กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ รหัส กปท. L5193

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างเป็นระบบ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่
3.
หลักการและเหตุผล

จากการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ขยะมูลฝอยที่รถเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ นำไปเททิ้งยังบ่อขยะเพื่อกำจัดนั้น ได้แก่ ขยะที่เป็นขวดแก้ว ถุงพลาสติกและขวดพลาสติกเป็น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตรายและขยะทั่วไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจะสามารถลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดลงได้ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบในด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่งและจำนวนน้ำหนัก จึงได้จัดให้มีโครงการลดและแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางภายในชุมชน เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ เกิดจากพฤติกรรมการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบอันเกิดการใช้วัสดุ เครื่องใช้สอยในครัวเรือนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะภูมิอากาศ หรือ สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับชุมชนการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยจะต้องพิจารณาเนื้อหาและสื่อที่จะใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนชวงเวลาที่เหมาะสมซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะนอกจากสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะเพื่อนำไปขายได้อีกด้วย ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้แม้แต่ท้องถิ่นที่ไม่สามารถทำอะไรได้เว้นแต่ประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากปัญหาดังกล่าว เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและสร้างจิตสำนึกของประชาชนในเขตพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะพร้อมเรียนรู้ร่วมกันมีส่วนร่วมในการวางแผน แก้ไขปัญหาขยะ การรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน สถานศึกษาให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกลวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้เกิดจิตใต้สำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมจนสามารถเป็นตัวอย่างแก่คนในชุมชนได้ ซึ่งหากทุกองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยร่วมกับหน่วยงานของรัฐ โดยหาแนวทางแก้ไข กลวิธีที่จะใช้เพื่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จและการดำเนินงานในชุมชนทำให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นด้วย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีความตระหนักการคัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน หากไม่มีการแยกแยะขยะ นอกจากส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่ชุมชนยังส่งผลคนที่ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับขยะ ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนสะสมในระยะยาวจนเป็นโรคที่อันตรายได้ ดังนั้นประชาชนในชุมชนควรช่วยกันแยกขยะ เพื่อช่วยกันลดปัญหาขยะในชุมชนและลดปัญหาขยะของประเทศ
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. 3. เพื่อจัดหาที่รองรับมูลฝอยป้องกันน้ำขัง เนื่องจากเดิม องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ใช้ถังขยะพลาสติกโดยไม่มีฝาปิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน สัตว์ เนื่องจากหากมีฝนตกจะเกิดน้ำขังในถังขยะ ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อเกิดเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส รา แบคทีเรีย ในขยะมูลฝอยที่ตกค้าง ส่งผลให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อโดยเชื้อโรคเหล่านี้อาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยได้โดยง่าย แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ นอกจากป้องกันน้ำขังอันส่งผลต่อการเพาะพันธุ์นำโรคติดต่อและยังป้องกันสัตว์คุ้ยเขี่ยขยะส่งผลต่อทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ครัวเรือน ชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนวังใหญ่มีสุขภาพอนามัยที่ดี และพลานามัยที่แข็งแรง รวมถึงชุมชนเข้มแข็งอีกด้วย
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. 5. เพื่อพัฒนาชุมชนวังใหญ่อย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลเรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยสำรวจแหล่งที่มาของขยะ และสาเหตุการเกิดมลพิษต่าง ๆ ซึ่งพบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมลพิษมีที่มาจากวัด เนื่องจากเมื่อมีกิจกรรมจัดในวัด ไม่ว่าจะเป็น งานศพ งานบวช หรืองานอื่น ๆ จะพบเห็นขยะจำนวนมากมายกองอยู่ในพื้นที่บริเวณวัด ไม่มีการคัดแยกขยะ ขยะอยู่ในสภาพเน่าเสีย ขวดพลาสติก ขวดแก้ววางอยู่ใต้ต้นไม้ ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินกำจัดขยะต่อไป รวมถึงมลพิษที่เกิดขึ้นจากการคัดแยกขยะ ปัญหาของการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ คือ การหาที่ดินสำหรับการฝังกลบที่หาได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งการจัดการฝังกลบก็ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เกิดสภาพน่ารังเกียจทั้งภายในพื้นที่ฝังกลบเอง และสภาพโดยรอบก็มีขยะปลิวกระจาย และส่งผลต่อมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการฝังกลบขยะที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ กลิ่น น้ำชะขยะที่ปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดิน รวมถึงก๊าชชีวิภาพซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ปัญหาของการกำจัดขยะโดยใช้เตาเผา คือ การไม่ยอมรับของประชาชนโดยกังวลว่าการเผาขยะ จะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีความรุนแรง องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ได้เล็งเห็นปัญหาการกำจัดขยะในแบบต่าง ๆ รวมถึงการสลายขยะประเภทพลาสติกที่ต้องใช้ระยะเวลา 450 ปี ขยะประเภทพลาสติกใช้ระยะเวลา 100 ปี ดังนั้นการคัดแยกขยะจึงจำเป็นหรือเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำจัดขยะที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่ควรมีตะแกรงแยกขยะในสถานที่ท่องเที่ยว วัด โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้อง ไม่ส่งมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางอากาศ ทางน้ำ และทางเดิน อันอาจจะก่ออันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดทำตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ
    รายละเอียด
    • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ          1 ป้าย x 1,000 บาท    =  1,000 บาท
    • ค่าป้ายอะคริลิค                            60 ป้าย x 200 บาท      = 12,000 บาท
    • ค่าตะแกรงเหล็กแบบแยกขยะ          30 ชุด x 4,732 บาท      = 141,960 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)
    งบประมาณ 154,960.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 23 สิงหาคม 2019 ถึง 30 กันยายน 2019

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 154,960.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและนำขยะมาใช้ประโยชน์
  2. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
  3. ปริมาณขยะมีจำนวนลดลง
  4. ประชาชนมีรายได้จากการขายขยะ
  5. ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ มีคุณภาพชีวิตดี เข้มแข็งและน่าอยู่อย่างยั่งยืน
  6. ทำให้พื้นที่มีการจัดการขยะที่มีระเบียบและเป็นระบบ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ รหัส กปท. L5193

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ รหัส กปท. L5193

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 154,960.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................