กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสุขภาพเคลื่อนที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่

ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

52.71
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

87.14

โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และควบคุมความเครียด นอกจากนี้ประชาชนยังต้องป้องกันตอนเองด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการวัดความดันโลหิต ตรวจคัดกรองเบาหวาน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนตาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จากการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่พบว่าในปี 2562 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 3,152 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 3,049 คน ผลการคัดกรอง ปกติ 2,657 คนร้อยละ 87.15 เสี่ยง 346 คน ร้อยละ 11.35 สงสัยป่วย 46 คน ร้อยละ 1.51 ได้รับคัดกรองความดันโลหิต 2,427 คน ปกติ 1,271ร้อยละ 52.71 เสี่ยง 721 คน ร้อยละ 29.56 สงสัยป่วย 435 คน ร้อยละ 17.84 คน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีค่อนข้างสูงมาก และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่ขาดการติดตามดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องพบว่ากลายเป็นโรคสูงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนและจากการศึกษาทำวิจัยค้นหาเครื่องมือและวิธีการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้เร็วรักษาเร็วลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคลดลงด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ได้ตระหนักว่าสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาหมู่บ้านจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยดีได้รับบริการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยเน้นให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ในด้านการรักษาพยาบาล ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพ และทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ และเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้าน โดยการรณรงค์ให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิต คัดกรองเบาหวาน เป็นกลวิธีที่สำคัญในการสร้างกระแสการรับรู้ ให้มีความตื่นตัว เห็นความสำคัญ และเกิดความตระหนักในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตและคัดกรองโรคเบาหวาน

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงดรคเบาหวาน ความดันโลหิต ได้รับการปรับปเลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่ตำบลวังใหญ่ทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร (FBS) และมีค่าน้ำตาล 100-125 mg% ได้รับการตรวจความทนทานต่อกลูโคส (75 grm OGTT)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/09/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ก่อนลงปฏิบัติงานในพื้นที่แก่ อสม. จำนวน 139 คน      - ค่าอาหารว่างจำนวน 139 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,475 บาท      - ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้ จำนวน 1 คน จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1.2 การจัดทำแผนการออกคัดกรอง รายหมู่ จำนวน 8 หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4075.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการ ชั่งน้ำหนัก  วัดความดันโลหิต  วัดรอบเอว วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) เจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด      - ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิต จำนวน 3,100 ชุด ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน   3,100 บาท      - แบบคัดกรองบุหรี่ 3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย จนำวน 1,500 แผ่น ๆ ละ 1 บาท         เป็นเงิน  1,500 บาท      - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 8 เครื่อง                                                   เป็นเงิน 12,000 บาท      - เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 8 เครื่อง                                          เป็นเงิน  20,000 บาท      - สายวัดรอบเอว 10 อัน                                                                                 เป็นเงิน      400 บาท      - เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 8 เครื่อง ๆ ละ 1,800 บาท                     เป็นเงิน 14,400 บาท      - แอลกอฮอล์สำลี จำนวน 3 กล่อง ๆ ละ 400 บาท                                                เป็นเงิน   1,200 บาท      - แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 30 กล่อง ๆ 750 บาท                                        เป็นเงิน  22,500 บาท      - เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 30 กล่อง ๆ ละ 400 บาท                                       เป็นเงิน  12,000 บาท      - ถุงมือยาง จำนวน 3 กล่อง ๆ ละ 100 บาท                                                         เป็นเงิน       300 บาท      - ถ่านสำรองใส่เครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 20 ก้อน ๆ ละ 50 บาท                               เป็นเงิน    1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88400.00

กิจกรรมที่ 3 การแปรผลการคัดกรองและคืนข้อมูลการคัดกรองสุขภาพ จำแนกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
การแปรผลการคัดกรองและคืนข้อมูลการคัดกรองสุขภาพ จำแนกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จำแนกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย      - ค่าบัตรประจำตัวผู้ที่ได้รับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จำนวน 300 ใบ ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน  300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเสี่ยงและทำการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส (75gm OGTT) ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 300 ราย แปรผลการตรวจ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเสี่ยงและทำการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส (75gm OGTT) ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 300 ราย แปรผลการตรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้อยกว่า 140 mg%   =  ปกติ
  • ค่า 141-199 mg%       =  เสี่ยง
  • ค่า > หรือ = 200 mg%=  สงสัยป่วย (ส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโรค) งบประมาณดังนี้
  • ค่าน้ำตาลกูลโคส 454 กรัม/กระป๋อง จำนวน 50 กระป๋อง ๆ ละ 65 บาท                          เป็นเงิน 3,250 บาท
  • Syringe 3 ml 3 กล่องละ 150 บาท                                                                      เป็นเงิน    450 บาท
  • เข็มเจาะเลือด เบอร์ 21 จำนวน 3 กล่อง ๆ ละ 60 บาท                                               เป็นเงิน    180 บาท
  • แก้วพลาสติกขนาด 8 ออนช์ จำนวน 5 แพ็ค ๆ ละ 90 บาท                                          เป็นเงิน    450 บาท
  • อาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ (วันเจาะเลือด) 300 คน ๆ ละ 25 บาท                      เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ 300 คน ๆ ละ 40 บาท                                                     เป็นเงิน 12,000 บาท  (ใช้ตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11830.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1 เปิดรับสมัครกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 7.2 กิจกรรมเข้าค่ายให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้      รุ่นที่ 1 วันที่.......มกราคม  2563      รุ่นที่ 2 วันที่...... กุมภาพันธ์ 2563 งบประมาณ ดังนี้ - ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 แผ่น ๆ ละ 0.50 บาท                                       เป็นเงิน     150 บาท - ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงจำนวน 300 คน ๆ ละ 25 บาท                         เป็นเงิน  7,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรประจำฐาน    รุ่นที่ 1 วันที่   จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 2,400 บาท จำนวน 2 รุ่น  เป็นเงิน   4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

กิจกรรมที่ 6 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

8.1 วัดความดันโลหิต และเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลแก่กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย ทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 8.2 สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 8.3 คัดเลือกบุคคลต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 8.4 มอบเกียรติบัตรแก่บุคคลต้นแบบ งบประมาณ
- ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 119,055.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.
3. กลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานสูง (เบาหวานแฝง) ที่มีค่าน้ำตาล (FBS) 100-125 mg% ได้รับการตรวจความทนทานต่อกลูโคส (75 gm OGTT)
5. กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเข้มข้น MI (Motivational interviewing)


>