กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างเป็นระบบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ขยะมูลฝอยที่รถเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ นำไปเททิ้งยังบ่อขยะเพื่อกำจัดนั้น ได้แก่ ขยะที่เป็นขวดแก้ว ถุงพลาสติกและขวดพลาสติกเป็น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตรายและขยะทั่วไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจะสามารถลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดลงได้ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบในด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่งและจำนวนน้ำหนัก จึงได้จัดให้มีโครงการลดและแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางภายในชุมชน เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ เกิดจากพฤติกรรมการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบอันเกิดการใช้วัสดุ เครื่องใช้สอยในครัวเรือนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะภูมิอากาศ หรือ สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับชุมชนการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยจะต้องพิจารณาเนื้อหาและสื่อที่จะใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนชวงเวลาที่เหมาะสมซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะนอกจากสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะเพื่อนำไปขายได้อีกด้วย
ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้แม้แต่ท้องถิ่นที่ไม่สามารถทำอะไรได้เว้นแต่ประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากปัญหาดังกล่าว เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและสร้างจิตสำนึกของประชาชนในเขตพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะพร้อมเรียนรู้ร่วมกันมีส่วนร่วมในการวางแผน แก้ไขปัญหาขยะ การรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน สถานศึกษาให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกลวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้เกิดจิตใต้สำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมจนสามารถเป็นตัวอย่างแก่คนในชุมชนได้ ซึ่งหากทุกองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยร่วมกับหน่วยงานของรัฐ โดยหาแนวทางแก้ไข กลวิธีที่จะใช้เพื่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จและการดำเนินงานในชุมชนทำให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีความตระหนักการคัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
2 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน หากไม่มีการแยกแยะขยะ นอกจากส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่ชุมชนยังส่งผลคนที่ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับขยะ ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนสะสมในระยะยาวจนเป็นโรคที่อันตรายได้ ดังนั้นประชาชนในชุมชนควรช่วยกันแยกขยะ เพื่อช่วยกันลดปัญหาขยะในชุมชนและลดปัญหาขยะของประเทศ

 

0.00
3 3. เพื่อจัดหาที่รองรับมูลฝอยป้องกันน้ำขัง เนื่องจากเดิม องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ใช้ถังขยะพลาสติกโดยไม่มีฝาปิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน สัตว์ เนื่องจากหากมีฝนตกจะเกิดน้ำขังในถังขยะ ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อเกิดเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส รา แบคทีเรีย ในขยะมูลฝอยที่ตกค้าง ส่งผลให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อโดยเชื้อโรคเหล่านี้อาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยได้โดยง่าย แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ นอกจากป้องกันน้ำขังอันส่งผลต่อการเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อและยังป้องกันสัตว์คุ้ยเขี่ยขยะส่งผลต่อทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

 

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ครัวเรือน ชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนวังใหญ่มีสุขภาพอนามัยที่ดี และพลานามัยที่แข็งแรง รวมถึงชุมชนเข้มแข็งอีกด้วย

 

0.00
5 5. เพื่อพัฒนาชุมชนวังใหญ่อย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลเรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยสำรวจแหล่งที่มาของขยะ และสาเหตุการเกิดมลพิษต่าง ๆ ซึ่งพบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมลพิษมีที่มาจากวัด เนื่องจากเมื่อมีกิจกรรมจัดในวัด ไม่ว่าจะเป็น งานศพ งานบวช หรืองานอื่น ๆ จะพบเห็นขยะจำนวนมากมายกองอยู่ในพื้นที่บริเวณวัด ไม่มีการคัดแยกขยะ ขยะอยู่ในสภาพเน่าเสีย ขวดพลาสติก ขวดแก้ววางอยู่ใต้ต้นไม้ ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินกำจัดขยะต่อไป รวมถึงมลพิษที่เกิดขึ้นจากการคัดแยกขยะ ปัญหาของการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ คือ การหาที่ดินสำหรับการฝังกลบที่หาได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งการจัดการฝังกลบก็ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เกิดสภาพน่ารังเกียจทั้งภายในพื้นที่ฝังกลบเอง และสภาพโดยรอบก็มีขยะปลิวกระจาย และส่งผลต่อมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการฝังกลบขยะที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ กลิ่น น้ำชะขยะที่ปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดิน รวมถึงก๊าชชีวิภาพซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ปัญหาของการกำจัดขยะโดยใช้เตาเผา คือ การไม่ยอมรับของประชาชนโดยกังวลว่าการเผาขยะ จะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีความรุนแรง องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ได้เล็งเห็นปัญหาการกำจัดขยะในแบบต่าง ๆ รวมถึงการสลายขยะประเภทพลาสติกที่ต้องใช้ระยะเวลา 450 ปี ขยะประเภทพลาสติกใช้ระยะเวลา 100 ปี ดังนั้นการคัดแยกขยะจึงจำเป็นหรือเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำจัดขยะที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่ควรมีตะแกรงแยกขยะในสถานที่ท่องเที่ยว วัด โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้อง ไม่ส่งมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางอากาศ ทางน้ำ และทางเดิน อันอาจจะก่ออันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
วัดในเขตพื้นที่ตำบลวังใหญ่ 4
อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 8
โรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลวังใหญ่ 3

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/08/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ           1 ป้าย x 1,000 บาท     =  1,000 บาท
  • ค่าป้ายอะคริลิค                             60 ป้าย x 200 บาท       = 12,000 บาท
  • ค่าตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ           30 ชุด x 4,732 บาท      = 141,960 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ  จำนวน 30 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
154960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 154,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและนำขยะมาใช้ประโยชน์
2. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
3. ปริมาณขยะมีจำนวนลดลง
4. ประชาชนมีรายได้จากการขายขยะ
5. ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ มีคุณภาพชีวิตดี เข้มแข็งและน่าอยู่อย่างยั่งยืน
6. ทำให้พื้นที่มีการจัดการขยะที่มีระเบียบและเป็นระบบ


>