กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ”
รหัสโครงการ 63-L2479-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมปันจักสีลัตโรงเรียนบ้านบูเกะตาโมง มิตรภาพที่ 128
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซอลีฮะฮ์ ยูนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายโดยกล้ามเนื้อและกระดูกที่ทำให้เกิดการเผาพลาญพลังงาน (องค์การอนามัยโลก 2553) ซึ่งครอบคลุมการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำงาน การทำกิจกรรมในเวลาว่าง การออกกำลังกายการเล่นกีฬา การทำกิจกรรมนันทนาการ และการท่องเที่ยวการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในช่วงวัยเด็กสามารถส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการแบบองค์รวม ทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ทางด้านเจตคติ ทักษะทางกาย และสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต สำหรับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่นั้น จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดความเครียด เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก และช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงานเพื่อสร้างสมดุลของร่างกายช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปกติ และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตัวเอง ลดความเสี่ยงจากการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ในอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และเด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน อย่างไรก็ตาม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (Physical Inactivity) ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและสูญเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases, NCDs) ทั่วโลก ร่วมกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปัจจุบันมีประชากรโลกเสียชีวิตจากการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอประมาณร้อยละ 5.5 ของประชากรโลก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทยพบว่า การขาดกิจกรรมทางกายคิดมูลค่าการสูญเสียเป็นเงินราว 5,977 ล้านบาท และจากภาวะอ้วนและมีน้ำหนักเกิน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการขาดกิจกรรมทางกายควบคู่กับการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม คิดเป็นเงินราว 12,142 ล้านบาท การรวมกลุ่มหรือชมรมในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทางร่างกายและจิตใจให้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน นอกจากสร้างความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในเกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งเมื่อนำการทำกิจกรรมทางกายมาประยุกต์กับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน และยังเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ ข้อมูลพื้นฐานชุมชน (อธิบายให้ครอบคลุมจำนวนประชากรในทุกช่วงวัย (วัยเด็กและเยาวชน วันทำงาน และผู้สูงอายุ), ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่นำมาซึ่งความต้องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นในชุมชน) แต่สภาพสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมของจังหวัดนราธิวาสอาจมีปัญหาต่อการออกกำลังกายของเยาวชนในชุมชนอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องเครื่องแต่งกายที่ไม่ปกปิดอวัยวะร่างกาย ทำให้ผู้ปกครองของเด็กไม่สนับสนุนให้บุตรหลานได้ออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา ตลอดจนอุปกรณ์การออกกำลังกายที่มีราคาแพงและสถานที่ออกกำลังกายยังไม่เพียงพอต่อการจำนวนเยาวชนที่มีอยู่มากในชุมชนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เยาวชนไม่ได้รับการออกกำลังกาย จากข้อมูลและสภาพปัญหาดังกล่าวเรา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของเยาวชนและเห็นว่า “ซีละ” เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเยาวชนในชุมชนได้ทุกเพศทุกวัย สามารถส่งเสริมให้เยาวชนสนในที่จะออกกำลังกายที่จะส่งผลต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี เนื่องจาก “ซีละหรือสีลัต” เป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่สามารถต่อยอดเป็นกิจกรรมอย่างอื่นที่เด็กๆและเยาวชนสนใจและชื่นชอบ เช่น การละเล่น การแสดง และการเล่นกีฬาปันจักสีลัต อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดแกนนำที่มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

1.2 แกนนำกลุ่ม/ชมรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

50.00 50.00
2 2. เกิดแผนและข้อตกลงการทำกิจกรรมทางกายและมีการขับเคลื่อนงานตามแผนที่วางไว้

เกิดแผนและข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตัดสินใจร่วมกัน

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เกิดแกนนำที่มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เกิดแผนและข้อตกลงการทำกิจกรรมทางกายและมีการขับเคลื่อนงานตามแผนที่วางไว้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม “ซีละ” 50.00 10,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำกลุ่ม/ชมรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

2.เกิดแผนและข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตัดสินใจร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2562 00:00 น.