กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและป้องกันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 25ุ63

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

หมู่ 6, 7, 10, 11, 12 ตำบลบูกิต และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และหญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอดมีภาวะซีด (ร้อยละ)

 

4.71
2 มารดาตกเลือดหลังคลอด (ร้อยละ)

 

4.80

เมื่อหญิงมีการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา มีการเปลี่ยนทางอารมณ์และร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับทารกที่อยู่ในครรภ์ปัจจุบันจะพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ถือว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เอง และทารกในครรภ์ด้วย ภาวะเสี่ยงของหญิงที่ตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีด มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมักมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการตายขณะคลอดและหลังคลอดสูง มารดาตกเลือดหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง และมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง เช่นกัน สาเหตุสำคัญของภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การขาดสารอาหาร จำพวกธาตุเหล็ก และ กรดโฟลิค
จากสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ พบว่า ในปีงบประมาณ 25602561 และ 2562มีภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์รายใหม่ และ หญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอด ร้อยละ 12.4, 3.95 และ4.71 ตามลำดับ และพบว่า และพบมารดาหลังคลอดมีภาวะตกเลือดหลังคลอดในปีงบประมาณ 25602561 และ 2562ร้อยละ 10.34, 6.19 และ4.80 ตามลำดับ ปัญหานี้ ยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก สติปัญญาในการเรียนรู้ และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของครอบครัว จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมและป้องกันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 25ุ63

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

การเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกิน ร้อยละ 10

4.71 10.00
2 เพื่อไม่ให้มารดาไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด

ไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 100

4.80 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและป้องกันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์

กิจกรรมย่อย

1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสรีระวิทยาของหญิงขณะตั้งครรภ์ ความต้องการของสารอาหารที่แตกต่างจากกลุ่มวัยอื่นๆ

2.อบรมให้ความรู้การเจริญเติบโตในแต่ละช่วงของทารกในครรภ์และสารอาหารที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและ สติปัญญา
3.อบรมให้ความรู้ สาเหตุของการเกิดภาวะซีด ภาวะตกเลือดหลังคลอด และผลกระทบ ทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์
4.แบ่งกลุ่ม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตการทำอาหารโดยใช้พักพื้นบ้านประกอบอาหารเพิ่มธาตุเหล็ก และสารอาหารที่ดีแก่หญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ เพื่อส่งเสริมและป้องกันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

3.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 X 2 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

4.วัสดุอุปกรณ์ปรุงอาหาร 2,000 บาท

6.ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

7.ค่าจัดทำเอกสารแบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 500 บาท

รวมเป็นเงิน 12,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และสามารถดูแลปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และคลอด ผลลัพธ์ : ลดการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12350.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตาม และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินผลความรู้ เปรียบเทียบก่อน-หลังการให้ความรู้

2.ลงติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และมารดาหลังคลอด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ขั้นเตรียมการก่อนดำเนินการตามโครงการ
1.จัดเตรียมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
๒.จัดทำแผนปฏิบัติการ
๓.เสนอโครงการ

ขั้นดำเนินการตามโครงการ
1. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและป้องกันภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 50 คน
3. อสม.ติดตามหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด

ขั้นสรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล
1.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

2.ไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในมารดาหลังคลอด


>