550.00 บาท
  • 4. เวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล เเละประเมินผลสำเร็จ เพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค รวมถึงการพัฒนาต่อยอดผลผลิตจากผักปลอดสารพิษ
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,875.- บาท
    2. ค่าวัสดุเครื่องเขียนเเละอุปกรณ์
      • กระดาษ A4 2 รีมๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน 300.- บาท
    3. ค่าถ่ายเอกสาร

    - ค่าถ่ายเอกสารเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน375.-บาท - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 3 เล่มๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน600.-บาท รวมเป็นเงิน 975.-บาท

    งบประมาณ 3,150.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนการเคหะ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 64,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ชุมชนมีคณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจเเละมีตัวเเทนจากชุมชนที่สามารถดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ชุมชนมีความรู้เเละความตระหนักเรื่องอาหารปลอดภัยและการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการหันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  3. ชุมชนมีข้อมูลปัญหา อุปสรรค เเละผลสำเร็จจากการทำโครงการ และสามารถนำมากำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันโรคจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย
  4. ประชาชนในชุมชนได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ทำให้ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีปนเปื้อนได้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 64,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................