กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปากบารา บ้านตะโล๊ะใส บ้านท่ายาง บ้านท่ามาลัย และบ้านท่าพยอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ค่านิยมบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้น จนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดีทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืช โดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ 800,000 ตัน ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอด จะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไป จึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารไพลาร์”ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็งซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหารกำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันจะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอด ทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงปลอดภัยและลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการผลิตสบู่ ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ทำให้มีสถานที่จำหน่ายอาหารทอดจำนวนมาก เช่น ร้านขายไก่ทอด ปาท่องโก๋ กล้วยทอด ลูกชิ้นทอด จากการสำรวจโดยเจ้าหน้าที่พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำมีร้านจำน่ายอาหารทอดจำนวน 35 ร้าน ซึ่งส่วนใหญ่ร้านต่างๆเหล่านี้จะใช้น้ำมันทอดซ้ำประมาณ 2-3 วัน ต่อการเปลี่ยนรอบน้ำมัน 1 ครั้ง จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคจากการซื้ออาหารทอดเหล่านี้มารับประทาน ดังนั้นพื้นที่จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยการส่งเสริมการควบคุมกำกับ เฝ้าระวัง สื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพให้ความรู้ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอ ละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค มีพฤติกรรมการใช้น้ำมันทอดอาหารและการเลือกซื้ออาหารทอดที่ถูกต้อง นำไปสู่การมีสุขภาวะทางด้านสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อทราบสถานการณ์ ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดของผู้ประกอบการขายอาหารทอดในเขตโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลปากน้ำ

 

80.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค มีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษจากน้ำมันทอดซ้ำ

 

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ผู้จำหน่ายอาหารทอด 35 คน 35
2. อาสาสมัครสาธารณสุข 20
3. ประชนชนผู้บริโภค 30
4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน เกี่ยวกับรูปแบบ และวิธีการการดำเนินโครงการ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  3. จัดทำแผนงาน และปฏิทินการดำเนินงาน
  4. จัดทำโครงการ เพื่่อขออนุมัติ
  5. ขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ อบต. โรงเรียน รพสต. และภาคประชาชน ได้แก่ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลปากน้ำผู้ประกอบการร้านขายอาการทอด และผู้บริโภคในตำบลปากน้ำ

กำหนดการกิจกรรมที่ 1 : 9.00 - 10.30 น. ประชุมชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง10.45 - 12.00 น. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 - 15.00 น. จัดทำแผนงานและปฏิทินการดำเนินงาน

งบประมาณกิจกรรม: 1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน * 100 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน * 35 บาท เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สร้างความตื่นตัว ตระหนักรู้เรื่องอันตรายจากการบริโภคน้ำมันเสื่อมคุณภาพ โดยการสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์โครงการผ่านวิทยุกระจายเสียงของแต่ละชุมชน และการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อกระตุ้นให้เกดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
  2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ โดยการติดโปสเตอร์ให้ความรู้บริเวณโรงเรียน มัสยิด อบต. และร้านค้าในชุมชน
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยช่วงเช้าจัดเป็นการอบรมให้ความรู้ เรื่องอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำโดยเภสัชกรโรงพยาบาลละงู ช่วงบ่ายจัดอบรมให้ความรู้และสาธิตวิธีการใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในการตรวจน้ำมันใช้แล้วแก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย กำหนดการ โครงการอบรมการเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลปากน้ำ
    08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    09.00 - 09.15 น. กล่าวเปิดโครงการ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ
    09.15 - 10.15 น. การบรรยายให้ความรู้เรื่อง ภัยสุขภาพและอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ โดยเภสัชกรโรงพยาบาลละงู
    10.15 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    10.30 - 12.00 น. การให้ความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการน้ำมันเสื่อมคุณภาพให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยเภสัชกรโรงพยาบาลละงู
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 14.30 น. สาธิตวิธีการใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในการตรวจน้ำมันทอดซ้ำและการแปลผลการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
    14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    14.45 - 15.45 น. ร่วมวางแผนการออกติดตาม สำรวจ สุ่มตรวจร้านจำหน่ายอาหารทอดในชุมชน
    15.45 - 16.00 น. กล่าวปิดโครงการ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ
  4. เชิญชวนผู้ประกอบการร้ายขายอาหารทอดเข้าร่วมโครงการ "ร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย"

