กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ชมรมปันจักสีลัตโรงเรียนบ้านบูเกะตาโมง มิตรภาพที่ 128

1.นายซากีสะมะแอ
2.นายยาหายาแมเลาะ
3.นางซอลีฮะฮ์ยูนุ
4.นางนูรีตา โดยสมาน
5.นายยาลูวีโต๊ะพีเย๊าะ

โรงเรียนบ้านบูเกะตาโมง มิตรภาพที่ 128 หมู่ 12 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายโดยกล้ามเนื้อและกระดูกที่ทำให้เกิดการเผาพลาญพลังงาน (องค์การอนามัยโลก 2553) ซึ่งครอบคลุมการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำงาน การทำกิจกรรมในเวลาว่าง การออกกำลังกายการเล่นกีฬา การทำกิจกรรมนันทนาการ และการท่องเที่ยวการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในช่วงวัยเด็กสามารถส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการแบบองค์รวม ทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ทางด้านเจตคติ ทักษะทางกาย และสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต สำหรับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่นั้น จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดความเครียด เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก และช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงานเพื่อสร้างสมดุลของร่างกายช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปกติ และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตัวเอง ลดความเสี่ยงจากการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ในอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และเด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน
อย่างไรก็ตาม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (Physical Inactivity) ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและสูญเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases, NCDs) ทั่วโลก ร่วมกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปัจจุบันมีประชากรโลกเสียชีวิตจากการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอประมาณร้อยละ 5.5 ของประชากรโลก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทยพบว่า การขาดกิจกรรมทางกายคิดมูลค่าการสูญเสียเป็นเงินราว 5,977 ล้านบาท และจากภาวะอ้วนและมีน้ำหนักเกิน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการขาดกิจกรรมทางกายควบคู่กับการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม คิดเป็นเงินราว 12,142 ล้านบาท
การรวมกลุ่มหรือชมรมในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทางร่างกายและจิตใจให้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน นอกจากสร้างความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในเกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งเมื่อนำการทำกิจกรรมทางกายมาประยุกต์กับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน และยังเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่
ข้อมูลพื้นฐานชุมชน (อธิบายให้ครอบคลุมจำนวนประชากรในทุกช่วงวัย (วัยเด็กและเยาวชน วันทำงาน และผู้สูงอายุ), ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่นำมาซึ่งความต้องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นในชุมชน)
แต่สภาพสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมของจังหวัดนราธิวาสอาจมีปัญหาต่อการออกกำลังกายของเยาวชนในชุมชนอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องเครื่องแต่งกายที่ไม่ปกปิดอวัยวะร่างกาย ทำให้ผู้ปกครองของเด็กไม่สนับสนุนให้บุตรหลานได้ออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา ตลอดจนอุปกรณ์การออกกำลังกายที่มีราคาแพงและสถานที่ออกกำลังกายยังไม่เพียงพอต่อการจำนวนเยาวชนที่มีอยู่มากในชุมชนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เยาวชนไม่ได้รับการออกกำลังกาย
จากข้อมูลและสภาพปัญหาดังกล่าวเรา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของเยาวชนและเห็นว่า “ซีละ” เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเยาวชนในชุมชนได้ทุกเพศทุกวัย สามารถส่งเสริมให้เยาวชนสนในที่จะออกกำลังกายที่จะส่งผลต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี เนื่องจาก “ซีละหรือสีลัต” เป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่สามารถต่อยอดเป็นกิจกรรมอย่างอื่นที่เด็กๆและเยาวชนสนใจและชื่นชอบ เช่น การละเล่น การแสดง และการเล่นกีฬาปันจักสีลัต อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดแกนนำที่มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

1.2 แกนนำกลุ่ม/ชมรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

50.00 50.00
2 2. เกิดแผนและข้อตกลงการทำกิจกรรมทางกายและมีการขับเคลื่อนงานตามแผนที่วางไว้

เกิดแผนและข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตัดสินใจร่วมกัน

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1 อบรมเรื่องกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ”เป็นเวลา 3 วัน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารอบรมเรื่องกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ 50 คน x ุ60 บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

2.ค่าอาหารว่าง 50 คน x ุ25 บาท x 6 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

3.ค่าวิทยากร 6 ชั่โมง x 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

4.ค่าป้ายไวนิลขนาด 1 x 2รวมเป็นเงิน 500บาท

5.ค่าวัสดุสำหรับการอบรม รวมเป็นเงิน 400บาท

รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดแกนนำที่มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

  2. เกิดแผนและข้อตกลงการทำกิจกรรมทางกายและมีการขับเคลื่อนงานตามแผนที่วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม และให้มาฝึกอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำกลุ่ม/ชมรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

2.เกิดแผนและข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตัดสินใจร่วมกัน


>