งบประมาณกิจกรรม :1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน * 100 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน * 35 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 6,300 บาท 3. ค่าพาหนะในการเดินทางมาอบรม จำนวน 90 คน * 50 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 4. ค่าวิทยากร(เภสัชกร) บรรยาย 2 ชั่วโมง จำนวน 2 คน * 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 5. ค่าวัสดุโปสเตอร์ในการประชาสัมพันธ์ในชุมชน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25200.00

กิจกรรมที่ 3 ออกติดตาม สำรวจ สุ่มตรวจร้านจำหน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตาม สำรวจ สุ่มตรวจร้านจำหน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รับสมัครร้านจำหน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการ "ร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย"
  2. ออกติดตามสุ่มตรวจร้านจำน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ (โดยร้านหนึ่งๆ นั้น จะสุ่มตรวจ 5 ครั้ง)
  3. ในหว่างการติดตามสุ่มตรวจน้ำมันทอดว้ำ มีการแนะนำให้ผู้จำหน่ายอาหารทอดรู้จักวิธีการตรวจสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เพื่อให้ทราบรอบของการเปลี่ยนน้ำมัน รวมถึงวิธีการกำจัดน้ำมันเสื่อมคุณภาพที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม

แผนการสุ่มตรวจร้านขายอาหารทอด : สัปดาห์ที่ 1 ออกสุ่มตรวจ ร้านขายอาหารทอดในเขต ม.2 จำนวน 13 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 15.00 น. สัปดาห์ที่ 2 ออกสุ่มตรวจ ร้านขายอาหารทอดในเขต ม.4 และ ม.6 จำนวน 17 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 15.00 น. สัปดาห์ที่ 3 ออกสุ่มตรวจ ร้านขายอาหารทอดในเขต ม.5 และ ม.7 จำนวน 5 ร้าน เวลาออกตรวจ 8.00 - 15.00 น.

งบประมาณกิจกรรม :
1. ค่าชุดทดสอบสาโพลาร์ จำนวน 10 กล่องๆละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงออกติดตามร้านจำหน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการเที่ยวละ 120 บาท * 20 คน * 5 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท
3. ค่าจัดทำป้ายร้านจำหน่ายอาหารทอดปลอดสารโพลาร์ ป้ายละ 350 * 35 ป้าย เป็นเงิน 12,250 บาท"

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32250.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงสรุปผลการตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการ
  2. มอบป้ายประกาศเกียรติคุณร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัยกรณีมอบป้ายประกาศเกียรติคุณร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัยน้ำมันตามที่กำหนด (จากการสุ่มตรวจ 5 ครั้ง มีผลการตรวจผ่านมาตราฐาน 3 ครั้ง ติดต่อกัน) โดยกำหนดให้ป้ายรับรองมีวันหมดอายุ คือ 31 ธันวาคม 2563 หลังจากนั้นจะมีการสุ่มตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันเพื่อเฝ้าระวังและต่ออายุของป้ายรับรองต่อไป
  3. หลังจากมอบป้ายประกาศเกียรติคุณ มอบป้ายประกาศเกียรติคุณร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย ครบ 3 เดือน ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. จะมีการสุ่มตรวจน้ำมันอีก 1 ครั้ง (ตามวันเวลาที่เหมาะสม) โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารทอดรักษามาตราฐานการใช้น้ำมันที่ปลอดภัยต่อไป

กำหนดการกิจกรรมที่ 4 : 8.00 - 9.00 น. ลงทะเบียน9.00 - 10.30 น. ผู้ประกอบการร้านขายอาหารทอดในชุมชนและ อสม.แต่ละหมู่ ร่วมแลกเปลี่ยนสรุปประเด็นความรู้ ความเข้าใจ และปัญหาอุปสรรคในการทำโครงการ 10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง10.45 - 12.00 น. ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านนำเสนอประเด็นความรู้ ความเข้าใจ และปัญหาอุปสรรคในการทำโครงการ12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 - 14.30 น. มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ"ร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย"แก่ร้านขายอาหารทอดที่ผ่านเกณฑ์มาตราฐาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ14.30 - 15.00 น. กล่าวปิดการประชุม โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ

งบประมาณกิจกรรม :
1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน * 100 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน * 35 บาทเป็นเงิน 3,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถเฉลี่ยถัวกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านจำหน่ายอาหารทอดเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ ผ่านมาตราฐานการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคอาหารทอดที่ปลอดภัยจากร้านที่ผ่านมาตราฐานการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>